สืบค้นงานวิจัย
ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี
ชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี
ชื่อเรื่อง (EN): Effect of protein levels in diet on growth performance of Chee chickens
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชัยพฤกษ์ หงษ์ลัดดาพร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Chaiyapruek Hongladdaporn
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถะการเจริญเติบโตของไก่ซี ใช้ไก่ชี ท่าพระ อายุ 1 วัน จำนวน 150 ตัว สุ่มไก่ออกเป็น 5 กลุ่ม ตามปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา คือ ระดับโปรตีนในอาหาร 5 ระดับ : ช่วงอายุ 0 ถึง 4 สัปดาห์ (ร้อยละ 15, 17, 19, 21, และ 23), ช่วงอายุ 4 ถึง 8 สัปดาห์ (ร้อยละ 13, 15, 17, 19, และ 21) และช่วงอายุ 8 ถึง 12 สัปดาห์ (ร้อยละ 11, 13, 15, 17, และ 19) กลุ่มละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 10 ตัว ให้ไก่ชีได้รับอาหาร และ น้ำดื่มอย่างเต็มที่ จนกระทั่งอายุ 12 สัปดาห์ จากผลการศึกษา พบว่าในช่วงอายุ 0 ถึง 4 สัปดาห์ ไก่ซีที่ได้รับอาหารระดับ โปรตีนร้อยละ 23 และ 21 มีอัตราการเจริญเติบสูงกว่าไก่ที่ได้รับอาหารระดับโปตีนร้อยละ 19, 17 และ 15 (7.52, 7.49, 5.96, 5.17 และ 4.45 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ) (P < 0.01) ในช่วงอายุ 4 ถึง 8 สัปดาห์ไก่ซีที่ได้รับอาหารระดับโปรตีน ร้อยละ 21, 19 และ 17 มีอัตราการเจริญเติบสูงกว่าไก่ที่ได้รับอาหารระดับโปรตีนร้อยละ 15 และ 13 (15.17, 15.37, 14.75, 12.49 และ 12.04 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ) (P < 0.01) และพบว่าในช่วงอายุ 8 ถึง 12 สัปดาห์ ไก่ซีที่ได้รับอาหาร ระดับโปรตีนร้อยละ 19, 17,และ 15 มีอัตราการเจริญเติบสูงกว่าไก่ที่ได้รับอาหารระดับโปรตีนร้อยละ 13 และ 11 (17. 11, 17.54, 17.33 , 16.07 และ 15.21 กรัมต่อตัวต่อวัน ตามลำดับ) (P < 0.01) จากการศึกษาครั้งนี้ซื้ให้เห็นว่าระดับโปรตีนที่ เหมาะสมสำหรับไก่ชีในช่วงอายุ 0 ถึง 4, 4 ถึง 8 และ 8 ถึง 12 สัปดาห์ มีค่าเป็นร้อยละ 21 , 17 และ 15 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to determine the effect of protein levels in diet on growth performance of Chee chickens. Hundred and fifty of 1 day-old Chee chickens were randomly allocated to 5 groups (according to 5 difference protein levels in diet). 0 to 4 weeks of age (15, 17, 19, 21 and 23 %), 4 to 8 weeks of age (13, 15, 17, 19 and 21 %) and 8 to 12 weeks of age (11, 13, 15, 17 and 21 %) with 3 replications (10 chicks/rep.). Chickens received feed and water ad libitum. The results were shown that 0 to 4 weeks of age with 23 and 21% CP had higher average daily gain than these in 19, 17 and 15 % CP (7.52, 7.49, 5.96, 5.17 and 4.45 g/h/d, respectively) (P < 0.01). The chicken with 4 to 8 weeks of age, with 21, 19 and 17 % CP were higher average daily gain than 15 and 13 % CP (15.17, 15.37, 14.75, 12.49 and 12.04 g/h/d, respectively) (P < 0.01). 8 to 12 weeks of age. Moreover, chickens with fed with 19, 17 and 15 % CP were higher average daily gain than 13 and 11 % CP (17.11, 17.54, 17.33, 16.07 and 15.21 g/h/d, respectively) (P < 0.01). In conclusion, indicated that the proper CP for Chee chickens during 0 to 4, 4 to 8 and 8 to 12 weeks of age should be 21, 17 and 15 %, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=P17.pdf&id=1227&keeptrack=7
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ผลของระดับโปรตีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ผลของระดับเมทไธโอนีนในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่ชี ผลของระดับโปรตีนและพลังงานที่กินได้ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตในโคนมที่ได้รับต้นอ้อยตากแห้งเป็นอาหารหยาบหลัก ผลของอาหารไก่เนื้อและอาหารไก่ไข่ต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ของไก่พื้นเมืองไทย (ประดู่หางดำ ชั่วรุ่นที่ 5) ผลของปลายเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ผลของการใช้รำเดือยในอาหารต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของไก่เนื้อ ผลของระดับโปรตีนต่อการเจริญเติบโตของกั้งตั๊กแตน Harpiosquilla raphidea(Fabricius,1798) ผลของระดับไลซีนต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของนกกระทาญี่ปุ่นเพศผู้ ผลของโปรตีนที่กินได้ต่อศักยภาพในการเจริญเติบโตและความสามารถในการย่อยได้ของโภชนะในโคเนื้อลูกผสมบราห์มัน ผลของลิวซีนในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโต และการสะสมไขมันในซาก ผลของการใช้แหล่งโปรตีนจากไส้เดือนป่นต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตและคุณภาพซากของไก่เนื้อ

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก