สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาผลการใช้สารริดโดมิลในการป้องกันกำจัดโรคเส้นดำของยางพาราในสวนยางเอกชน
สุรพงษ์ โพธิวัตถุธรรม - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาผลการใช้สารริดโดมิลในการป้องกันกำจัดโรคเส้นดำของยางพาราในสวนยางเอกชน
ชื่อเรื่อง (EN): A Study on Result of Using Ridomil to Prevent Black Strip in Private Rubber Smallholders
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุรพงษ์ โพธิวัตถุธรรม
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: เพื่อศึกษาผลการใช้สารริดโดมิลในการป้องกันกำจัดโรคเส้นดำของยางพารา ในสวนยางเอกชน ได้ดำเนินการทดลองในปี 2534 ที่จังหวัดสงขลา ใช้พื้นที่ทดลองทั้งหมด 20 ไร่ เป็นยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 อายุประมาณ 15, 12 , 10, และ 8 ปี แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 วิธีการ วิธีการแรกมีการใช้สารเคมีริดโดมิล 25 จำนวน 20 กรัม ผสมน้ำ 1 ลิตร ป้องกันกำจัดโรคเส้นดำ โดยหาสัปดาห์ละครั้ง ส่วนวิธีที่ 2 ไม่มีการใช้สารเคมีริดโดมิล 25 ทาป้องกันโรคเส้นดำก่อนทำการทดลอง ทำการประเมินผลความรุนแรงของโรคเส้นดำ หลังจากนั้นใช้สารเคมีริดโดมิล 25 ฉีดพ่นหน้ายางสัปดาห์ละครั้ง รวมทั้งหมด 10 ไร่ ทำการประเมินผลความรุนแรงของโรคเส้นดำเดือนละครั้ง และเก็บผลผลิตในรูปยางแผ่นดิบ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เดือนละ 8 ครั้ง ผลการทดลองพบว่า ในช่วงเดือนแรกของการใช้สารเคมีริดโดมิล 25 จำช่วยได้เพียงระงับการลุกลามของอาการโรคเส้นดำมิให้ขยายตัวกว้างขวางออกไปจากรอยเดิม และในเดือนต่อไปภายหลังที่ได้ใช้สารเคมีริดโดมิลแล้ว จะทำให้อาการรุนแรงของโรคลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากสารเคมีริดโดมิลจะช่วยป้องกันหน้ากรีดยางบริเวณรอยกรีดใหม่ไม่ให้เป็นโรคได้ สำหรับค่าใช้จ่ายในการใช้สารเคมีริดโดมิล 25 จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของต้นยางที่เป็นโรค สำหรับผลผลิตที่เก็บในรูปยางแผ่นดิบจากการใช้สารเคมีริดโดมิลป้องกันโรคเส้นดำกับไม่ใช้สารเคมีริดโดมิล ไม่แตกต่างกันเมื่อวิเคราะห์โดยใช้ t – test แบบ pair comparistion
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาผลการใช้สารริดโดมิลในการป้องกันกำจัดโรคเส้นดำของยางพาราในสวนยางเอกชน
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน การควบคุมโรคเส้นดำของยางพาราโดยใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มา การใช้สารเคมีกำจัดหญ้าคาในสวนยาง การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดอื่น ๆ ในสวนยาง ประสิทธิภาพของสารเคมีบางชนิดที่ใช้ป้องกันกำจัดโรคเส้นดำและโรคเปลือกเน่าของยางพารา ในพื้นที่ปลูกยางภาคใต้ตอนบน สำรวจการเลี้ยงสัตว์ในสวนยางภาคใต้ การศึกษาสภาพการบำรุงรักษาสวนยางปลูกใหม่ในท้องที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก