สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาบางประการของปลาค้อลายถี่
สมชาติ ธรรมขันทา - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาบางประการของปลาค้อลายถี่
ชื่อเรื่อง (EN): Some Biological Aspects of Schistura poculi Smith, 1945.
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สมชาติ ธรรมขันทา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): SOMCHART THAMMAKHANTHA
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Aree Choncham
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาค้อลายถี่ Schistura poculi (Smith, 1945) ที่รวบรวม จากลำน้ำยาว อำเภอท่วังผา สำน้ำว้า อำเภอแม่จริม และลำน้ำสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 รวมจำนวน 12 ครั้งๆ ละ 30 ตัว จำแนกเป็นปลาเพศผู้ 176 ตัว เพศ เมีย 184 ตัว มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1.05 ปลาค้อลายถี่มีรูปร่างทั่วไปคล้ายปลาหมูแต่ไม่มี เขี้ยวใต้ตา ความยาวลำตัวเฉลี่ย 9.96+0.31 เชนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 0.91+0.06 กรัม ปลาเพศผู้มีขนาดเล็ก กว่าเพศมียเล็กน้อย มีสมการความสัมพันธ์ระหว่างความยาวและน้ำหนักตัวปลาแบบรวมเพศเท่ากับ LogW-2.870 l0gL +5.238 (R-0.438, p<0.05) ในปลาเพศเมียเท่ากับ logW=2.739 logL+5.235 (R-0.439, p<0.05) และในปลาเพศผู้เท่ากับ logW=3.006 l0gL+5.243 (R-0.434, p<0.05) ลำตัวมี สีน้ำตาลอ่อนอมเทา ครีบหลังใส ครีบหางมีสีแดง ขอบหางด้านบนและล่างเข้มกว่าส่วนอื่น มักอาศัยอยู่ รวมกันเป็นฝูงเล็กๆ บริเวณพื้นท้องน้ำ ในลำธารน้ำไหลที่มีพื้นเป็นทราย สำรวจพบได้ทุกฤดูกาล จากการ ตรวจสอบอาหารในกระเพาะอาหาร พบตัวอ่อนแมลงร้อยละ 46.0 หนอนร้อยละ 23.5 เศษพืชร้อยสะ 20.5 เศษดิน และอื่นๆ ร้อยละ 10.0 ไข่มีลักษณะกลม เป็นไข่จมติด สีเหลืองใส เส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย 1.34+0.03 มิลลิเมตร จำนวนไข่เฉลี่ย 894+79 ฟอง สมการความสัมพันธ์ระหว่างความดกไข่กับน้ำหนัก เท่ากับ เogF -838.2 logW+983.3 (R-0.833, p<0.05) และระหว่างความดกไข่กับความยาวเท่ากับ logF =2176 LogL -2633 (R=0.654, p<0.05) เมื่อยังไม่ถึงฤดูผสมพันธุ์จะไม่สามารถแยกความแตกต่าง ระหว่างเพศจากลักษณะภายนอกได้ แต่เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาเพศเมียจะมีท้องอูมเปงนิ่ม และผนังท้องบาง กว่าปลาเพศผู้ ฤดูกาลผสมพันธุ์วางไข่อยู่ในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน
บทคัดย่อ (EN): A study on some biological aspects of Schistura poculi (Smith, 1945) was collected from the Yao-river, Thawangpha district, the Wa-river, Maejarim district, and the Sa-river, Wiangsa district, Nan province. Were 12 time by 30 samples per time, during October 2010 to September 2011. They can be separate to 176 of male and 184 of female. Sex ratio of male and female was 1:1.05 in average. They has a body shape resembles of the Botia sp., but not have the canine under the eyes. The average of total length was 4.96+0.31 centimeters, and 0.91t0.06 grams by body weight. The male fish has a smaller than ferale. The length-weight relationship was logw=2.870 logL+5.238 (R=0.438, p<0.05) in unclassified sex, logW=2.739 logl +5.235 (R=0.439, p<0.05) in female and logW=3.006 logL +5.243 (R =0.434, p<0.05) in male. The body has clear brown to grey color. The dorsal fin is clear color, The caudal fin is red color, have a darker than other part on the edge. They have a live with the small group, on ground water creeks with the slowly of the water stream, on the ground with the sand. They can be survey on the year. The stornach contents composed of the larvae, worms, plants and other were 46.0, 23.5, 20.5 and 10.0 percentages, respectively. The eggs have a rounded shape, was clear yellow color, a diameter was 1.34+0.03 millimeters. The average of eggs fecundity was 894+79 eggs. The relationship of fecundity to weight was logF=838.2 logW+983.3 (R=0.833, p<0.05) and logF=2176 logL-2633 (R-0.654, p<0.05), of fecundity to length. Out of the fertilization periods, can be not separate the gender, and in the fertilization periods, the fernale have a swell stomach and softly. The fertilization periods are during April to June.
ชื่อแหล่งทุน: เงินงบประมาณแผ่นดิน
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 123,120.00
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-04-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2554
ประเภทชิ้นงาน: การวิจัยพื้นฐาน
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาบางประการของปลาค้อลายถี่
กรมประมง
30 เมษายน 2555
กรมประมง
การศึกษาการเลี้ยงปลาค้อลายถี่ (เปลี่ยนแปลงชื่อเรื่องเป็น การศึกษาการเลี้ยงปลาค้อลายถี่เพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์) การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาเวียนในแม่น้ำว้า จังหวัดน่าน การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาแมนดาริน, Synchiropus splendidus(Herre, 1927) ในที่กักขัง 2558A17002017 การศึกษาชีววิทยาบางประการของปลาเวียนในแม่น้ำว้า จังหวัดน่าน องค์ประกอบของชนิด และชีววิทยาบางประการของพรรณปลาในแม่น้ำจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี การศึกษาการเพาะพันธุ์และคัพภะวิทยาของปลาค้อลายถี่ การศึกษาชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยในกว๊านพะเยา ชลชีววิทยาบางประการและทรัพยากรประมงในแม่น้ำปัตตานี วิจัยและศึกษาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงปลาค้อลายถี่ ความหลากหลายและชีววิทยาบางประการของกุ้งตะกาด Metapenaeus spp. ในฝั่งอันดามัน จังหวัดตรัง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก