สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของสาร paclobutazol ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตมันสำปะหลัง
อรุณี พรมคำบุตร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของสาร paclobutazol ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตมันสำปะหลัง
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of paclobutazol on growth and yield of cassava (Manihot esculenta Crantz)
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรุณี พรมคำบุตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Arunee Promkhambut
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโต และผลผลิตของมันสำปะหลังเมื่อได้รับสาร paclobuta-zol (PBZ) ทำการทดลองในกระถางวางแผนทดลองแบบ Complete Randomized Design จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วย 3 กรรมวิธีคือ กรรมวิธีควบคุม (Control) ใส่ปุ๋ยเกรด 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่(T1) การพ่นสาร PBZ (15%) ทางใบที่อัตรา 1000 ppm เมื่อ 30 และ 90 วันหลังปลูก (T2) และกรรมวิธีT1+T2 (T3) ผลการศึกษาพบว่าการพ่นสาร PBZ อย่างเดียว มีแนวโน้มทำให้น้ำหนักหัวสดเพิ่มขึ้น 49.4, 38.9, 26.1 และ 26.9 เปอร์เซ็นต์ที่อายุ 90, 120, 150 และ 180วันหลังปลูก ตามลำดับ จากกรรมวิธีใส่ปุ๋ยอย่างเดียว รวมทั้งน้ำหนักหัวแห้งและปริมาณแป้งในหัวมันสำปะหลัง โดยมีผลทำให้ความสูงต้นเพิ่มขึ้น แต่ทำให้จำนวนกิ่งต่อต้น จำนวนใบต่อต้น และพื้นที่ใบลดลง แต่มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนหัวมันสำปะหลังที่ระยะการสะสมน้ำหนักหัวช่วงแรกและเพิ่มขนาดหัวมันสำปะหลัง เนื่องจากการกระตุ้นให้มีการ partitioning น้ำหนักแห้งจากส่วนเหนือดินคือลำต้นและใบไปยังหัวได้มากกว่ากรรมวิธีอื่น ดังนั้น การพ่น PBZ อาจเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพแป้งในหัวมันสำปะหลัง อย่างไรก็ตาม จำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาในสภาพแปลง รวมทั้งศึกษาผลกระทบจากสารตกค้างในผลผลิต และในสภาพแวดล้อม ก่อนนำไปแนะนำให้กับเกษตรกร
บทคัดย่อ (EN): The objectives of this study were to investigate growth and yield responses of cassava subjected topaclobutazol (PBZ). A pot experiment arranged in Complete Randomized Design with 3 replications was used.Treatments consisted of; control: chemical fertilizer of 15-15-15 of N-P2O5-K2O at the rate of 50 kg/rai (T1), foliarapplication of PBZ at 1000 ppm at 30 and 90 days after planting (DAP) (T2) and T1+T2 (T3). The results showedthat foliar application of PBZ alone tended to increase tuber fresh weight of cassava to 49.4, 38.9, 26.1 and 26.9 %at 90, 120, 150 and 180 DAP, respectively compared with T1. It also tended to increase tuber dry weight and starchcontent. Application of PBZ alone increased plant height but reduced number of branch/plant, leaf number/plantand leaf area. However, it was found that PBZ had a tendency to increase root number at early root expansion stageand increased root diameter. This might be due to the promotion of dry matter partitioning from aboveground parts,stem and leaf, to tuber of PBZ treated plants. Therefore, PBZ is an alternative for improving cassava yield and qual-ity. Nevertheless, field experiments as well as residue assessment in products and environment need to be examinedbefore recommending to farmers.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P38.pdf&id=1289&keeptrack=15
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของสาร paclobutazol ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตมันสำปะหลัง
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
อาหารจากมันสำปะหลัง บทบาทของสารควบคุมการเจริญเติบโตพืชกับการปรับปรุงพันธุ์ การศึกษาอิทธิพลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการเพิ่มการผลิต ribosome-inactivating protein ของมะระขี้นก (Momordica charantia Linn.) จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการล้ม และผลผลิตของข้าวนาหว่านน้ำตมที่อัตราเมล็ดพันธุ์ต่าง ๆ การศึกษาการเพิ่มผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยการใช้ปุ๋ยเคมี และสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช การเพิ่มคุณภาพของมะเขือเทศจากการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช การศึกษาอิทธิพลของสารควบคุมการเจริญพืช (IAA, GA) ต่อการเจริญเติบโตของเปลือกงอกใหม่ในสวนยางที่มีสภาพต่างๆกัน ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชต่อการออกดอกนอกฤดู และคุณภาพผลของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง อิทธิพลของสารที่สกัดจากผักปอดนาต่อการเจริญเติบโตของวัชพืช การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก