สืบค้นงานวิจัย
โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมโครงการลุ่มน้ำคลองวังโตนด
ชวลี เฌอกิจ - กรมชลประทาน
ชื่อเรื่อง: โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมโครงการลุ่มน้ำคลองวังโตนด
ชื่อเรื่อง (EN): Participatory Water Management Project, Khlong Wang Tanot Watershed Project
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชวลี เฌอกิจ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chawaree Cherkit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ชวลี เฌอกิจ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Chawaree Cherkit
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
หมวดหมู่: อื่นๆ
บทคัดย่อ: การศึกษาการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมของโครงการลุ่มน้ำคลองวังโตนด จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาศักยภาพการใช้ทรัพยากรน้ำของคลองวังโตนดก่อนและหลังมีโครงการผันน้ำ และหลังมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำบริเวณต้นคลองวังโตนด เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมตามความต้องการใช้น้ำของชุมชน และสร้างการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำเพื่อลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในโครงการผันน้ำ โดยการออกแบบสอบถามในการสำรวจการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ใช้น้ำ การสัมภาษณ์เชิงลึก (Indepth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key informant) ส่วนการบริหารจัดการน้ำใช้โปรแกรม HEC GeoHMS ในการแบ่งลุ่มน้ำย้อย และการจัดทำแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า และการวิเคราะห์ปริมาณน้ำไหลผ่านฝ่ายใช้แบบจำลอง HEC HMS การวิเคราะห์ความต้องการน้ำด้านการเกษตรใช้แบบจำลอง Crowat ผลการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมทั้งในระดับการวางแผน การเข้ามามีบทบาทและการให้อำนาจประชาชนเข้ามาบริหารจัดการน้ำจัดอยู่ในระดับปานกลาง อาจเนื่องจากประชากรในลุ่มน้ำคลองวังโตนดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในกลุ่มต้นน้ำและกลางน้ำที่อยู่นอกเขตชลประทานจะสูบน้ำขึ้นมาใช้เองและขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้เอง จึงให้ความสำคัญกับการชลประทานน้อย และเกิดความไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าที่ของรัฐเมื่อเกิดโครงการผันน้ำจากสองวันโตนดไปอ่างเก็บน้ำประแสร์ โดยเกรงว่าจะมีน้ำไม่พอใช้และต้องการสร้างฝายเพิ่มเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ผู้นำชุมชนจะมีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชากรมากที่สุด โดยมีความเห็นว่า หากมีการสร้างว่างเก็บน้ำครบทั้ง 4 แห่ง บริเวณต้นน้ำทำให้ชุมชนคลองวังโตนดมีน้ำใช้อย่างพอเพียง การผันน้ำไปคงไม่มีปัญหา แต่ควรมีการชดเชยงบประมาณให้กับพื้นที่คลองวังโตนดด้วย เมื่อมีการนำทรัพยากรของพื้นที่ไปใช้ ผลการใช้แบบจำลองในการบริหารจัดการน้ำพบว่า ในกรณีไม่มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ น้ำจะขาดแคลนในฤดูแล้ง ในปี พ.ศ. 2555 ช่วงเดือนธันวาคม ถึงเมษายน ปริมาณน้ำขาดแคลนทั้งสิ้น 59.72 ลูกบาศก์เมตร และมีปริมาณน้ำส่วนเกินไหลลงสู่อ่าวไทย 1001.29 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี พ. ศ. 2556 เกิดการขาดแคลนน้ำช่วงเดือนธันวาคม ถึง มีนาคม ทั้งสิ้น 46.27 ล้านลูกบาศก์เมตร ในฤดูฝนปริมาณน้ำส่วนเกินไหลลงสู่อ่าวไทยทั้งสิ้น 1686.85 ล้านลูกบาศก์เมตร ทั้งสิ้น 59.73 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีปริมาณน้ำส่วนเกินไหลลงสู่อ่าวไทยทั้งสิ้น 1,686. 85 ล้านลูกบาศก์เมตร เมื่อสร้างแบบจำลองกรณีมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำคลองพวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองประแกต อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด และอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว พบว่าจะไม่มีการขาดแคลนน้ำและปริมาณน้ำส่วนเกินที่ไหลทิ้งจะลดลง และอัตราการไหลสูงสุดของน้ำในลุ่มน้ำคลองวังโตนดหลังจากมีอ่างเก็บน้ำจะลดลงจาก 611.5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เหลือเพียง 385.7 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
บทคัดย่อ (EN): A Study on Participatory Water Management of the Khlong Wang Tanot Watershed Project It was prepared to study the water resource utilization potential of Khlong Wang Tanot before and after the water diversion project. and after the construction of a reservoir at the beginning of the Wang Tanot canal as a guideline for proper water management according to the community's water use needs and create participation in water management to reduce potential conflicts in water diversion projects By designing a questionnaire to survey the participation of water users. Indepth interview from key informant. Water management uses HEC GeoHMS program to divide watershed. and the preparation of a rainwater-running model and analysis of water flow through the department using the HEC HMS model; the analysis of agricultural water demand using the Crowat model. The results showed that participation at both the planning level The role and empowerment of people to manage water is at a moderate level. This may be due to the majority of the population in the Khlong Wang Tanot Basin. Especially in the upstream and midstream groups outside the irrigation area, water is pumped up for use by itself and digging ponds to store water for their own use. Therefore, less emphasis is placed on irrigation. And there was a distrust of government officials when the project to divert water from two palm trees to Prasae Reservoir. for fear that there will be insufficient water and want to build more dams to store water for use in the dry season Community leaders have the greatest influence on population participation. with the opinion that If all 4 water storage spaces are built in the upstream area, the Khlong Wang Tanot community has sufficient water for use. The water diversion should not be a problem. But there should be budget compensation for the Khlong Wang Tanot area as well. When the resources of the area are used The results of the modeling in water management revealed that In the absence of the construction of a reservoir Water is scarce in the dry season. In 2012, from December to April, there was a total water shortage of 59.72 cubic meters, and 1001.29 million cubic meters of excess water flowed into the Gulf of Thailand. In 2013, there was a shortage. Water during December to March 46.27 million cubic meters. In the rainy season, excess water flows into the Gulf of Thailand at 1686.85 million cubic meters, totaling 59.73 million cubic meters. and there is a total amount of excess water flowing into the Gulf of Thailand at 1,686.85 million cubic meters. When creating a model for the construction of four reservoirs, namely Khlong Phawa Yai Reservoir. Khlong Prakat Reservoir Khlong Wang Tanot Reservoir and Khlong Hang Maeo Reservoir It was found that there would be no water shortage and the amount of excess water discharged would be reduced. And the maximum flow rate of water in the Khlong Wang Tanot Basin after the reservoir is reduced from 611.5 cubic meters per second to only 385.7 cubic meters per second.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: ส่วนวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์
เลขทะเบียนวิจัยกรม: สวพ. 35/2557
เลขทะเบียนวิจัยแหล่งทุน: 5790005
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ดำเนินการวิจัยเอง
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 80,000
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://drive.google.com/file/d/11bWxP9H2GjqAChdgHppTyID5NFnUPOtk/view?usp=share_link
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
รายละเอียด: Submitted by รดา รุจณรงค์ กรมชลประทาน (rada_ru@rid.go.th) on 2019-03-14T04:15:43Z No. of bitstreams: 2 สวพ 35-2557.pdf: 1251025 bytes, checksum: e2a8f0e8f6cb9a1fb338d5d64020be8a (MD5) license_rdf: 811 bytes, checksum: 53b05846eb6eeb1c33891ab08e36a383 (MD5)
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างมีส่วนร่วมโครงการลุ่มน้ำคลองวังโตนด
ชวลี เฌอกิจ
สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน
2557
เอกสารแนบ 1
กรมชลประทาน
การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ชุด 2 โครงการพัฒนาต้นแบบอุปกรณ์เครื่องวัดความชื้นของดิน สำหรับระบบบริหารจัดการน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่น้ำนอง การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษา (VDO) โครงการวิเคราะห์ศักยภาพน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำประแสร์ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำ เรื่องเล่าจากเกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (โครงการเติมน้ำ เติมชีวิต) คู่มือการบริหารจัดการน้ำโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ พร้อมจัดฝึกอบรมและให้ค้าแนะนำกลุ่มผู้ใช้น้ำ ของสำนักงานชลประทานที่ 9 โครงการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในสภาวะวิกฤติ โครงการบริหารการทดสอบและวิเคราะห์ตัวอย่างวัสดุ (ด้านวิศวกรรม) การบริหารจัดการชลประทานโดยเกษตรกรมีส่วนร่วม ด้านการส่งน้ำและบำรุงรักษา โครงการบริหารจัดการงานวิเคราะห์ดินด้านวิทยาศาสตร์และคุณภาพน้ำ ประจำปีงบประมาณ 2561

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก