สืบค้นงานวิจัย
ข้อมูลเบื้องต้นของอาหารปลาราคาถูกจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิล
เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ข้อมูลเบื้องต้นของอาหารปลาราคาถูกจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิล
ชื่อเรื่อง (EN): Preliminary data oflow cost fish feed from tilapia culture industries
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เพ็ญพรรณ ศรีสกุลเตียว
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Penpun Srisakultiew
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้ต้องการใช้ประโยชน์เศษเหลือจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิล ที่เป็นชิ้นส่วนปลาจากโรงงาน แปรรูปและเศษปลานิลที่เหลือจากการขายของแม่ค้าในตลาด นำมาทำเป็นปลาเปรี้ยวเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาราคาถูก โดยรวบรวมเศษปลานิลจากตลาดบางลำพู จ.ขอนแก่น ประกอบด้วยเกล็ด ครีบต่างๆ เหงือก ลำไส้ และหัวเศษปลาเหล่า นี้มีโปรตีนรวมร้อยละ 21.57 – 23.43 ของน้ำหนักแห้ง ทำการบดเหงือกรวมกับลำไส้บดหัวปลาที่สั่งซื้อจากโรงงานแปรรูป ผสมกับเศษปลาให้เข้ากัน ก่อนผสมกับรำละเอียดในอัตราเศษปลาบด : รำละเอียดเท่ากับ 1.03 – 1.12 : 1 เก็บไว้ในโหล ที่มีฝาปิดสนิท พบว่าค่าความเป็นกรด-เป็นด่างลดจาก 6.63 เหลือเพียง 4.49 – 4.93 ภายใน 1 สัปดาห์ และคงที่ที่ระดับ นี้ในสัปดาห์ที่ 4 เพราะการทำงานของแบคทีเรียแลคติกแอซิคที่มีจำนวนเพิ่มจาก 1.47x104 – 1.59x104 cfu/g (สัปดาห์ที่ 0) เป็น 2.2x107 – 9.9x107 และ 2.05x107 – 7.02x107 cfu/g ในสัปดาห์ที่ 1 และ 4 ตามลำดับ จำนวนยีสต์และราเพิ่มจาก 9.1x103 -9.5x103 เป็น 2.3x104 – 3.5x104 และ 1.59x106 – 1.80x106 cfu/g ในสัปดาห์ที่ 0, 1 และ 4 ตามลำดับ แสดงว่า ปลาเปรี้ยวใช้ระยะการหมัก 1 สัปดาห์ การเก็บปลาเปรี้ยวที่นานขึ้น พบเชื้อราเพิ่มมากขึ้น การทดลองใช้ปลาเปรี้ยวปั้นเป็น ก้อนให้ลูกปลานิล (1 กรัม) เปรียบเทียบกับชุดควบคุม (อาหารเม็ดโปรตีน 30%) นาน 4 สัปดาห์ พบว่าลูกปลาที่อนุบาล ด้วยปลาเปรี้ยว มีขนาดทั้งน้ำหนักและความยาวที่น้อยกว่าปลาชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เพราะ ปลาเปรี้ยวมีโปรตีนเพียงร้อยละ 16.48+1.39 อีกทั้งลูกปลามีอัตรารอดตายที่ต่ำเพียงร้อยละ 60.67+15.53-79.33+5.03 เพราะติดเชื้อราจากปลาเปรี้ยว ขณะที่ชุดควบคุมมีอัตรารอดตายร้อยละ 80.67+11.37
บทคัดย่อ (EN): The project aimed to utilize by-products from tilapia culture industries including a processing manufactory and Bang-lum-poo Market,a local fish market inKhonkaen province,for producing soured fish as a low cost fish feed. The fish by-products from Bang-lum-poo Market consisted of scales, fins, gills, gut and fish head (21.57 – 23.43% protein DW). They were minced and mixed with grounded tilapia head obtained from an industrial scale tilapia fillet processing plant prior to mix with rice bran (1.03 – 1.12 : 1) and then keeping in air tight containers. The soured fish containers were sampled periodically for monitoring total bacterial count, lactic acid bacteria, yeast & mold, pH and proximal analysis. Numbers of lactic acid bacteria increased from 1.47x104 – 1.59x104 cfu/g (week 0) to 2.2x107 – 9.9x107 and 1.59x107 – 7.02x107 cfu/g in week 1 and 4, respectively. These affected pH of the mixture dropped from 6.63 to 4.49 - 4.93 with in 1 week and stable at this level until 4 weeks. While yeast and mold were slowly increased from 9.1x103 - 9.5x103 to 2.3x104 – 3.5x104 and 1.59x106 – 1.80x106 cfu/g in week 0, 1 and 4, respectively. So, the soured fish took 1 week for fermentation. Keeping the soured fish longer would increased more yeast and mold. A preliminary test was conducted by using the soured fish to feed tilapia fry (1 g) compared with control (30% proteinpellet) for 4 weeks. Length and weight of the fry fed with the soured fish were significantly (P<0.05) lower than those fed with the pellet due to low protein (16.48+1.39%) of the soured fish. In addition, lower survival rate (60.67+15.53 -79.33+5.03%) of the fry fed with the soured fish also detected because of mold infection during nursing period while the control found 80.67+11.37% survival.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P841.pdf&id=1383&keeptrack=4
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ข้อมูลเบื้องต้นของอาหารปลาราคาถูกจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลานิล
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
สัดส่วนเศษปลาหมักผงที่เหมาะสมในการทดแทนปลาป่นและกากถั่วเหลืองในอาหารปลานิลแดง ผลการเสริมฝุ่นผงน้ำส้มในอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลานิล และปลาดุกลูกผสม การใช้ใบมะละกอป่นในอาหารเลี้ยงปลานิลแดง (Oreochromis niloticus × O. mossambicus) ผลของซิงเกิลเซลล์โปรตีนในอาหารปลานิล ผลของการเสริม Schizochytrium sp. ในอาหารต่อลักษณะทางสัณฐานบางประการและการเจริญเติบโตของปลานิล การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดกระเทียมเสริมอาหารในการเลี้ยงปลานิลเพื่อการผลิตอาหารปลอดภัย การสะสมและการขับทิ้งไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของปลากะพงขาว (Lates calcarifer Bloch, 1790) ที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดแห้งและอาหารปลาสด การศึกษาผลผลิตและข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ ของการเลี้ยงปลานิลร่วมกับหอยขม(Vivipara sp.) เพื่อเสริมรายได้ ผลของการใช้กากถั่วเหลืองที่ย่อยด้วยน้ำคั้นจากสับปะรดในสูตรอาหารปลานิลต่อการเจริญเติบโต ความทนทานต่อสภาพเครียด และเชื้อก่อโรค การเพาะเลี้ยงสาหร่าย Cladophora (ไก) และ Spirulian เพื่อเป็นอาหารปลาบึก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก