สืบค้นงานวิจัย
อัตราการเจริญเติบโตและศักยภาพการให้ผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ภายใต้วันปลูกและสภาพน้ำที่ต่างกัน
ปริชาติ คงสุวรรณ, อิสระพงศ์ บุตรจันทร์, บุญรัตน์ จงดี - กรมการข้าว
ชื่อเรื่อง: อัตราการเจริญเติบโตและศักยภาพการให้ผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ภายใต้วันปลูกและสภาพน้ำที่ต่างกัน
ชื่อเรื่อง (EN): Crop Growth Rate and Yield Potential of Photoperiod Sensitive Rice Variety Under different Planting Dates and Water Conditions
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ:
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN):
ชุดเอกสาร: การประชุมวิชาการกรมการข้าว ประจำปี 2562 บูรณาการเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาข้าว
บทคัดย่อ: การเพิ่มผลผลิตของข้าวนาน้ำฝนภาคตะวันออกเฉียงเหนือภายใต้สภาวะอากาศที่แปรปรวน โดยการเพิ่มขนาดของ sink แต่ไม่ลดน้ำหนักแห้ง สันนิฐานว่าจะช่วยเพิ่มผลผลิตของข้าวได้ ดังนั้น การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นประเมินความแตกต่างของอัตราการเจริญเติบโต และศักยภาพการให้ผลผลิตของข้าวนาน้ำฝนของไทย ภายใต้วันปลูกและการจัดการน้ำที่แตกต่างกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับการพัฒนาประชากรข้าวที่มีฐานพันธุกรรมของข้าวขาวดอกมะลิ 105 และ กข6 ต่อไป ทำการทดลองที่ศูนย์วิจัยข้าวนครราชสีมา ในฤดูนาปี 2561 วางแผนการทดลองแบบ Alpha lattice จำนวน 2 ซ้ำ ใช้ข้าวไวต่อช่วงแสง จำนวน 60 พันธุ์/สายพันธุ์ 2 วันปลูก คือ วันปลูกปกติ ปักดำวันที่ 15 กรกฎาคม 2561 และวันปลูกล่าช้า ปักดำ 30 สิงหาคม 2561 และการจัดการน้ำในนา 2 สภาพ คือ มีน้ำขัง และไม่มีน้ำขัง ตลอดฤดูปลูก รวมเป็น 4 สภาพ ประเมินระดับความไวต่อช่วงแสง (PSI ) และบันทึกข้อมูลเพื่อหาอัตราการเจริญเติบโต (CGR) 2 ระยะ คือ จากปักดำถึงออกดอกรวงแรก (TP to 1% DTF) และจากปักดำถึงเก็บเกี่ยว(TP to harvest) ได้แก่ น้ำหนักแห้งรวมที่ระยะเริ่มออกดอกและระยะสุกแก่ จำนวนต้นต่อกอ จำนวนรวงต่อกอ ดัชนีการเก็บเกี่ยว และผลผลิต วิเคราะห์ความแปรปรวนรวม (combined analysis) และสหสัมพันธ์ (multiple regression) พบว่า พันธุ์/สายพันธุ์ทดสอบมีค่า PSI แตกต่างกัน ตั้งแต่ 0.47-0.99 เป็นกลุ่มไวต่อช่วงแสงแบบอ่อน (PSI ระหว่าง 0.47-0.70) จำนวน 10 พันธุ์/สายพันธุ์ และกลุ่มไวต่อช่วงแสงอย่างมาก (PSI ระหว่าง 0.71-0.99) จำนวน 50 พันธุ์/สายพันธุ์ ในกลุ่มข้าวไวต่อช่วงแสงแบบอ่อน พบค่า CGR ที่ระยะปักดำถึงออกดอกรวงแรก มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลผลิต และดัชนีการเก็บเกี่ยวทั้ง 4 สภาพ โดยพันธุ์/สายพันธุ์ที่มีค่า CGR สูงสุด ให้ผลผลิต และดัชนีการเก็บเกี่ยวสูงที่สุดด้วยเช่นกัน ขณะที่กลุ่มข้าวไวต่อช่วงแสงอย่างมากพบเฉพาะสภาพน้ำไม่ขัง สามารถคัดเลือกพันธุ์/สายพันธุ์ที่มีอัตราการเจริญเติบโตสูง และมีศักยภาพในการให้ผลผลิตได้ดีในทั้ง 4 สภาพ จำนวน 12 พันธุ์/สายพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ผลการทดลองที่นำเสนอเป็นเพียงความก้าวหน้าในปีแรก ยังต้องมีการศึกษาเพื่อยืนยันผลการทดลอง และการคัดเลือกพันธุ์/สายพันธุ์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
บทคัดย่อ (EN): To increase the productivity of rain-fed lowland rice in northeastern Thailand under variable climate by increasing sink size without decreasing dry weight assumed to increase rice yield. This study aimed to assess the growth rate and yield potential of Thai rice lines under different sowing dates and water managements to achieve a database for developing rice populations with the genetic base of RD6 and KDML105 in the future. The study was conducted at Nakhon Ratchasima Rice Research Center in wet season 2018. The experimental design was alpha lattice with 2 replications, 60 photoperiod sensitive rice lines, 2 sowing dates; normal sowing date at 15th July 2018 and late sowing date at 30th August 2018 and 2 water managements; aerobic and anaerobic conditions. The photoperiod sensitivity index (PSI) of the rice lines was assessed and crop growth rate (CGR) was recorded at 2 stages; from transplanting to first flowering date (TP to 1% DTF) and from transplanting to harvesting (TP to harvest). The data collection consisted of total dry matter at the early flowering stage and harvesting stage, panicles per hill, harvest index and yield. According to combined analysis and multiple regressions, it was found that the rice lines had different PSI, ranging from 0.49-0.99. There were 10 weakly photoperiod-sensitive lines (PSI between 0.47-0.70) and 50 strongly photoperiod-sensitive lines (PSI between 0.71-0.99). Regarding the weakly photoperiod-sensitive lines, CGR at transplanting stage to first flowering had a positive relationship with yield and harvest indices within 4 conditions. The lines that had the highest CGR also had the highest yield and harvest index. Regarding the strongly photoperiod-sensitive lines, they were found only in anaerobic condition. There were 12 lines that had high CGR and yield potential under 4 conditions. However, this is only a preliminary research result from the first year. Which needs to do more studies to confirm the result and further utilization.
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
จำนวนหน้า: 2
เผยแพร่โดย: กรมการข้าว
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่ AGRIS:
เจ้าของลิขสิทธิ์: กรมการข้าว
รายละเอียด: Submitted by Ton Admin (ton@local) on 2019-05-16T06:34:37Z No. of bitstreams: 2 20 PP-16.pdf: 171751 bytes, checksum: 903b057a701c1a296d8b057be04e5981 (MD5) license_rdf: 811 bytes, checksum: 53b05846eb6eeb1c33891ab08e36a383 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อัตราการเจริญเติบโตและศักยภาพการให้ผลผลิตของสายพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ภายใต้วันปลูกและสภาพน้ำที่ต่างกัน
กรมการข้าว
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กรมการข้าว
ผลการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตข้าว การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวภายใต้ระดับปุ๋ยฟอสฟอรัสที่ต่างกัน แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร ผลของการไถกลบพืชปุ๋ยสดชนิดต่างๆ ที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว ผลของการให้น้ำชลประทานต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา ปีที่1 อิทธิพลของกระแสลมต่อการเจริญเติบโตและการสูญเสียผลผลิตข้าว การเจริญเติบโตและผลผลิตของหวายบางพันธุ์ที่ปลูกร่วมกับยางพารา วันปลูกที่เหมาะสมของข้าวหอมพันธุ์ใหม่ในภาคใต้ การศึกษาเปรียบเทียบการเจริญเติบโตและผลผลิตมะขาม 19 พันธุ์ อายุ 4 ปี ในสถานีวิจัยปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก