สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาวัตถุดิบเหง้าที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของไวน์น้ำผึ้งกระชายดำ
เสริมสกุล พจนการุณ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาวัตถุดิบเหง้าที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของไวน์น้ำผึ้งกระชายดำ
ชื่อเรื่อง (EN): Effects of environmental, harvesting and storage factors of Raw materials on Krachai-Dam (Kaempferia parviflora) honey wines qualities: sensory evaluation
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เสริมสกุล พจนการุณ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Sermsakul Pojanagaroon
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาวัตถุดิบเหง้าที่มีผลต่อคุณภาพ ไวน์น้ำผึ้งกระชายดำด้านประสาทสัมผัส อันประกอบด้วย พื้นที่ปลูก เดือนปลูก เดือนเก็บเกี่ยว จำนวนวัฎจักรการปลูก วิธีการ และระยะเวลาการเก็บรักษาวัตถุดิบเหง้าที่ใช้ผลิตไวน์ เพื่อให้ได้กรรมวิธีที่ได้รับการยอมรับด้านประสาทสัมผัส สูงที่สุด ทำการศึกษา ณ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2550 ผลการศึกษา พบว่า สามารถแบ่งกลุ่มไวน์ที่ผลิต จากวัตถุดิบเหง้าที่ได้จากกรรมวิธีต่างๆ อกเป็น 6 กลุ่ม โดยจำแนกตามความคล้ายคลึงกันของคุณภาพโดยทั่วไป คุณภาพ ทางเคมี และเภสัชด้านดัชนีต้านอนุมูลอิสระ ด้วยวิธี UPGMA ทำการคัดเลือกแบบหลายขั้นตอนจากกลุ่มกรรมวิธีการผลิต ไวน์สมุนไพรกระชายดำที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ทำการทดสอบและประเมินคุณภาพด้านประสาทสัมผัสโดยวางแผนการ ทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในกลุ่ม ด้วยการใช้ผู้ทดสอบที่ได้รับการฝึกฝนอย่างดี จำนวนอย่างน้อย 15 รายต่อบล็อก เป็นผู้คัดเลือกไวน์น้ำผึ้งกระชายดำที่ได้รับคะแนนการยอมรับคุณภาพไวน์สูงสุดในแต่ละกลุ่ม และเปรียบเทียบกันระหว่าง กลุ่ม ทั้งนี้ สามารถคัดเลือกกรรมวิธีที่ได้รับคะแนนการยอมรับโดยรวมสูง และมีคุณภาพทางเคมีและเภสัชด้านปริมาณ สารประกอบฟินอลิกทั้งหมดและดัชนีต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด ได้แก่ กรรมวิธีที่ 2-28 ที่ใช้วัตถุดิบเหง้ากระชายดำสายพันธุ์ *ภูเรือ-10 (ร่มเกล้า)' ที่มีสีเนื้อในเหง้า 'สีม่วงดำ' ปลูกจากพื้นที่ทดสอบแม่จอนหลวง (1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล) ในเดือนพฤษภาคม เก็บเกี่ยวเดือนกุมภาพันธ์ ปลูกวัฎจักรเดียว (1 ฤดูกาลปลูก ใช้ทันทีหลังการเก็บเกี่ยว โดยวางกอง กับพื้นที่อุณหภูมิปกติ ทั้งนี้ สามารถใช้ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานวัตถุดิบเหง้าที่ใช้ในการผลิต ไวน์น้ำผึ้งกระชายดำได้
บทคัดย่อ (EN): The present study was conducted to evaluate the most suitable process for Krachai-Dam (Kaempferia parviflora Wall ex Baker) honey wine by sensory evaluation. The factors influenced on raw materials used for Krachai-Dam honey wine processing: plantation areas, planting months, harvesting months, number of crop cycle, storage methods and storage periods of rhizomes were studied during January to March 2007 at Department of Food Science and Technology, Chiang Mai University, Chiang Mai. The results showed that Krachai-Dam honey wines processes could be classified in 6 main groups using an UPGMA for grouping these samples by their similarities of 9 quality parameters (typical, chemical and pharmaceutical qualities of wines). Krachai-Dam honey wines were evaluated various times (within and between groups) using a randomized complete block design (RCB), a panelist was a block (replication), more than 15 panelists (blocks)/ treatment. It could be found that the treatment combination number 2-28 was the most optimal process (wine produced from Krachai-Dam rhizomes with raw materials ‘Phurua-10 (Rom-Klao)’ cultivar (dark-purple internal color) grown at Maechonluang area (1,350 m asl) in May, harvested in February, a 1-year crop growing, with a storage period of 0 month after being harvested and keeping rhizomes by layout on the ground, at room temperature). Therefore, this research could be used as a guideline to standardize the raw materials for producing Krachai-Dam honey wines.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=10-Sermsakul.pdf&id=254&keeptrack=8
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาวัตถุดิบเหง้าที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของไวน์น้ำผึ้งกระชายดำ
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของกัมอารบิกที่มีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวทุเรียนหลงลับแลเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ การศึกษาสภาพการเก็บรักษา และสารเคมีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวไม้ตัดดอกประเภทหัวบางชนิด ผลของสารล้างผิวต่ออายุการเก็บรักษาและคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของมะนาว ระดับความสูงของพื้นที่ ที่มีผลต่อผลผลิต และคุณภาพของกระชายดำจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและหัวพันธุ์ลำดับต่างๆ ผลของการเคลือบเมล็ดพันธุ์ร่วมกับสารเรืองแสง Rhodamin-B ต่อคุณภาพหลังการเก็บรักษาในสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของเมล็ดพันธุ์มะเขือเทศลูกผสม ผลของ บอริค แอซิค ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวและอายุการเก็บรักษาของดอกมะลิ ผลของอุณหภูมิและวิธีการเก็บรักษาต่อแตนเบียนไข่, Trichogramma spp. ผลเหง้ากระชายดำที่มีสีเนื้อในเหง้าแตกต่างกันต่อฤทธิ์ต้านความเหนื่อยล้า ผลของการใช้โอโซนต่อคุณภาพของเนื้อปูม้านึ่งในระหว่างการเก็บรักษา โดยการแช่เย็น ผลของสภาพการเก็บรักษาภายใต้สภาวะปิดความดันต่ำที่มีต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวและแมลงในโรงเก็บ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก