สืบค้นงานวิจัย
การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งโอคักทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
สนธยา บุญสุข, สัมพันธ์ ปานจรัตน์, กำพล ลอยชื่น, ธนภร เจริญลาภ, วรรลี สิงห์ธงยาม - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งโอคักทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Stock Assessment of the Greasy-Back Shrimps in the Andaman Sea Coast of Thailand
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งโอคัก (Metapenaeus spp.) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลจากแพปลาในพื้นที่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ตรัง และสตูล ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม พ.ศ. 2552 จากเรือประมงอวนลาก 3 ชนิด คือ เรือประมงอวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดความยาวเรือน้อยกว่า 14 เมตร และขนาดความยาวเรือระหว่าง 14-18 เมตร และเรือประมงอวนลากคู่ พบว่า มีอัตราการจับเฉลี่ยเท่ากับ 0.29 0.92 และ 0.15 กก./ชม. คิดเป็นร้อยละต่ออัตราการจับสัตว์น้ำทั้งหมดเฉลี่ยเท่ากับ 1.98 1.88 และ 0.15 ตามลำดับ กุ้งโอคักที่ถูกจับได้มีความยาวตลอดตัวอยู่ในช่วง 7.00-24.50 เซนติเมตร มีสมการการเติบโต คือ Lt=24.85[1-e-1.38(t+0.0458)] กุ้งโอคักขนาดเล็กสุดที่เข้ามาในข่ายการประมง มีขนาดความยาวตลอดตัว 7.00 เซนติเมตร จำนวน 69.44 ล้านตัว ค่าสัมประสิทธิ์การตายรวมเท่ากับ 4.25 ต่อปี ค่าสัมประสิทธิ์การตายโดยธรรมชาติเท่ากับ 2.32 ต่อปี ค่าสัมประสิทธิ์การตายจากการทำการประมงเท่ากับ 1.93 ต่อปี ค่าสัดส่วนการใช้ประโยชน์ เท่ากับ 0.45 ระดับผลผลิตที่ยั่งยืนของกุ้งโอคักมีค่าเท่ากับ 735.45 ตัน
บทคัดย่อ (EN): Stock assessment of the greasy back shrimpsalong the Andaman Sea coast of Thailand was conducted by random sampling at fishing ports in Ranong, Phang-nga, Phuket, Trang and Satun Provinces during January to December, 2009 from 3 groups of trawlers including less than 14 m otter board trawlers, 14-18 m otter board trawlers and pair trawlers. The average CPUEs of greasy back shrimpswere 0.29, 0.92 and 0.15 kg/hr or 1.98%, 1.88% and 0.15 % of the total catch, respectively. Sizes of greasy back shrimpswere in the range of 7.00-24.50 cm in which 7.00 cm greasy back shrimpswas the first size that recruited in fishing grounds with the number of 69.44 million individual prawns. The growth equation was Lt=24.85[1-e-1.38(t+0.0458)]. The total mortality coefficient (Z) was 4.25 per year; the natural mortality coefficient (M) was 2.32 per year; the fishing mortality coefficient (F) was 1.93 per year and the exploitation rate was 0.45. The maximum sustainable yield (MSY) of the prawn was 735.45 tons.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประเมินสภาวะทรัพยากรกุ้งโอคักทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย
กรมประมง
30 กันยายน 2558
กรมประมง
สภาวะทรัพยากรและการประมงปลาโอทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทูแขกครีบยาว Decapterus maruadsi (Temminck & Schlegel, 1843) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาตาหวานจุด (Priacanthus tayenus Richardson, 1846) ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาลัง (Rastrelliger kanagurta (Cuvier, 1816)) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ทรัพยากรกั้งตั๊กแตนทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาสีกุนตาโต Selar crumenopthalmus (Bloch, 1793) ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรกั้งกระดาน (Thenus unimaculatus Burton and Davie, 2007) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาแพะเหลือง Upeneus sulphureus(Cuvier,1829) ทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรปลาทู Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) ทางฝั่งทะเลอันดามันตอนล่างของประเทศไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาปากคมชนิด Saurida undosquamis และ S. elongata ทางฝั่งทะเลอันดามันของไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก