สืบค้นงานวิจัย
อิทธิพลของอุณหภูมิและระยะเวลาการเก็บรักษาที่มีผลต่อความคงทนของน้ำมันพืช
ไพจิตร จันทรวงศ์ - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลของอุณหภูมิและระยะเวลาการเก็บรักษาที่มีผลต่อความคงทนของน้ำมันพืช
ชื่อเรื่อง (EN): Influence of Temperature and Storage Time on Vegetable Oil Stability
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไพจิตร จันทรวงศ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Paijit Chantrawong
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นน้ำมันพืชชนิดที่ประชาชนนิยมใช้ประกอบอาหารอย่างแพร่หลาย ได้นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบความคงทนต่อการหืนของน้ำมัน โดยแยกเก็บน้ำมันที่อุณหภูมิต่าง ๆ คือ ในตู้เย็นอุณหภูมิ 5 C ห้องปรับอากาศอุณหภูมิ 24-27 C , ห้องธรรมดาอุณหภูมิ 28-35 C และตู้อบอุณหภูมิ 60-70 C แล้วนำมาวิเคราะห์ค่าเปอร์ออกไซด์เพื่อวัดความหืนของน้ำมัน พบว่าน้ำมันพืชผสมที่ผลิตจากถั่วเหลือง : รำข้าว : ฝ้าย ในอัตราส่วน 2:2:1 มีความคงทนดีที่สุด ไม่ว่าจะเก็บที่อุณหภูมิใด และน้ำมันพืชที่เก็บทุกสภาพไม่ควรเก็บไว้นานกว่า 2 สัปดาห์ ยกเว้นในตู้เย็นอุณหภูมิ 5 C เมื่อทดสอบด้วยวิธี Active Oxygen Method โดยการผ่านอากาศแห้งและสะอาดลงในน้ำมันอุณหภูมิ 97.8 C แล้วนำมาทดสอบค่าเปอร์ออกไซด์ทุก ๆ ชั่วโมง พบว่าน้ำมันพืชผสมที่ผิตจาก ถั่วเหลือง : รำข้าว : ฝ้าย ในอัตราส่วน 2:2:1 ใช้เวลาพ่นอากาศนานถึง 4 ชั่วโมง จึงจะมีค่าเปอร์ออกไซด์สูงเกิน 10 meq/1000 กรัมน้ำมัน ซึ่งถือว่าเกินมาตรฐานของ FAO2WHO (codex) ส่วนน้ำมันที่ผลิตจากรำข้าวหรือถั่วเหลือง หรือน้ำมันผสมที่ผลิตจากถั่วเหลือง : รำข้าว : ฝ่าย : นุ่น ในอัตราส่วน 1:1:1:1 จะให้ค่าเปอร์ออกไซด์เกิน 10 meq/1000 กรัมน้ำมัน เมื่อผ่านอากาศที่แห้งและสะอาดไปแล้วเพียง 1 ชั่วโมง
บทคัดย่อ (EN): The ranciity properties of four well-known brand name vegetable oils in Thailand were studied. Samples of the oils were stored under four temperature regimes, 5 C, 24-27 C , 28 - 35 C and 60 - 70 C. The peroxide value of the stored samples was determined every four weeks during storage. The oil based on a mixture of oils from soybean, rice bran and cotton in the ratio 2:2:1 by volume was the most stable under all four storage temperature regimes. Using the Active Oxygen Method, this oil mixture took four hours to reach a peroxide value of at 10 least (based on the Codex standard) compared with only one hour for the other three vegetable oils tested.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2527
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2527
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
อิทธิพลของอุณหภูมิและระยะเวลาการเก็บรักษาที่มีผลต่อความคงทนของน้ำมันพืช
กรมวิชาการเกษตร
2527
เอกสารแนบ 1
อิทธิพลของระดับอุณหภูมิและระยะเวลาในการลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ต่อการเปลี่ยนแปลงคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนในขณะเก็บรักษา และคุณภาพหลังการเก็บรักษากล้วยหอมทอง ผลของอุณหภูมิและระยะเวลาการเก็บรักษาต่อคุณภาพดอกของว่านสี่ทิศพันธุ์ซูซาน ผลของระดับอุณหภูมิในการอบต่อระยะเวลาการแห้งและคุณภาพของพืชอาหารสัตว์ การศึกษาผลของระดับของอุณหภูมิและชนิดของสารช่วยทำแห้งในการทำแห้งแบบพ่นฝอยในการผลิตสีผงจากใบหูกวาง และศึกษาระยะเวลาในเก็บรักษาสีผงที่ระยะเวลาต่างกัน ผลของอุณหภูมิและเวลาในการเก็บรักษาต่อคุณภาพของหัวแก่นตะวันสายพันธุ์ต่างๆ การเก็บรักษาผลส้มสายน้ำผึ้งที่อุณหภูมิต่างๆ ผลของอุณหภูมิและภาชนะบรรจุต่ออายุการเก็บรักษามะพร้าวน้ำหอม เพื่อการส่งออก ผลของปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาต่อการเจริญเติบโตของต้นมะเกี๋ยงที่ปลูกในในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมหาวิทยาลัยพะเยาจังหวัดพะเยาและผลของแคลเซียมคลอไรด์ร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำต ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และพืช ผลของระยะเวลาการลดอุณหภูมิ ระดับอุณหภูมิ และภาชนะบรรจุ ต่อคุณภาพของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก