สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุนของเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการใช้การจัดการความรู้ ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
จรัส สว่างทัพ - มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
ชื่อเรื่อง: การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุนของเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการใช้การจัดการความรู้ ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่อง (EN): Study on the Development of Farmer’s Beef Fattening Cattle Raising Career on Sufficiency       Economy management by Knowledge Management Procedure in Buriram Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จรัส สว่างทัพ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุนของเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการใช้การจัดการความรู้ ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเลี้ยงโคเนื้อของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อในจังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพเลี้ยงโคเนื้อตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยวิธีการจัดการ ความรู้ 3) เพื่อศึกษาการพัฒนาการของการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ดัชนีชี้วัดในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโค เนื้อ บ้านสี่เหลี่ยมเจริญ หมู่ที่ 10 ตำบลแสลงพัน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 12 ราย เกษตรกรสมาชิกกลุ่ม ผู้เลี้ยงโคเนื้อ บ้านโนนสว่าง หมู่ที่ 12 ตำบลด้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัด บุรีรัมย์ จำนวน 24 ราย บ้านหนองตะเคียน หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวด จังหวัด บุรีรัมย์ จำนวน 29 ราย เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ และเกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ บ้านสองห้อง หมู่ที่ 1 ตำบลสองห้อง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 17 ราย รวมทั้งสิ้น 82 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยที่ช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ การสังเกต การอภิปรายกลุ่มและการจัดการความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิง ปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการใช้แผนที่ ความคิด ผลการศึกษา พบว่ากลุ่ม ผู้เลี้ยงโค มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5 คน มีจำนวน สมาชิกในครัวเรือน ที่ใช้แรงงานเฉลี่ย 3 คน ประกอบทำนาทำไร่เป็นอาชีพหลักและเป็นอาชีพหลักที่ ทำรายได้สูงสุด เลี้ยงโคเป็นอาชีพรองอันดับหนึ่ง และรับจ้างเป็นอาชีพรองอันดับสอง มีรายได้ต่อ เดือนต่อครั่วเรือนเฉลี่ย 12,600 บาท มีรายได้จากการเลี้ยงโคเนื้อต่อปีเฉลี่ย 15.012.20 บาท เพิ่ม จำนวนโคโดยการผสมเทียม เกษตรกรทุกคนรู้จักกรสังเกตสัดแมโค เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ไม่ปัญหาที่ประสบจากการได้ลูกที่เกิดจากการผสมเทียม ส่วนน้อยที่พบว่าลูกที่เกิดมาได้แต่ลูกเพศผู้ และแม่โคคลอดลูกยาก ลูกโคส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ที่ได้มีความแตกต่างจากเดิมโดยมีขนาดใหญ่กว่า มีสายเลือดชาโรเลส์ ปัญหาการผสมเทียมส่วนใหญ่ร้อยละ 72 มีปัญหาการผสมติดยาก ผสมซ้ำ จำนวนเฉลี่ย 3 ครั้งจึงจะผสมติด เกษตรกรสมาชิก ร้อยละ 69.5 ไม่ให้อาหารข้นแกโค แหล่งน้ำของ โคได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เกษตรกรสมาชิกร้อยละ 62.2 ไมให้อาหารแร่ธาตุแก่โค เกษตรกรสมาชิกให้วัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ให้ยาถ่ายพยธิไอเวอร์เม็ก-เอฟ และพ่นยาเห็บด้วยยาอาซุน โทล ใช้สมุนไพรบางชนิด เช่น สมุนไพรรักษาแผล กีบ-เท้าเป็นแผล สมุนไพรถ่ายพยาธิ สมุนไพรรักษา ท้องอืด เป็นต้น และฉีดไวตามินและยาบำรุงหรือยาเพิ่มประสิทธิภาพสมบูรณ์พันธุ์ เกษตรกรส่วนใหญ่เห็นว่าจำหน่ายโคง่ย ส่วนใหญ่ตีราคาโคเนื้อด้วยสายตาได้ โดยตีราคา จากการดูรูปร่างทั่วไป ราคาโคทุกสายพันธุ์เพศผู้จะสูงกว่าเพศเมีย ราคาโคลูกผสมชาโรเลส์จะสูงกว่าโคพื้นเมืองและโคลูกผสมบราห์มันเมื่ออายุมากขึ้น สมาชิกจำหน่ายให้กับนายหน้าที่มาติดต่อซื้อถึง บ้าน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงโคทั้ง4 กลุ่ม พบว่า สมาชิกร้อยละ 74.4 ได้เข้าร่วมอบรม สมาชิกกลุ่มอื่นๆ เข้าใจการใช้ชีวิตพอเพียงระดับมาก ยกเว้นกลุ่มบ้าน สองห้องมีความข้ใจระดับปานกลาง เกษตรกรสมาชิกส่วนใหญ่ร้อยละ 90.2 ได้ ดำเนินชีวิตพอเพียงมาแล้ว 1-3 ปี และร้อยละ 56.1 พบว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีระดับ มากขึ้นไป การพัฒนาศักยภาพการประกอบอาชีพการเลี้ยงโคเนื้อโดยการอบรมให้ความรู้ การอบรม เชิงปฏิบัติการ การสนับสนุนด้านน้ำเชื้อและเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ และการติดตามผล กลุ่มผู้เลี้ยง โคทุกกลุ่มระบุยืนยันระดับขั้นสถานภาพปัจจุบัน และระดับขั้นในอนาคตที่กลุ่มมุ่งหวังจะพัฒนาในช่วง 1 ปีข้างหน้าจากบันไดความรู้ 5 ขั้นของการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อ เมื่อดำเนินโครงการวิจัยได้ 1 ปี พบว่ากลุ่มบ้านสี่เหลี่ยมเจริญมีการพัฒนาบรรลุระดับที่มุ่งหวังทุกด้าน กลุ่มได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ให้เป็นกลุ่มต้นแบบของกลุ่มอาชีพขนาดเล็กกลุ่มมีทักษะปฏิบัติที่ดีใน การเลี้ยงโคเนื้อทุกด้านทั้งด้านการปรับปรุงพันธุ์ ด้านอาหาร ด้านการจัดการ และด้านการตลาด ผลลัพธ์และตัวชี้วัดเฉพาะของการพัฒนาในแต่ละด้าน พบว่าด้านการปรับปรุงพันธุ์ในภาพรวม ทุกกลุ่มมีจำนวนโคเมียที่เข้าสู่โครงการวิจัย จำนวนโคเมียที่ได้รับการผสมเทียม และจำนวนลูกโค ที่เกิดบรรลุเป้าหมายของโครงการ ด้านอาหารในภาพรวม ทุกกลุ่มมีจำนวนแปลงหญ้า และการเก็บ ถนอมพืชอาหารสัตว์และฟางข้าวบรรลุเป้าของโครงการ ด้านการจัดการในภาพรวม ทุกกลุ่มมีคะแนน รูปร่างโคเมีย การให้วัคซีนและการถ่ายพยาธิ บรรลุเป้าหมายของโครงการ ส่วนการพัฒนาสภาพ โรงเรือนของกลุ่มบ้านสี่เหลี่ยมเจริญบรรลุเป้าหมายของโครงการ ส่วนด้านการตลาดตัวชี้วัดการพัฒนา ยังไม่บรรลุเป้าหมายของครงการ เพราะลูกโคผลผลิตของโครงการวิจัยยังมีอายุน้อย ไม่ถึงเกณฑ์ส่ง ตลาด จึงมีข้อมูลจำนวนโคเข้าสู่ตลาดน้อย ไม่มีการสร้างตลาดโคขุนในท้องถิ่น
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this research were 1) to find out the context of farmers beef cattle raising groups in Buriram province, 2) to develop the potential of farmers beef cattle raising career on sufficiency economy by applying knowledge management procedures, and 3) to study the progress of farmers beef cattle raising career on sufficiency economy philosophy by quantitative and qualitative indices. The research target groups were eighty-two farmers from four beef cattle raising groups: twelve farmers from Ban Siliamcharoen, Salangpan subdistrict, Lam Plai Mat district; twenty-four farmers from Ban Nonsawang, Bandan subdistrict, Ban Dan district; twenty-nine farmers from Ban Nongtakhian, Bangruad subdistrict, Bangruad district and seventeen from Ban Songhong, Song Hong subdistrict, Muang district selected by purposive sampling. Semi-structured interview, checklist questionnaires, observation, focus group discussion and knowledge management were practical instruments to collect both quantitative and qualitative data. Quantitative data was analyzed by descriptive statistics and qualitative data was concluded through content analysis and mind mapping. The results revealed that the average of family members and working family members of beef cattle raising farmers from four groups was five and three persons, respectively. Cultivation was principle career and highest income career.The supplementary career was raising cattle and trade. The average income was 12,600 baht per family per month and raising cattle income was 15,012.20 baht. Farmers increased the number of cattle by artificial insemination and knew estrus signs of cows. Seventy-two percent of farmers who agreed Al service faced lower conception of cow and sometimes usually 3 times in average. More than sixty percent of farmers did not feed concentrate and minerals to their cattle.knew estrus signs of cows. Seventy-two percent of farmers who agreed Al service faced lower conception of cow and sometimes usually 3 times in average. More than sixty percent of farmers did not feed concentrate and minerals to their cattle. Drinking water for cattle obtained from natural water resource. Farmers vaccinated in foot and mouth disease, dewormed using Ivomec-F and also eradicated tick using asuntol. Herbal plant were provided for wound cure, deworm, bloat treatment, etc. Farmers increased fertility of cattle by injecting vitamins and stimulant medicine.In the aspect of market channel of cattle, almost farmers opined that easy selling. The price of cattle was agreed by sight evaluation and evaluated price from body confirmation. Male cattle price was higher than female cattle. The price of Charolais crossbreed cattle was higher than Native and Brahman crossbreed. Cattle were older, the price was higher. Farmers sold cattle to middleman who came in the village. About the knowledge and understanding of sufficiency economy philosophy of all farmer groups, seventy-four percent of farmers used to participate training. All farmers knew how to live their lives in sufficiency economy in high level except Ban Songhong farmers knew in moderate level. Ninety-two percent of farmers earned sufficiency life for 1-3 years and more than fifty percent of them found that their lives were better. The activities for their career development were lecturing, training, semen and forage seed supporting and follow-up studying. Every farmer groups had to confirm present status of cattle raising and sequence year status by five ladder steps of knowledge assets in cattle raising development. One year later, farmers from Ban Siliamcharoen achieved in every aspects, resulted to be master group from Buriram provincial livestock office. It was found that farmers from Ban Siliamcharoen showed best practices in animal breeding, feed, management and marketing aspect. The specific indices and outcome of development in animal breeding aspect that were the number of cow, inseminated cow and calf. These fulfilled the research project target, as well as, feed aspect which consisted of pasture area and roughage preservation. In management aspect, body condition score of cow, vaccination and deworming were successful. Whereas there was no achievement in market aspect because all calves were too young for selling and there was no local fattening cattle market.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาการพัฒนาการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุนของเกษตรกร ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยการใช้การจัดการความรู้ ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
30 กันยายน 2554
การจัดการความรู้ของเกษตรกรที่ทำการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตำบลหินดาต อำเภอปาศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร กระบวนการส่งเสริมค่านิยมวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงของเทศบาลแม่หล่ายโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ การจัดการความรู้ การใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านปศุสัตว์บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรโครงการศูนย์เครือข่ายเรียนรู้การเลี้ยงสัตว์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลสิงโตทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การจัดการความรู้ปาล์มสาคู เพื่อเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน สาธิตการจัดการฟาร์มระบบเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่ 1 ไร่ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการความรู้ และพัฒนารูปแบบการถ่ายทอด ภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้านในการพัฒนาอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง:กรณีศึกษานวดแผนโบราณ หมู่ที่ 3 ตำบลโคกเดื่อ อำเภอไพศาลี จังหวัดนครสวรรค์ การจัดการความรู้ และพัฒนารูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้านในการพัฒนาอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง:กรณีศึกษารากบัวเชื่อม เทศบาลตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ การใช้วัสดุเหลือใช้จากการเกษตรควบคุมมลภาวะการเลี้ยงสุกรและการนำไปใช้ปรับปรุงดินเพาะปลูกพืชในแนวเศรษฐกิจพอเพียง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก