สืบค้นงานวิจัย
ผลของ 1-MCP ต่อการเปลี่ยนแปลงกลิ่นและคุณภาพของมะละกอและมะละกอพร้อมบริโภคในระหว่างการเก็บรักษา
เฉลิมชัย วงษ์อารี, หทัยทิพย์ นิมิตรเกียรติไกล, สมโภชน์ น้อยจินดา - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่อง: ผลของ 1-MCP ต่อการเปลี่ยนแปลงกลิ่นและคุณภาพของมะละกอและมะละกอพร้อมบริโภคในระหว่างการเก็บรักษา
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of 1-MCP fumigation on alterations of aroma volatiles and quality during storage of intact fruit and fresh-cut
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเปรียบเทียบรูปแบบการผลิตสารระเหยและคุณภาพของผลมะละกอ 2 พันธุ์ คือ ปักไม้ลาย (ฮอนแลนด์) และแขกดา ในระยะการพัฒนาผล 5 ระยะ คือ ผลอ่อน ผลแก่เขียว ผลเริ่มสุก ผลสุกครึ่งผล ผลสุกเต็มที่ พบว่า ผลมะละกอดิบมีชนิดของสารระเหยน้อย และมีการเพิ่มมากขึ้นเมื่อผลสุก โดย Benzyl isothiocyanate เป็นสารหลักของผลมะละกอในระยะดิบทั้ง 2 สายพันธุ์ ผลมะละกอแขกดามีการสะสม methyl butanoic acid และ 2-ethyl benzoic acid เพิ่มสูงมากเมื่อเข้าระยะสุกแต่ไม่พบสารในกลุ่มเอสเทอร์เลยตลอดระยะการพัฒนา ส่วนมะละกอพันธุ์ปักไม้ลายมี ethanol สูงมากในระยะผลดิบและลดลงอย่างมากเมื่อผลเข้าสู่ระยะสุก สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของสารในกลุ่ม ethyl esters (ethyl hexanoate และ ethyl octanoate) เมื่อผลสุก นอกจากนั้น ปักไม้ลายยังมีการสะสม limonene ในช่วงผลดิบจนถึงผลห่าม เปลือกผลของปักไม้ลายมีสีส้มสว่างกว่าพันธุ์แขกดา แต่เนื้อมีสีแดงน้อยกว่าเมื่อผลสุก และความแน่นเนื้อในผลปักไม้ลายในระยะผลสุกสูงกว่าพันธุ์แขกดาไม่ต่ากว่าสองเท่า และยังมีรสชาติที่หวานกว่า TSS สูงและ TA ต่า นอกจากนี้ เมื่อนาผลมะละกอพันธุ์แขกดาระยะเขียวแก่และระยะสุกครึ่งผลมารมด้วย 1-MCP ความเข้มข้น 500 ppb ก่อนการเก็บรักษาที่ 10 ?C พบว่า ผลที่รม 1-MCP มีระดับ Benzyl isothiocyanate สูงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา แต่ไม่มีผลต่อปริมาณของสารในกลุ่ม Branched acid เช่น methyl butanoic acid และ methyl benzoic acid การรม 1-MCP สามารถชะลอการลดลงของความแน่นเนื้อของมะละกอระยะเขียวแก่ แต่ไม่มีผลต่อผลสุกครึ่งผลในระหว่างการเก็บรักษา เช่นเดียวกับการรม 1-MCP กับผลมะละกอแขกดาผลดิบและสุกครึ่งผลก่อนการแปรรูปเป็นผลผลิตพร้อมบริโภคช่วยคงระดับสาร Benzyl isothiocyanate ทั้งในมะละกอดิบฝอยและชิ้นมะละกอสุกที่เก็บไว้ที่ 5 ?C ตลอดระยะเวลา 6 วัน แต่ 1-MCP ไม่มีผลต่อรสชาติ (TSS/TA) การหายใจและการผลิตเอทิลีนตลอดอายุการเก็บรักษา
บทคัดย่อ (EN): Comparison of volatile compounds and quality of ‘Puk Mailai’ and ‘Khaek Dam’ papaya fruits during 5 developing stages including immature, mature green, breaker, half-ripe, and full ripe fruits were investigated. Immature fruits comprised fewer types of volatiles and generated more during the ripening processes. Benzyl isothiocyanate was the main volatiles in unripe fruits of both. A ‘Khaek Dam’ fruits sharply increased the production of methyl butanoic acid and 2-ethyl benzoic acid during ripening, but was unable to detect ester compounds throughout the fruits development. On the other hands, ‘Puk Mailai’ fruits contained intense ethanol at unripe stages but the substance was dramatically reduced when fruit entered ripening, directly related to an increase of ethyl esters (ethyl hexanoate and ethyl octanoate). Limonene was accumulated in ‘Puk Mailai’ fruit between immature and breaker stages. Although ‘Puk Mailai’ fruit showed bright orange peel, higher firmness, and sweeter taste, ‘Khaek Dam’ fruit exhibited redder in the fresh. Furthermore, 1-MCP treatments were applied to ‘Khaek Dam’ fruit. Fruit fumigated with 500 ppb 1-MCP prior to 10 ?C storage could maintain the level of Benzyl isothiocyanate throughout 30 days of storage but not for branched acids such as methyl butanoic acid and methyl benzoic acid. 1-MCP treatment delayed a decrease of flesh firmness in mature fruit, but did not affect half-ripe fruit. Similar results were observed in fresh-cut ‘Khaek Dam’ papaya. 1-MCP treatment maintained the level of Benzyl isothiocyanate in both shredded green papaya and fresh-cut ripe papaya when stored at 5 ?C for 6 days. However, 1-MCP did not affect TSS, TA, respiration and ethylene production of intact or fresh-cut produce.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของ 1-MCP ต่อการเปลี่ยนแปลงกลิ่นและคุณภาพของมะละกอและมะละกอพร้อมบริโภคในระหว่างการเก็บรักษา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
30 กันยายน 2551
ผลของ 1-methylcyclopropene และรูปแบบการตัดแต่ง ต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษามะละกอสุกพันธุ์เรดมาลาดอลและพันธุ์แขกดำ การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การรักษาคุณภาพของลองกองพร้อมบริโภคด้วยเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว (ระยะที่ 2) ผลของการให้ความร้อนก่อนการตัดแต่งและกรดแอสคอร์บิคต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและคุณภาพของมะละกอสุกพร้อมบริโภค ระยะเวลาการเก็บรักษาที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของหญ้าเนเปียร์หมักในถุงพลาสติก การแปรรูปมะละกอ การศึกษาคุณภาพ และวิธีการเก็บรักษาต้นพันธุ์ที่มีต่อความงอกการเจริญเติบโตและผลผลิตของมันสําปะหลัง ผลของการเก็บรักษาไรแดงต่อการเจริญเติบโตของปลา ศึกษาผลการฉายรังสีอัลตร้าไวโอเลต-ซี ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในการเก็บรักษาแกงไตปลาแห้งสำเร็จรูป การขยายพันธุ์มะละกอ (Carica papaya L.) สายพันธุ์ฮอลแลนด์ในสภาพปลอดเชื้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก