สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาลักษณะความยาวก้านใบของถั่วเหลืองที่มีความสัมพันธ์ต่อผลผลิต
สมศักดิ์ ศรีสมบุญ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาลักษณะความยาวก้านใบของถั่วเหลืองที่มีความสัมพันธ์ต่อผลผลิต
ชื่อเรื่อง (EN): A Study on Petiole Length of Soybeans in Relation to Grain Yield
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมศักดิ์ ศรีสมบุญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Somsak Srisombun
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางคุณภาพที่อาจเป็นตัวแทนในการคัดเลือกพันธุ์ถั่วเหลือง เพื่อให้ผลผลิตสูงขึ้น ได้มีการทำ near isogenic lines ในลักษณะความยาวของก้านใบ จำนวน 9 คู่สายพันธุ์มาประเมินผลผลิตที่ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ อำเภอสันทราย ในฤดูแล้ง ปลูก 2 ช่วง คือ ต้นและปลายเดือนธันวาคม 2538 พบว่า กลุ่มสายพันธุ์ลักษณะก้านใบสั้นและยาวให้ผลผลิตไม่แตกต่างกันทางสถิติ ดังนั้น ลักษณะดังกล่าวจึงไม่มีผลในการเพิ่มหรือลดลงของผลผลิตถั่วเหลืองลักษณะก้านใบไม่มีสหสัมพันธ์กับผลผลิตทั้ง 2 ช่วงปลูก แต่ผลผลิตมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับน้ำหนักแห้งทั้งต้น และน้ำหนักแห้งทั้งต้นมีค่าอิทธิพลทางตรงต่อผลผลิตในระดับสูง นอกจากนี้น้ำหนักแห้งทั้งต้นมีค่า heritability (h2) ในระดับปานกลาง-สูง สูงกว่า h2 ของผลผลิต ซึ่งมีค่าในระดับปานกลาง ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองเพื่อเพิ่มผลผลิต จึงควรคัดเลือกจากน้ำหนักแห้งทั้งต้นในรุ่นลูกชั่วปลาย ถึงแม้ว่าลักษณะน้ำหนักแห้งทั้งต้นจะเป็นลักษณะทางปริมาณก็ตาม
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to determine petiole length of soybeans (Glycine max (L.) Merrill) in relation to grain yield. This would be useful for indirect selection for grain yield increase. A set of near isogenic lines differing in petiole length was developed from two crosses to compare yield and other agronomic traits. The yield trials were conducted at Chiang Mai Field Crops Research Center in dry season. Seeds were sown two times in the first and the fourth week of December 1995. The results showed that there was no significant difference in mean grain yield between these two groups of short and long petiole lines and it had no correlation between grain yield and petiole length. However, grain yield was positively correlated (p<0.01) with total above-ground dry mater. it is possible to select high total above-ground dry matter rather than peitole length in late generations of the segregated population of the progeny as indirect selection for increased grain yield of soybeans.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2544
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2544
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาลักษณะความยาวก้านใบของถั่วเหลืองที่มีความสัมพันธ์ต่อผลผลิต
กรมวิชาการเกษตร
2544
เอกสารแนบ 1
การเปรียบเทียบผลผลิตถั่วเหลืองพันธุ์รับรองในจังหวัดน่าน การเพิ่มผลผลิตและการตรึงไนโตรเจนของถั่วเหลืองในประเทศไทย ผลของปุ๋ยหมักระยะยาวต่อผลผลิตพืชร่วมระบบถั่วเหลือง-ข้าวและคุณสมบัติทางเคมีของดินนาชุดสระบุรี การศึกษาผลผลิตและความคงอยู่ของถั่วเหลืองอาหารสัตว์เมื่อปลูกบนคันนาในภาคอีสาน 008 ผลของการขาดน้ำในระยะการเจริญพันธุ์ต่อการเติบโตและผลผลิตของถั่วเหลือง การจำลองสถานการณ์โลกร้อนด้วยระบบตู้ทดลองภาคสนามเพื่อการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มระดับอุณหภูมิบรรยากาศในลักษณะเชิงเส้นตรง และผลผลิตรวมทั้งปริมาณสารอาหารประเภทกรดอะมิโนของถั่วเหลือง การจัดการโรคและแมลงเพื่อผลิตถั่วเหลืองและถั่วเหลืองฝักสดอย่างปลอดภัย ถั่วเหลือง : อาหารธรรมดาแต่คุณค่ามหาศาล ผลของเบนซิลอาดีนินต่อการเจริญเติบโต คุณภาพ และผลผลิตของถั่วเหลืองฝักสด การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตถั่วเหลือง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก