สืบค้นงานวิจัย
ผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของแก่นตะวัน
วีระ โรพันดุง - กรมพัฒนาที่ดิน
ชื่อเรื่อง: ผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของแก่นตะวัน
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of chemical fertilizer and high quality organic fertilizer on soil properties and kaentawan(Helianthus tuberosus L.) growth and yield
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วีระ โรพันดุง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลของปุยเศมีและปุยอินทรีย์คุณภาพสูงที่มี ต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดิน การเจริญเติบโตและ ผลผลิตของแก่นตะวัน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษอิทธิพลของปุยเคมีและปุยอินทรีย์คุณ ภาพสูงที่มีผลต่อการ เจริญเติบโต การให้ผลผลิต คุณภาพของแก่นตะวัน การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดิน และวิเคราะห์ผลตอบแทน ทางเศรษฐกิจ ทำการทดลองในกลุ่มชุดดินที่ 40 ชุดดินชุมพวง ณ แปลงทดลองสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 จังหวัดขอนแก่น ระหว่างเดือน ตุลาคม 2552 ถึง เดือน กันยายน 2553โดยวางแผนการทดลองแบบ Randomize Complete Block Design (RCBD) ประกอบด้วย 6 วิธีการ จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย วิธีการที่ 1 ไม่ใส่ปุ๋ย วิธีการที่ 2 ปุ้ยเคมี สูตร 12-24-12 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 3 ปุ้ยเคมี สูตร 12- 24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่ อไร่ วิธีการที่ 4 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ วิธีการที่ 5 ปุยเคมี สูตร 12 24-12 อัตรา 25 กิโลกรัมต่อ ไร่ร่วมกับ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อ ไร่ วิธีการที่ 6 ปุยเคมี สูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ร่วมกับปุยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัม ต่อไร่ จากผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสมบัติทางเคมีดิน พบว่า ดินก่อนทำการทดลอง มีปฏิกิริยาเป็น กรดจัด คำความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (PH) เท่ากับ 5.ปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่ำมาก 0.5 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณธาตุฟอสฟอรั สที่เป็นประโยชน์ในดินระดับ ต่ำ 5.7 mgkg และมีปริมาณธาตุ โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดินระดับต่ำมาก 25.4 บาgkg หลังทำการทตลอง พบว่า การเปลี่ยนแปลง สมบัติดิน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (PH)ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน (เปอร์เซ็นต์ OM) ฟอสฟอรัสที่ เป็นประโยชน์ใน ดิน (P) และพแทสเชียมที่เป็นประโยชน์ในดิน (K) มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย โดยใน ทุก วิธีการ สมบัติของดินมีแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับดินก่อนทำการทดลอง คือ มี ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ของดิน (PH) ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน (P) และโพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิ น (K) เพิ่มขึ้น แต่ค่า อินทรียวัตถุมีแนวโน้มลดลงการเจริญเติบโตของต้นแก่นตะวัน พบว่า การใช้ปุยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ และ การใช้ ปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ มีความสูงต้นมากที่สุด คือ 57.13 และ 70.93 เซนติเมตร ที่อายุ 50 และ 1 10 วัน ตามลำดับ ส่วนเส้นรอบวงลำต้น ในทุกวิธีการมีค่าไม่แตกต่างกัน โดยมีค่า อยู่ระหว่าง 5.03-6.03 เซนติเมตร ที่อายุ 50 วัน และลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 3.60-5.36 เซนติเมตร ที่อายุ 110 วันผลผลิตแก่นตะวัน พบว่า วิธีการใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ มีน้ำหนักหัวสด และน้ำหนักหัวแห้งสูงสุด คือ 40106 และ 275.66 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนเปอร์เซ็นต์ความหวาน ทุก วิธีการทดลองไม่มีความแตกต่งกัน โดยมีเปอร์เซ็นต์ความหวานอยู่ระหว่าง 22.10-23.27 เปอร์เซ็นต์บริกซ์ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า การปลูกแก่นตะวันที่มีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีต้นทุนในการ ผลิตสูงกว่าวิธีการที่ไม่ใส่ปุยอินทรีย์มีคุณภาพสูง แต่มีผลตอบแทนเหนือค่าใช้จ่ายผันแปร (รายได้สุทธิ) ต่ำกว่า วิธีการ ที่ไม่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพสูง โดยวิธีการ ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร 12-24-12 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อ ไร่ มี ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร (รายได้สุทธิ) สูงสุด คือ 17,748.00 บาทต่อไร่
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดิน
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมพัฒนาที่ดิน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติดิน การเจริญเติบโตและผลผลิตของแก่นตะวัน
กรมพัฒนาที่ดิน
30 กันยายน 2553
อิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีที่มีต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของแก่นตะวัน การจัดการดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำยางพาราในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดินจังหวัดอุตรดิตถ์ ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตลองกอง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของแก้วมังกรในจังหวัดระยอง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีที่มีผลต่อผลผลิตและคุณภาพของแก้วมังกรในจังหวัดจันทบุรี ศึกษาประสิทธิภาพและอัตราที่เหมาะสมของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิตหอมแดง ในกลุ่มชุดดิน 15 การศึกษาวิธีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุอินทรีย์ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งไม้ การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 3 ( การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น 2 ( การสร้างต้นแบบการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติรวมทั้งความพึงพอใจของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทดลองในพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดที่มีความเหมาะสมชั้น1 (S

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก