สืบค้นงานวิจัย
ลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยและสายพันธุ์อ้อยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) โรคใบขาวอ้อย
สุนิศา สุนทร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยและสายพันธุ์อ้อยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) โรคใบขาวอ้อย
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of sugarcane morphological characters and sugarcane cultivars on the growth of sugarcane white leaf insect vector Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุนิศา สุนทร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sunisa Sunthorn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ยุพา หาญบุญทรง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Yupa Hanboonson
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เพลี้ยจักจั่น (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) เป็นแมลงพาหะนำเชื้อไฟโตพลาสมาโรคใบขาว อ้อย วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยสายที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ พบว่า แมลงที่ดูด กินต้นอ้อยรูปทรงพุ่มและลำต้นเดี่ยวพันธุ์ขอนแก่น 3 ไม่มีผลความแตกต่างต่อการเจริญเติบโตของแมลง ส่วนแมลงพาหะ ที่ดูดกินบนรูปร่างสัณฐานของอ้อย 6 สายพันธุ์ (ขอนแก่น 3, Q229, UT 17, UT 13 และอ้อยป่ (Saccharum spontaneum:; (Ths98-185) และอ้อยป่พันธุ์ Erianthus spp: (ThE 10-6 ) พบว่าแมลงที่ดูดกินบนอ้อยป่า ThS98-185 มีการรอดชีวิตมาก ที่สุด 85%, รองมาคือพันธุ์ขอนแก่น 3, UT 13, UT 17, Q229 และ ThE 10-6 มีการรอดชีวิต 75%, 62.50%, 45%, 37.50% และ ไม่มีการรอดชีวิต ตามลำดับ สอดคล้องกับผลการวัดระยะเวลาการดูดกินในชั้นท่ออาหาร (phloem) พบว่าแมลงชอบ ดูดกินมากบน อ้อยป่า โhS98-185 และ พันธุ์ขอนแก่น 3 ไม่มีความแตกต่างกัน โดยมีระยะเวลาการดูดกินเฉลี่ยนานที่สุด 8.62+1.04 และ 8.50+1.00 นาที และ จำนวนความถี่ในการดูดกินมาก 42.21 士7.20 และ 40.94+3.48 ครั้ง ตามลำดับ ตรง ข้ามกับอ้อยป่าพันธุ์ ThE 10-6 และพันธุ์ Q229 ที่มีลำต้นแข็งและแมลงไม่ชอบดูดกิน โดยมีระยะเวลาการดูดกินเฉลี่ยน้อย 2.42*0.10 และ 3.92*0.42 นาที และ จำนวนความถี่ในการดูดกินน้อยเช่นกัน 26.96+2.86 และ 27.60+2.33 ครั้ง ตาม ลำดับ ส่วนพันธุ์ UT17 และ UT13 แมลงมีการรอดชีวิต และการชอบในการดูดกินในระดับป่านกลาง ดังนั้นการศึกษานี้ สามารถนำลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยที่มีความทนทานต่อการเจริญเติบโตและการดูดกินของแมลงไปใช้เป็นแนวทาง ปรับปรุงพันธุกรรมของอ้อยเพื่อลดการระบาดของแมลงพาหะและโรคใบขาวได้อย่างยั่งยืน
บทคัดย่อ (EN): The leafhopper Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura) is a vector of sugarcane white leaf disease. The objective of this study was to investigate the morphological characters of sugarcane that influence the growth of insect vector. It was found that insect feeding on the bushy and single stem shape of sugarcane Khon Kaen 3 cultivar did not affect the growth of insect. Six sugarcane different cultivars (Khon Kaen 3, Q229, UT17, UT13 and Saccharum spontaneum (ThS98-185) and Erianthus spp. (ThE10-6) were fed to insect vector. The results showed that insect fed on ThS98-185 cultivar had 85% survival, followed by Khon Kaen 3, UT13, UT17, Q229 and ThE10-6 survival rates were 75%, 62.50%, 45%, 37.50% and no survival, respectively. Consistent with the results of measuring feed time and frequency in the phloem, it was found that insects preference for feeding on ThS98-185 and Khon Kaen 3 cultivars were not significantly different. The average longest feeding time was 8.62±1.04 and 8.50±1.00 minutes, and the number of feeding frequency was 42.21±7.20 and 40.94±3.48 on ThS98-185 and Khon Kaen 3 cultivars respectively. In contrast, for ThE10-6 and Q229 cultivars with hard stems and non preference for insect, the average longest feeding time was 2.42±0.10 and 3.92±0.42 minutes, and the number of feeding frequency was 26.96±2.86 and 27.60±2.33 times on ThE10-6 and Q229 cultivars, respectively. For UT17 and UT13 cultivars, insect showed moderate survival and feeding intake. Therefore, the morphology characteristic of sugarcane that is resistant to the growth and insect feeding can be used as guideline to improve sugarcane genetics for breeding sugarcane to reduce the prevalence of insect vectors and the white leaf disease epidemic.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2560
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2561
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=O29 Ent03.pdf&id=3005&keeptrack=1
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ลักษณะรูปร่างสัณฐานของอ้อยและสายพันธุ์อ้อยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) โรคใบขาวอ้อย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2561
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของอุณหภูมิต่อแมลงพาหะ Matsumuratettix hiroglyphicus นำโรคใบขาวอ้อย ประชากรแมลงพาหะ (Matsumuratettix hiroglyphicus (Matsumura)) และการเกิดโรคใบขาวอ้อยในระบบการปลูกข้าวไร่ สลับกับอ้อย และระบบปลูกอ้อยเชิงเดี่ยว ระยะเวลาการบ่มและเพิ่มปริมาณเชื้อที่เหมาะสมต่อการถ่ายทอด เชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุของโรคใบขาวอ้อยของเพลี้ยจักจั่นพาหะ ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum) ความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อไฟโตพลาสมาที่ก่อโรคในอ้อย และหญ้าบางชนิดของประเทศไทย จากลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ 16S-23S rRNA intergenic spacer region ผลของไคตินและปุ๋ยหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตของผักเชียงดา ผลของพันธุ์อ้อยต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ การวิจัยและพัฒนาเครื่องผ่ากออ้อยและการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของอ้อยตออย่างแม่นยำ ผลของปุ๋ยน้ำต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดและอ้อย พฤติกรรมการเคลื่อนที่ของเพลี้ยจักจั่นพาหะนำโรคใบขาวอ้อย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก