สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการประชาสัมพันธ์เกษตรสมัยใหม่ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงใหม่
ณภัทร เรืองนภากุล - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการประชาสัมพันธ์เกษตรสมัยใหม่ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณภัทร เรืองนภากุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วีระพล ทองมา
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การท่องเที่ยวเป็นหนึ่งกลไกในการส้รางรายได้ให้กับประเทศ การท่องเที่ยวเชิงเกษตรสมัยใหม่นอกจากจะเป็นการท่องเที่ยวที่สร้างรายได้แล้วยังสอดคล้องกับบริบทสังคมไทยและก่อให้เกิดการเรียนรู้อีกด้วย การวิจัยเรื่องการพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการประชาสัมพันธ์เกษตรสมัยใหม่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ เพื่อผลิตคลิปวิดีโอสั้นประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวการเกษตรสมัยใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มต้นแบบผ่านแอปพลิเคชันที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีด้านภูมิสารสนเทศเพื่อการประชาสัมพันธ์การเกษตรสมัยใหม่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นในระบบแอนดรอยด์ และผลิตสื่อวิดีโอสั้นเพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรสมัยใหม่ในจังหวัดจำนวน ๑๒ แห่ง เพื่อนำไปทดสอบการใช้งาน และสำรวจข้อมูลความพึงพอใจและข้อเสนอแนะด้วยแบบสอบถามและการประชุมกลุ่ม ผลการทดสอบพบว่าผู้ทดลองใช้ ประกอบด้วย นักท่องเที่ยว เจ้าของสถานที่ท่องเที่ยว และผู้เชี่ยวชาญ มีความพึงพอใจและเห็นว่าแอปพลิเคชั่นนี้มีประโยชน์ต่อการสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ทั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการปรับรูปแบบของแอปพลิเคชั่นอย่างหลากหลาย งานวิจัยนี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการพัฒนานวัตกรรมสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสมัยใหม่ต่อไป คำสำคัญ : แอปพลิเคชั่น , การท่องเที่ยว , ท่องเที่ยวเชิงเกษตร , เกษตรสมัยใหม่ , เชียงใหม่
บทคัดย่อ (EN): Tourism is one mechanism for generating income for the country. Modern agricultural tourism is not only an income-generating tourism, but also in line with the Thai society context and creates learning Research on the development of applications for the public relations of modern agriculture for sustainable tourism of Chiang Mai Province. The objective of this research is to produce short video clips to promote tourism in modern agriculture in Chiang Mai Province. And to develop a prototype platform through an application that applies geospatial technology for the promotion of modern agriculture for sustainable tourism in Chiang Mai Province. With the development of applications in the Android system And produced short video media to publicize 12 modern agricultural tourism sites in the province to test the use. And survey data on satisfaction and recommendations with questionnaires and group meetings The test results showed that the trial subjects consisted of tourists. Attraction owner And experts Be satisfied and see that this application is useful to support agricultural tourism. There are suggestions for adapting a variety of applications. This research is expected to be of benefit to the media innovation development approach to further promote modern agricultural tourism.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-62-02-001.3
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2562
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการประชาสัมพันธ์เกษตรสมัยใหม่ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2562
รูปแบบนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่ เพื่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดเชียงใหม่ การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนในบริเวณโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่งอน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมแหล่งการเกษตรอินทรีย์ เพื่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน : กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดอยุธยา และจังหวัดชลบุรี การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสินค้าของที่ระลึกพื้นเมืองเพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนในกลุ่มจังหวัดเบญจบูรพาสุวรรณภูมิ การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์แปรรูปสู่การสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอินทรีย์ ของจังหวัดเชียงใหม่ ศักยภาพการผลิตสินค้าการเกษตรอินทรีย์สู่มาตรฐานสากล ของ จังหวัดเชียงใหม่ ผลกระทบของการถ่ายทอดเทคโนโลยยีเกษตรต่อครอบครัวเกษตรกรชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ แนวทางการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดเชียงใหม่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก