สืบค้นงานวิจัย
การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการผลิตเห็ด
นันทินี ศรีจุมปา ศิรากานต์ ขยันการ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการผลิตเห็ด
ชื่อเรื่อง (EN): Agricultural Wastes as Substrates for Mushroom Cultivation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นันทินี ศรีจุมปา ศิรากานต์ ขยันการ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Nantinee Srijumpa Sirakarn Khayankan
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การทดลองใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการผลิตเห็ด มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวัสดุแทนขี้เลื่อยไม้ยางพาราซึ่งมีราคาสูง โดยดำเนินการที่ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 – กันยายน พ.ศ. 2553 วัสดุที่ใช้ในการทดลองได้แก่ ฟางข้าว เปลือกฝักข้าวโพด ซังข้าวโพดและแกลบ นำมาทดลองและเพาะเห็ดสกุลนางรมสองชนิดคือ นางรม ฮังการีและนางฟ้าภูฎาน โดยมีขี้เลื่อยไม้ยางพาราเป็นกรรมวิธีเปรียบเทียบ พบว่าเส้นใยเชื้อเห็ดทั้งสองชนิดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในก้อนวัสดุที่ทำจากฟางข้างหมัก เปลือกฝักข้าวโพดหมัก ซังข้าวโพดหมักและขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่ไม่สามารถเจริญได้บนก้อนที่ทำจากแกลบ เห็ดนางรมฮังการีที่เพาะจากเปลือกฝักข้าวโพดและซังข้าวโพด ให้ผลผลิตเห็ดไม่แตกต่างกับการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ในการเพาะเห็ดนางฟ้าภูฎาน พบว่าขี้เลื่อยไม้ยางพาราให้ผลผลิตสูงสุด รองลงมาคือการเพาะจากเปลือกฝักข้าวโพดและซังข้าวโพด แต่ฟางข้าวให้ผลผลิตต่ำที่สุดทั้งในเห็ดนางรมฮังการีและนางฟ้าภูฎาน เมื่อนำขี้เลื่อยไม้ยางพารามาผสมกับแกลบที่อัตรา 1:0 1:1 2:1 และ 3:1 โดยปริมาตร แล้วนำมาเพาะเห็ดสกุลนางรม เห็ดขอนขาวและเห็ดลมป่า พบว่าเส้นใยเห็ดทุกชนิดเจริญได้ดีในวัสดุเพาะทุกอัตราส่วน แต่ในด้านผลผลิตพบว่าเป็นนางรมฮังการีและเห็ดนางฟ้าภูฎาน ที่เพาะจากขี้เลื่อยไม้ยางพาราให้ผลผลิตเห็ดสูงสุด ในกรรมวิธีที่ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับแกลบที่อัตราส่วน 2:1 และ 3:1 ให้ผลผลิตรองลงมาและแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเห็ดขอนขาวผลที่ได้ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน แต่สำหรับเห็ดลมป่าพบว่าถ้าใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราผสมกับแกลบที่อัตราส่วน 1: 1 ให้ผลผลิตไม่แตกต่างกับการใช้ขี้เลี่อยไม้ยางพาราเพียงอย่างเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อขี้เลื่อยไม้ยางพาราได้ถึง 50%
บทคัดย่อ (EN): As the cost of pararubber sawdust which is the main substrate for mushroom cultivation has increased, agricultural wastes were studied to be used as alternative substrates. This study was conducted at the Chiang Rai Horticultural Research Centre during October 2008 – September 2010. Rice straw, corn husk, corn cob and rice husk were used to cultivate Pleurotus spp. And compared with pararubber sawdust as control. Mycelia of two types of oyster mushrooms (Pleurotus spp.) namely Hungarian and Bhutan types. Both types had grown well on every substrate except rice husk. The yield of Pleurotus sp. (Hungarian type) obtained from corn husk and corn cob were not significantly different from those obtained from pararubber sawdust. However, the yield of Bhutan type was different from Hungarian type. The pararubber sawdust has the highest yield of Bhutan type and had been significantly different from those obtained from corn husks and corn cob. Yield of both types obtained from rice straw were the lowest ranks. Another experiment was done using rice husk mixed in different ratios by volume with sawdust to grow Pleurotus spp, Lentinus squarrosulus and L. polychrous. The mycelia of each mushroom colonized well on every combination of substrates. Pararubber sawdust has the highest yield of 2 types of Pleurotus spp. And L. squarrosulus followed by 2:1 and 3:1 ratio of sawdust and rice husk with significantly differences. However, the yield of L. polychrous was different from the others. Yield obtained from 1:1 ratio was not significantly different from pararubber sawdust as comparison. Therefore fifty percent of rice husk can be mixed whit pararubber sawdust to grow L. polychrous for the sake of fifty percent saved.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2554
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อการผลิตเห็ด
กรมวิชาการเกษตร
2554
เอกสารแนบ 1
เห็ดบางชนิดในสกุล Ganoderma และสกุลใกล้เคียง การพัฒนาถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ การศึกษาความเหมาะสมของการแปรรูปวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่ง การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในการเลี้ยงโค-กระบือ การใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอุ้มน้ำในพื้นที่ดินทรายจัด การศึกษาคุณสมบัติของถ่านขาวและน้ำส้มควันไม้ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร แบบหล่อคอนกรีตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตเห็ดของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพกับศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พืชสวน) การประยุกต์ใช้วัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ดเป็นสารเสริมในอาหารไก่เนื้อ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก