สืบค้นงานวิจัย
การวิเคราะห์ความหนาของกะลาในปาล์มน้ำมันโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลเอสเอสอาร์
ธีระ เอกสมทราเมษฐ์, วัชรินทร์ ซุ้นสุวรรณ - มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ความหนาของกะลาในปาล์มน้ำมันโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลเอสเอสอาร์
ชื่อเรื่อง (EN): Shell thickness analysis in oil palm using SSR markers
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การใช้เครื่องหมายโมเลกุลที่ใกล้ชิดกับยีนที่ควบคุมความหนากะลา จะช่วยนักปรับปรุงพันธุ์พืช คัดเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันแบบดูรา พิสิเฟอรา และเทเนอรา ในระยะกล้า ซึ่งจะช่วยย่นระยะเวลาในการปรับปรุงประชากรเพื่อคัดเลือกสายพันธุ์พ่อแม่ดูราและพิสิเฟอราที่ดี ได้ทำการสุ่มคัดเลือกต้นปาล์มน้ำมันชั่วที่ 2 จำนวน 67 ต้น จากแปลงรวบรวมเชื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมันชั่วที่ 2 ซึ่งรวบรวมจากต้นลูกผสมชั่วที่ 1 ของปาล์มน้ำมันแบบเทเนอรา จากสวนต่าง ๆ ในภาคใต้ แล้วนำมาปลูกจำนวน 1,081 ต้น ปีพ.ศ. 2532 ที่สถานีวิจัยคลองหอยโข่ง คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา ปาล์มน้ำมันชั่วที่ 2 จำนวน 67 ต้น ถูกสุ่มคัดเลือกและจำแนกออกเป็นแบบดูรา 24 ต้น พิสิเฟอรา 9 ต้น และเทเนอรา 34 ต้น และพบว่าปาล์มน้ำมันแบบดูรา มีความหนาของกะลา 2.10-4.27 มิลลิเมตร และเปอร์เซ็นต์ของเนื้อผล 46.76-70.76% ปาล์มน้ำมันแบบพิสิเฟอราไม่มีกะลาและมีเปอร์เซ็นต์ของเนื้อผล 41.68-100% ปาล์มน้ำมันแบบเทเนอรา มีความหนาของกะลา 0.76-2.79 มิลลิเมตร และเปอร์เซ็นต์ของเนื้อผล 65.40-86.26% ปาล์มน้ำมันแบบเทเนอรามีการเรียงตัวของเส้นใยรอบกะลา แต่ปาล์มน้ำมันแบบดูราไม่มีการเรียงตัวของเส้นใยรอบกะลา เมื่อวิเคราะห์ด้วยเครื่องหมายโมเลกุลเอสเอสอาร์กับปาล์มน้ำมันแบบดูรา พิสิเฟอรา และเทเนอรา โดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล mEgCIR008, mEgCIR0230, mEgCIR0353, mEgCIR0465, mEgCIR02347, mEgCIR3275, MF233033, MF233056 และ MF2331019 พบว่าการใช้เครื่องหมายโมเลกุล MF233033 ร่วมกับ MF233056 สามารถใช้แยกปาล์มน้ำมันแบบดูรา พิสิเฟอรา และเทเนอรา ได้ถูกต้อง 80% 100% และ 76.47% ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Oil palm trees can be identified according to fruit traits into dura, pisifera, and tenera types. DNA markers associated with shell thickness can be used to identify fruit traits at the seedling stage of oil palm. The purpose of this study was to use SSR markers for identification of dura, pisifera, and tenera oil palms based on shell thickness. Sixty seven F2 plants of oil palm were selected from 1,081 F2 plants which were collected from different F1 tenera hybrid oil palm plantations in southern Thailand. They were grown at Khong Research Station, Faculty of Natural Resources, Prince of Songkla University, Songkhla in 1989. Sixty seven F2 oil palm trees were classified based on fruit morphology into twenty four dura, nine pisifera, and thirty four tenera trees. A shell thickness of dura types ranged from 2.10 to 4.27 mm and a mesocarp per fruit weight ranged from 46.76 to 70.76%. The pisifera types have no shell and a mesocarp per fruit weight ranged from 41.68 to 100%. A shell thickness of tenera types ranged from 0.79 to 2.79 mm and a mesocarp per fruit weight ranged from 65.4 to 86.26%. The tenera had a ring of fibers enclosing the kernel but the dura had no ring of fibers enclosing the kernel. Nine SSR markers, mEgCIR0008, mEgCIR0230, mEgCIR0353, mEgCIR0465, mEgCIR2347, mEgCIR3275, MF233019, MF233033, and MF233056 were used for identification of dura, pisifera, and tenera oil palms. The only two markers, MF233033 and MF233056 were found specific for identifying the dura, pisifera, and tenera types. They were able to predict the dura, pisifera, and tenera types with an accuracy of 80, 100, and 76.47%, respectively. These results suggest that the SSR markers can be used as marker-assisted selection (MAS) of oil palm breeders for classification of fruit traits of oil palm.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-03-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การวิเคราะห์ความหนาของกะลาในปาล์มน้ำมันโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลเอสเอสอาร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
31 มีนาคม 2556
การผลิตถ่านกัมมันต์จากกะลาปาล์ม การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการจัดการสวนปาล์มน้ำมันในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ปีที่3 การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมมะม่วงโดยเทคนิคเครื่องหมายโมเลกุล เอส เอส อาร์ การปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองฝักสดของไทยโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุล การปรับปรุงพันธุ์ข้าวดอกพยอมและกู้เมืองหลวงไม่ให้ไวแสงด้วยวิธีผสมกลับและคัดเลือกโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลเอสเอสอาร์ (ระยะที่ 2) การปรับปรุงพันธุ์ข้าวดอกพยอมและกู้เมืองหลวงไม่ให้ไวแสงด้วยวิธีผสมกลับและคัดเลือกโดยใช้เครื่องหมายโมเลกุลเอสเอสอาร์ (ระยะที่ 1) การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่ดินเปรี้ยวจัด การวิเคราะห์ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการจำแนกชนิดพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ด้วยเครื่องหมายโมเลกุล การปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอรา (D x P) และการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิตปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมแก่เกษตรกร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก