สืบค้นงานวิจัย
การประหยัดพลังงานในการอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เกษตรโดยเครื่องอบแห้งแบบไหลผ่าน : รายงานการวิจัย
วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อเรื่อง: การประหยัดพลังงานในการอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เกษตรโดยเครื่องอบแห้งแบบไหลผ่าน : รายงานการวิจัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: วิวัฒน์ ตัณฑะพานิชกุล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการอบแห้งชิ้นมันสำปะหลัง (ขนาด 3 มม. X 5 มม. X 5 มม.) ทั้งชั้นบาง (5 ซม.) และชั้นหนา (40 ซม.) ในเครื่องอบแห้งแบบไหลผ่านเพื่อดูอิทธิพลที่ความเร็วลมและอุณหภูมิลมร้อนมีต่อเส้นลักษณะเฉพาะของการอบแห้งและพัฒนา แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เพื่อใช้ในการคำนวณการกระจายความชื้นของชั้นวัสดุและเวลาที่ต้องใช้ในการอบแห้ง จากการทดลองอบแห้งชั้นมันสำปะหลัง 3 กรณีคือ กรณีอบแห้งแบบปกติ (ไม่มีการผสมวัสดุหรือสลับทิศทางลมร้อนเป็นครั้งคราว) กรณีผสมวัสดุเป็นครั้งคราวและกรณีสลับทิศทางลมร้อนเป็นครั้งคราวได้พบว่าแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สามารถทำนายเวลาที่ต้องใช้ในการอบแห้งได้ใกล้เคียงกัน ผลการทดลองโดยมีความคลาดเคลื่อนสูงสุดไม่เกิน 5.3%, 3.2% และ 7.7% สำหรับการอบแห้งแบบปกติ แบบผสมวัสดุเป็นครั้งคราว (ทุกๆ 150 นาที) และแบบสลับทิศทางลมร้อนเป็นครั้งคราว (ทุกๆ 30 นาที) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบเวลาที่ต้องใช้ในการอบแห้งพบว่า การอบแห้งโดยผสมวัสดุเป็นครั้งคราวจะใช้เวลาในการอบแห้งน้อยกว่าหรือเท่ากับการอบแห้งแบบปกติเสมอ (น้อยกว่าถึง 14.8%) ส่วนการอบแห้งโดยสลับทิศทางลมร้อนเป็นครั้งคราวแทบไม่มีผลต่อการประหยัดเวลาในการอบแห้งและในบางเงื่อนไขอาจเสียเวลามากกว่าการอบแห้งแบบปกติ ในกรณีการอบแห้งโดยผสมวัสดุเป็นครั้งคราว ช่วงห่างของเวลา theta[subscript m] (ช่วงเวลาก่อนการผสมวัสดุแต่ละครั้ง) ที่เหมาะสมที่สุดในการลดเวลาอบแห้งก็คือค่า theta[subscript m] ที่สามารถหารเวลา theta[subscript f] (เวลาที่ต้องใช้เพื่อให้ความชื้นเฉลี่ยสุดท้ายของชั้นวัสดุเท่ากับค่าที่ต้องการ) ของกรณีการอบแห้งแบบปกติได้ลงตัวหรือเกือบลงตัวที่สุด
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2528
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2528
เอกสารแนบ: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2227
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การประหยัดพลังงานในการอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เกษตรโดยเครื่องอบแห้งแบบไหลผ่าน : รายงานการวิจัย
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2528
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาโครงร่างการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน : เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการอบแห้งเห็ดโคน การวิจัยและพัฒนาเครื่องต้นแบบเครื่องระเหยสารภายใต้ระบบสุญญากาศ และเครื่องอบแห้งด้วยพลังงานไมโครเวฟสำหรับการอบแห้งและสกัดสารจากพืชสมุนไพรบนพื้นที่สูง การประยุกต์ใช้ก๊าซชีวภาพร่วมกับพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับเครื่องอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ความดันต่ำสำหรับผลิตอาหารเพื่อเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการวิจัยทดสอบและพัฒนาเครื่องอบแห้งผลไม้สำหรับอบเนื้อลำไย โครงการวิจัยพัฒนาเครื่องอบแห้งลำไย การศึกษาเบื้องต้นการอบแห้งเมล็ดข้าวโพดด้วยไมโครเวฟ โครงการวิจัยและพัฒนาโรงอบแห้งพลังงานร่วมสำหรับการผลิตลำไยอบแห้งสีทอง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก