สืบค้นงานวิจัย
โครงการขยายผลเพื่อสำรวจและทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา
รศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อเรื่อง: โครงการขยายผลเพื่อสำรวจและทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา
ชื่อเรื่อง (EN): Extending Project for Marketing Survey and Trial of Trichoderma Bioproduct
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: รศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ:           สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ “ขยายผลเพื่อสำรวจและทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา” แก่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย รศ.ดร.จิระเดช แจ่มสว่าง เป็นหัวหน้าโครงการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ผลิตชีวภัณฑ์สำหรับการทดสอบตลาด 2) ทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาที่ใช้ลดโรคข้าวที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคเมล็ดด่างและโรคใบจุดสีน้ำตาล และช่วยเพิ่มผลผลิตของข้าว ลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ภายใต้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานฯ และบริษัทเอกชน หน่วยงานภาครัฐโดยการจำหน่ายชีวภัณฑ์ทดลองตลาด และ 3) ติดตามประเมินผลการยอมรับและความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ควบคุมโรคข้าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อใช้ทดแทนหรือเปรียบเทียบกับการใช้สารเคมีควบคุมเชื้อรา           จากการศึกษาวิจัยการทดสอบประสิทธิภาพชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาในนาข้าวของทุกกลุ่มเกษตรกร พบว่าข้าวเปลือกที่ได้ มีเปอร์เซ็นต์เมล็ดดี 74.28-93.06 เปอร์เซ็นต์ (เมล็ดดีเพิ่มขึ้น 4.24-51.89 เปอร์เซ็นต์) เมล็ดด่างลดลง 15.92-84.99 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดลีบลดลง 41.41-70.32 เปอร์เซ็นต์ ขณะเดียวกัน การใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาช่วยให้น้ำหนัก 1,000 เมล็ดของเฉพาะเมล็ดดี และเมล็ดดี-เมล็ดด่างรวมกัน เพิ่มขึ้น 0.2-10.01 เปอร์เซ็นต์ และ 0.77-10.59 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในส่วนของน้ำหนักผลผลิตต่อไร่ พบว่า กรรมวิธีที่ใช้ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดเม็ดในข้าวพันธุ์ กข31 มีค่าผลผลิตต่อไร่ 573.62-784.46 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 12.43-72.90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุม (419.88-661.60 กิโลกรัม/ไร่) ข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 มีผลผลิตต่อไร่ 595.23-699.68 กิโลกรัม/ไร่ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 23.02-78.84 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม ( 400.17-483.93 กิโลกรัม/ไร่) ข้าวพันธุ์ กข29 ให้ผลผลิต 668.02 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตเพิ่มขึ้น 33.39 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่ให้ผลผลิต 501.20 กิโลกรัม/ไร่ ข้าวพันธุ์ กข51 ให้ผลผลิต 675.50 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตเพิ่มขึ้น 36.53 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่ให้ผลผลิต 494.76 กิโลกรัม/ไร่ ในขณะที่ข้าวพันธุ์ราชบุรี จะให้ผลผลิต 794.92 กิโลกรัม/ไร่ ผลผลิตเพิ่มขึ้น 15.67 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกรรมวิธีควบคุมที่ให้ผลผลิต 672.81 กิโลกรัม/ไร่           ประโยชน์ที่จะได้รับของโครงการนี้ คือ ได้ชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์ชนิดเม็ด ด้วยวิธีที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบหาง่ายในชุมชน มีประสิทธิผลในการควบคุมโรคสูง  ราคาไม่แพง มีอายุการเก็บรักษา (Shelf life) ยาวนาน มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม 
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-09-11
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556-09-10
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2555
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการขยายผลเพื่อสำรวจและทดสอบตลาดของผลิตภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มา
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
10 กันยายน 2556
การพัฒนาเชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์ที่ช่วยเพิ่มผลผลิตและลดโรคข้าวเป็นชีวภัณฑ์เชิงพาณิชย์ ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์สายพันธุ์ 01-52 ชนิดผงแห้งในการเพิ่มผลผลิต และลดโรคเมล็ดด่างของข้าวในสภาพแปลงนา ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาปฏิปักษ์สายพันธุ์ 01-52 ชนิดเม็ด ในการเพิ่มผลผลิต และลดโรคข้าวพันธุ์ชัยนาท 1 ในแปลงนาที่ไม่ใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืช 2554A17002253 ศึกษาความอยู่รอดของเชื้อราไตรโคเดอร์มาและเชื้อราไฟท๊อฟธอร่าในสภาพสวนส้มที่มีการจัดการสวน 3 รูปแบบ การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคพืชผักของเกษตรกร จังหวัดขอนแก่น ชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มา 2557A17002032 การควบคุมโรคไหม้ของข้าวโดยชีววิธีด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรคโคนเน่ามะเขือเทศซึ่งเกิดจากเชื้อราเมล็ดผักกาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนในปี 2540-2541 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ราไตรโคเดอร์มาและปุ๋ยชีวภาพสำหรับควบคุมโรคราสนิมและผลเน่า เพื่อเพิ่มผลผลิตกาแฟอราบิก้า จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าทุเรียนในภาคใต้

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก