สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของอาโวกาโด
อัจฉรา ภาวศุทธิ์ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของอาโวกาโด
ชื่อเรื่อง (EN): Integrated Research Project for Enhance Performance of Avocados Production on Highland Area
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อัจฉรา ภาวศุทธิ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เพื่อศึกษาการผลิตต้นกล้าพันธุ์อาโวกาโดที่มีคุณภาพสำหรับงานส่งเสริม โดยศึกษาอายุของต้นตออาโวกาโดที่เหมาะสมในการเปลี่ยนพันธุ์ในโรงเรือน พบว่า อายุที่เหมาะสมของต้นอาโวกาโดพันธุ์ Booth7 ซึ่งใช้เป็นต้นตอสำหรับอาโวกาโดพันธุ์ Hass คือ การเปลี่ยนพันธุ์เมื่อต้นตอมีอายุ 3 เดือน และช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเปลี่ยน คือ เดือนมีนาคม โดยมีความสูงของต้นและเส้นผ่าศูนย์กลางของต้นมากที่สุดหลังการเปลี่ยนพันธุ์ 90 วัน (13.11 เซนติเมตร และ 4.54 มิลลิเมตร ตามลำดับ) เมื่อนำต้นพันธุ์ Hass ซึ่งเปลี่ยนพันธุ์บนต้นอาโวกาโด 5 พันธุ์ และลงปลูกในแปลงทดสอบ พบว่า การใช้อาโวกาโดพันธุ์ Booth 7 เป็นต้นตอสำหรับพันธุ์ Hass เป็นวิธีการที่ดีที่สุด โดยมีการเจริญเติบโตของต้นพันธุ์ Hass ที่ดีกว่าการใช้พันธุ์อื่นๆเป็นต้นตอ และมีอัตราการรอดของต้นหลังปลูกในแปลง 6 เดือนมากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา คือ พันธุ์ Booth 8 และ Hall มีเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนพันธุ์สำเร็จ และเปอร์เซ็นต์การรอดในแปลงปลูก มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาพันธุ์อาโวกาโดที่มีศักยภาพสำหรับงานส่งเสริม ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลต้นพันธุ์อาโวกาโดที่มีการปลูกรวบรวม และได้เลือกพันธุ์และต้นที่จะศึกษา ได้แก่ พันธุ์ Furete ในแปลงของสถานีเกษตรหลวงปางดะ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ พันธุ์ Peterson และ Pinkerton ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ พันธุ์ ปากช่อง 28 และปากช่อง 33 ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ทุกพันธุ์มีช่วงการออกดอกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นปี 2559 บนพื้นที่สูงประสบปัญหาภัยแล้ง ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2558 ถึงเดือนพฤษภาคม 2559 ทำให้อาโวกาโดที่มีการออกดอก ดอกร่วง และในส่วนที่ติดผล เช่น พันธุ์ Peterson พบว่าผลแห้ง โดยเฉพาะที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง ทำให้ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ อย่างไรก็ตาม สามารถเก็บข้อมูลการออกดอกและการให้ผลผลิตได้เฉพาะพันธุ์ Peterson และพันธุ์ Pinkerton ที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว ซึ่งพบว่าพันธุ์ Peterson มีการออกดอกพร้อมกันเพียงชุดเดียวทั้งต้น และสามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกันในระยะเวลา ไม่เกิน 1 เดือน อายุการเก็บเกี่ยวผลหลังวันที่ดอกบานประมาณ 160 วัน ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ขณะที่อาโวกาโดพันธุ์อื่นๆ ผลยังไม่แก่ จึงเป็นพันธุ์ที่มีศักยภาพทางการตลาดโดยเฉพาะช่วงต้นฤดูฝนซึ่งยังไม่มีผลผลิตอาโวกาโด สำหรับพันธุ์ Pinkerton พบว่ามีการออกดอกเป็นรุ่น อย่างน้อย 2 รุ่น จากการที่มีการออกดอกหลายรุ่นจึงอาจทำให้การปฏิบัติดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยวผลผลิตทำได้ยากเนื่องจากมีผลผลิตบนต้นหลายรุ่น แต่อาจเป็นโอกาสในการเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยทยอยเก็บทำให้มีผลผลิตจำหน่ายในระยะเวลาที่นานขึ้น นอกจากนี้ ผลอาโวกาโดพันธุ์ Pinkerton มีลักษณะคล้ายอาโวกาโดพันธุ์ Hass คือ เนื้อมีความละเอียด เนียน เนื้อไม่เละ ไม่ฉ่ำน้ำ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ซึ่งผลผลิตพันธุ์ Hassยังไม่สุกแก่ จึงเป็นอีกพันธุ์หนึ่งที่มีศักยภาพทางการตลาดที่น่าสนใจ การศึกษาดัชนีการเก็บเกี่ยวของอาโวกาโดพันธุ์ Peterson และพันธุ์ Pinkerton โดยอาโวกาโดพันธุ์ Peterson มีการออกดอกพร้อมกันทั้งต้น เพียงชุดเดียวประมาณเดือนมีนาคม จึงสามารถเก็บพร้อมกันในเวลาใกล้เคียงกันได้ทั้งต้น โดยดัชนีการเก็บเกี่ยวผล คือ เมื่อผลมีอายุ 160 วันเป็นต้นไปหลังจากดอกบาน หรือมีน้ำหนักแห้ง 22.2% สำหรับอาโวกาโดพันธุ์ Peterson มีการออกดอก อย่างน้อย 2 รุ่น จึงควรมีการทำเครื่องหมายที่ช่อดอกแต่ละรุ่น เพื่อให้สามารถทราบอายุผลได้ โดยดัชนีการเก็บเกี่ยวผล คือ เมื่อผลมีอายุ 308 วันเป็นต้นไปหลังจากดอกบาน หรือมีน้ำหนักแห้ง 30.0%
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของอาโวกาโด
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2559
การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตอาโวกาโดบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การศึกษาดัชนีเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมของพันธุ์ Hass และ Baccaneer โครงการวิจัยเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตต้นกล้าอาโวกาโดและการปลูกอาโวกาโดบนพื้นที่สูง การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของอาโวกาโดบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตต้นกล้าอาโวกาโดและการปลูกอาโวกาโดบนพื้นที่สูง การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของอาโวกาโดบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของกุหลาบบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตสุกรบนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของกาแฟอราบิก้าบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกาแฟอราบิก้าในพื้นที่ โครงการหลวงแล ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตสุกรบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตสุกรบนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1 การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตกุหลาบบนพื้นที่สูง โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก