สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้จากแป้งกล้วย
อมรรัตน์ มุขประเสริฐ - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้จากแป้งกล้วย
ชื่อเรื่อง (EN): Development of biodegradable food package from banana flour
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อมรรัตน์ มุขประเสริฐ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ผลการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของแป้งกล้วยน้ำว้าและแป้งกล้วยหักมุกพบว่า แป้ง กล้วยน้ำว้ามีปริมาณโปรตีนและเถ้าสูงกว่าแป้งกล้วยหักมุก แต่มีปริมาณอะไมโลสต่ำกว่า แป้งทั้ง สองชนิดมีปริมาณขมันไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p20.05) สมบัติทางกายภาพ ด้านการเปลี่ยนแปลงความหนืด พบว่า เป้งกล้วยน้ำว้ามีค่อุณหภูมิเริ่มเกิดความหนืด ความหนืด สูงสุด และความหนืดลดลงต่ำกว่าแป้งกล้วยหักมุก แต่ระยะเวลาเกิดความหนืดสูงสุด เชตแบค และความหนืดสุดท้ายของแป้งทั้งสองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P20.05) ผลการศึกษาความเข้มข้นของแป้งกล้วย 2 ระดับ คือ ร้อยละ 4 และ 5 และปริมาณกลีเซอ- รอลซึ่งใช้เป็นพลาสติซเซอร์ 3 ระดับ คือ ร้อยละ 20 30 และ 40 ต่อคุณภาพของแผ่นฟิล์มจากแป้ง กล้วย พบว่า ระดับความเข้มข้นของแปงกล้วยมีผลต่อค่าความสว่างและสีของฟิล์มซึ่งวัดเป็นค่า L a* b* C* h" การต้านทานแรงดึง ร้อยละการยืดตัว แรงดึงสูงสุดของตะเข็บ และอัตราการซึมผ่าน ของไอน้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และะดับปริมาณพลาสติไซเซอร์มีผลต่อค่ L" การ ต้านทานแรงดึง ร้อยละการยืดตัวแรงดึงสูงสุดของตะเข็บและความสามารถในการซึมผ่านของไอ น้ำ แต่ไม่มีผลต่อค่า b* C"* และ " การพัฒนาสมบัติทางกลของแผ่นฟิล์มโดยการเติม สารละลายเจลาตินในอัตราส่วนร้อยละ 0.5 1.0 และ 1.5 พบว่า ค่าการต้านทานแรงดึง ร้อยละ การยึดตัว และความสามารถในการซึมผ่านของไอน้ำของแผ่นฟิล์มทั้ง 2 ชนิด มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เติมเจลาติน โดยปริมาณเจลาตินที่เหมาะสมสำหรับแปงกล้วยน้ำว้าและแป้งกล้วยหักมุก คือ ร้อย ละ 1.0 และ 1.5 ตามลำดับ จากการเปรียบเทียบ พบว่า แผ่นฟิล์มจากแป้งกล้วยน้ำว้ามีสมบัติทาง กลด้านการต้านทานแรงดึง ร้อยละการยืดตัวและแรงดึงสูงสุดของตะเข็บดีกว่าแผ่นฟิล์มจากแป้ง กล้วยหักมุก แต่ความสามารถในการซึมผ่านของไอน้ำจากแผ่นฟิล์มทั้งสองไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาการใช้ประโยชน์ของแผ่นฟิล์มจากแป้งกล้วยโดยนำมาขึ้นรูปเป็นถุงสำหรับบรรจุพริกปัน น้ำมันพืช และทุเรียนกวน พบว่า มีคุณสมบัติในการปกป้องอาหารที่มีความชื้นต่ำได้ดี แต่ค่าเปอร์ ออกไซด์สำหรับอาหารที่มีไขมันสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแต่ยังคงต่ำกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนดและสีของตัวอย่างมีแนวโน้มเข้มขึ้น การเปรียบเทียบคุณคุณภาพของทุเรียนกวนในบรรจุภัณฑ์แป้ง กล้วยน้ำว้าและพลาสติกโพลิโพรพีลีน พบว่า ค่า Water activity และค่าเปอร์ออกไซด์ของตัวอย่าง ในบรรจุภัณฑ์แป้งกล้วยมีแนวโน้มสูงกว่าตัวอย่างในบรจุภัณฑ์พลาสติกโพลิโพรพิลีน แต่ยังมีค่า ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนด การเปลี่ยนแปลงสีของตัวอย่างในบรรจุภัณฑ์ทั้งสองมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อมีอายุการเก็บนานขึ้น
บทคัดย่อ (EN): Objects of this study were to develop a biodegradable package from banana flours. Banana flours were prepared from 2 different varieties; Kluai Namwa (Pisang Awak) and Kluai Muk (Silver Bluggoe). Results showed that flour from Kluai Namwa had higher protein and ash contents than flour from Kluai Muk. In contrast, flour from Kluai Namwa had lower amylose content than that from Kluai Muk. There was no significant in fat content between these flours. Pasting temperature, peak viscosity and breakdown viscosity of Kluai Namwa flour were lower than those of Kluai Muk flour. Factors affecting qualities of film from banana flours included flour glycerol concentrations. Results showed that both flour and glycerol concentrations affected mechanical strength such as tensile strength, elongation, seal strength and water vapor transmission rate (WVTR) of banana films but glycerol concentration did not have a significant effect on their color except for their L* values. The addition of gelatin used as an additive at 0.5, 1.0, and 1.5% resulted in films with higher qualities especially their mechanical properties. The most suitable level of gelatin for Kluai Namwa and Kluai Muk flours were 1.0 and 0.5%, respectively. However, film from Kluai Namwa flourshowed better mechanical properties than that from Kluai Muk. The studies on banana film utilization showed that it could be used as a biodegradable package for dried food such as dried chili. However, a limited shelf life may be needed for keeping an intermediate moisture food with high fat content such as durian paste or high fat content or vegetable. When compared with polypropylene bag, water activity and peroxide values of durian paste packed in banana film were higher. However, changes in color of durian paste packed in both films were observed when their shelf life increased.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2552-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2553-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารย่อยสลายได้จากแป้งกล้วย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
30 กันยายน 2553
การพัฒนาบรรจุภัณฑ์อาหารที่ย่อยสลายได้จากใยไผ่ การพัฒนาแป้งกล้วยน้ำว้าดิบ ไอเดียบรรจุภัณฑ์อาหาร ทางเลือกเพื่อสิ่งแวดล้อม อาหารกล้วย… กล้วย การพัฒนาบรรจุภัณฑ์โฟมแป้งจากแป้งมันสำปะหลังผสมไฟเบอร์และไคโตแซน (ระยะที่ 1) การพัฒนาภาชนะบรรจุอาหารย่อยสลายได้ทางชีวภาพจากวัตถุดิบธรรมชาติ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งกล้วย เครื่องบดแป้งกล้วย การพัฒนาวัสดุผสมระหว่างแป้ง-ขี้เลื่อย-เยื่อกระดาษสำหรับผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของเล่นเด็กจากไม้ยางพารา การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก