สืบค้นงานวิจัย
ต้นทุนการปลูกสร้างสวนยางในเขตภาคใต้ตอนบน
สมมาต แสงประดับ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ต้นทุนการปลูกสร้างสวนยางในเขตภาคใต้ตอนบน
ชื่อเรื่อง (EN): Production Cost of Rubber in Upper Part the South
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมมาต แสงประดับ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ขจร รอดแก้ว
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การลงทุนปลูกยางในพื้นที่ใหม่ในเขตภาคใต้ตอนบน จำเป็นอย่างยิ่งต้องทำการศึกษาค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างสวนยาง เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญในการประเมินผลตอบแทนจากการลงทุน ข้อมูลจากการสำรวจ อาทิเช่น อัตราค่าจ้างแรงงาน ราคาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ สามารถนำมาประเมินต้นทุนการปลูกยางของประเทศในภาพรวมได้ต่อไป ผลการศึกษาค่าใช้จ่ายในการปลูกสร้างสวนยางตั้งแต่ปีที่ 1-7 ได้แบ่งค่าใช้จ่ายออกตามลักษณะของการปลูกยาง และสภาพพื้นที่ทางกายภาพของสวนยาง ปรากฏว่า การปลูกยางในสภาพพื้นที่ราบใช้วัสดุปลูกยางชำถุง การเตรียมพื้นที่โดยใช้แรงงานคน โดยการตัดโค่นป่า จะเสียค่าใช้จ่ายเตรียมพื้นที่เพียงไร่ละ 847 บาท และค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการปลูกยางตั้งแต่ปีที่ 1-7 ไร่ละ 5,697 บาท ถ้าใช้เครื่องจักรกลจะเสียค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่ 1,177 บาท และค่าใช้จ่ายในการปลูกยางทั้งหมดไร่ละ 6,027 บาท การปลูกยางโดยใช้วัสดุปลูกยางต้นตอตามีค่าใช้จ่ายทั้งหมด น้อยกว่าการปลูกยางชำถุง โดยถ้าใช้แรงงานคนไร่ละ 5,142 บาท ใช้เครื่องจักรกลไร่ละ 5,472 บาท การปลูกยางในพื้นที่ควนเขา มีค่าใช้จ่ายทำขั้นบันไดเพิ่มขึ้นไร่ละ 336 บาท และโดยส่วนใหญ่จะใช้แรงงานคนในการเตรียมพื้นที่ ถ้าใช้วัสดุปลูกแบบยางชำถุง ค่าใช้จ่ายในการปลูกยางทั้งหมดไร่ละ 6,033 บาท ถ้าใช้วัสดุปลูกแบบต้นตอตา ค่าใช้จ่ายในการปลูกทั้งหมดไร่ละ 5,478 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายในการผลิตยางหลังเปิดกรีด ได้ใช้วิธีการประเมินจากผลผลิตยางตั้งแต่ปีที่ 8-25 ไร่ละ 3,400 กก. โดยแยกเป็นค่าบำรุงรักษาสวนยาง ได้แก่ การใส่ปุ๋ย และฉีดยาวัชพืชไร่ละ 5,556 บาท ค่ากรีดเก็บน้ำยาง และทำแผ่นไร่ละ 27,402 บาท รวมเป็นต้นทุนการผลิตยางทั้งหมดไร่ละ 42,593 บาท หรือ 12.53 บาท/กก.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ต้นทุนการปลูกสร้างสวนยางในเขตภาคใต้ตอนบน
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การตลาดยางของชาวสวนยางรายย่อยในเขตภาคใต้ตอนบน การศึกษาชนิดของชันโรง (Trigona spp.) ในภาคใต้ตอนบน ของประเทศไทย . การวิจัยเชิงนโยบายการจัดทำคาร์บอนเครดิต และการประเมินความต้องการการใช้น้ำจากการดำเนินการปลูกสร้างสวนยางพารา ระยะที่ 3 ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก 250,000 ไร่ ศึกษาค่าใช้จ่ายการปลูกสร้างสวนยางในเขตต่าง ๆ ของสวนยางเอกชน ศึกษาค่าใช้จ่ายการปลูกสร้างสวนยางในเขตต่าง ๆ ของส่วนราชการ โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตจันทร์เทศในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน การปรับตัวของระบบการผลิตยางพาราต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเขตภาคใต้ตอนบน สำรวจโรคและศัตรูที่สำคัญทางเศรษฐกิจในสวนยางพาราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน การศึกษาต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของฟาร์มโคนมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การจัดทำคาร์บอนเครดิต จากการดำเนินการปลูกสร้างสวนยางพารา ตามนโยบายส่งเสริมการปลูกสร้างสวนยางพารา ระยะที่ 3 ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก 250,000 ไร่

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก