สืบค้นงานวิจัย
การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี
เดชา กลิ่นเทศ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: เดชา กลิ่นเทศ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มกรีดในจังหวัดอุดรธานีที่เกิดจากการปฏิบัติของเกษตรกร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานของเกษตรผู้ปลูกยาง สภาพการปลูกยาง ปัญหาการผลิตยางแผ่นและจำหน่าย โดยศึกษาในพื้นที่ 3 อำเภอของจังหวัดอุดรธานี สุ่มศึกษาจากสวนยางที่เริ่มเปิดกรีด จำนวน 102 สวน เกษตรกร 102 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าไคสแควร์ ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ พื้นที่สวนยางที่ศึกษาทั้งหมด 2,855 ไร่ พื้นที่สวนยางเฉลี่ยต่อสวน 28 ไร่ เกษตรกรที่เป็นเจ้าของสวนส่วนใหญ่ร้อยละ 82.4 เป็นเพศชาย มีอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 41-50 ปี่ การศึกษาส่วนใหญ่ร้อยละ 81.4 เรียบจบหลักสูตรชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ป.4 ) จำนวนสมาชิกในครัวเรือนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.9 มีจำนวน 4-5 คน แรงงานที่ใช้ในครัวเรือนส่วนใหญ่ร้อยละ 58.8 ใช้แรงงานในครัวเรือน 1-2 คน มีพื้นที่เปิดกรีดยางพาราของตนเองเฉลี่ยรายละ 15 ไร่ จำนวนต้นยางที่เปิดกรีดเฉลี่ย 923 ต้นเกษตรกรมีการปฏิบัติดูแลรักษาสวนยางโดยการใส่ปุ๋ย ร้อยละ 100 สำหรับความรู้เรื่องวิธีการกรีดยางเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 89.2 ได้รับการอบรมก่อนเปิดกรีด และมีการปฏิบัติในการกรีดส่วนใหญ่ ร้อยละ 97.1 กรีดจากซ้ายลงมาขวา เกษตรกรมีการแบ่งหน้ากรีดยางครึ่งต้น ส่วนใหญ่ร้อยละ 93.1 และวันกรีดส่วนใหญ่ร้อยละ 88.2 กรีดทุก 2 วัน (วันเว้นวัน) แรงงานที่ใช้กรีดยางและทำยางแผ่นส่วนใหญ่ร้อยละ 90.2 ใช้แรงงานครอบครัว เฉลี่ย 2 คน การจำหน่ายยางแผ่น ครั้งสุดท้ายเกษตรกรส่วนใหญ๋ร้อยละ 42.2 จำหน่ายให้กับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และเกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายยางแผ่นเฉลี่ย 28.054 บาท ต่อปีต่อราย เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการกรีดยาง ส่วนใหญ่ร้อยละ 49.0 มีปัญหาเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศและการผลิตยางแผ่น ส่วนใหญ่ร้อยละ 40.2 มีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำที่ใช้ในการทำยางแผ่น ส่วนในด้านการจำหน่าย เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 59.8 มีปัญหาเกี่ยวกับตลาด ราคาที่จำหน่ายได้ เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 82.4 ไม่พอใจ ราคาที่จำหน่ายได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.9 เกษตรกรจำหน่ายได้ราคาตั้งแต่ 22 - 25 บาท ต่อกิโลกรัม จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ว่าพื้นที่ในการปลูกยางพารา และรายได้ของเกษตรกรเป็นอิสระต่อกันหรือไม่ โดยใช้ค่าไคสแควร์ (x) พบว่าพื้นที่ปลูกยางพาราและรายได้มีความสัมพันธ์กันที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ว่าพื้นที่ในการปลูกยางพารา และจำนวนแรงงานที่ทำสวนยางเป็นอิสระต่อกันหรือไม่ โดยใช้ค่า ไคสแควร์ (x) พบว่าพื้นที่ปลูกยางพาราและจำนวนแรงงานที่ทำสวนยางไม่มีความสัมพันธ์กันที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้คือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและมีกิจกรรมภายในกลุ่ม อาทิ การออมทรัพย์ การตั้งร้านค้า การประชาสัมพันธ์ภายในกลุ่ม และสนับสนุนโรงเรือนรวมยางแผ่น โรงงานทำยางแผ่น อุปกรณ์การทำยางแผ่นให้ทั่วถึงทุกกลุ่ม รวมทั้งส่งเสริมให้มีตลาดกลางยางพารา และหามาตรการพยุงราคายางไม่ให้ตกต่ำ และแทรกแซงตลาดยางพาราและควรมีการศึกษาอบรมเกษตรกรเรื่องการปลูกยางพาราอย่างทั่วถึง จัดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ ดูแลรักษาสวนยาง และส่งเสริมอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรสวนยางเพื่อให้เกิดรายได้ อย่างต่อเนื่องตลอดไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: จังหวัดอุดรธานี
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การศึกษาสภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เริ่มเปิดกรีด จังหวัดอุดรธานี
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรที่เปิดแล้วกรีดในจังหวัดศรีสะเกษ สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกร อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตแตงกวาของเกษตรกรในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตผักคะน้าของเกษตรกรอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในอำเภอโนนสะอาดจังหวัดอุดรธานี ปีการผลิต 2546/2547 สภาพการผลิตยางพาราของเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดกรีดยางแล้วในปี 2540 สภาพการผลิตและการตลาดยางพาราของเกษตรกรตำบลบ้านกลาง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ สภาพการผลิตและการตลาดมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก