สืบค้นงานวิจัย
การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2555
ดารณี ชนะชนม์ - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ชื่อเรื่อง: การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2555
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดารณี ชนะชนม์
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2555 มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน และจัดทำตัวชี้วัดตามคำรับรองให้บรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการของ กลุ่มภารกิจกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2555 การติดตามประเมินผลครั้งนี้ เป็นการสำรวจโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างจากประชากรเป้าหมาย คือ เกษตรกร ผู้ได้รับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.4-01) ตั้ฐแต่ ปี พ.ศ. 2518-2554 จำนวน 2.1 ล้านราย ในพื้นที่ 67 จังหวัด กำหนดตัวอย่าง 15 จังหวัด 1,600 ราย โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling ได้แก่ กำหนดจำนวนจังหวัดแต่ละภาคตามสัดส่วนจำนวน จังหวัดทั้งหมดในภาค และกำหนดจำนวนตัวอย่างแต่ละจังหวัดตามสัดส่วนประชากรจังหวัด ได้จังหวัดภาคเหนือ 4 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ภาคกลาง 3 จังหวัด และภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน อุตรดิตถ์ บึงกาฬ มุกดาหาร ศรีสะเกษ สกลนคร อุดรธานี จันทบุรี ชัยนาท ลพบุรี ชุมพร ตรัง และสตูล สุ่มอำเภอในจังหวัดที่ตกเป็นตัวอย่าง จังหวัดละ 2 อำเภอ สุมตำบลในอำเภอที่ตกเป็นตัวอย่าง อำเภอละ 1 ตำบล สุ่มหมู่บ้าน ในตำบลที่ตกเป็นตัวอย่าง ตำบลละ 1 หมู่บ้าน และสุ่มเกษตรกรในหมู่บ้าน ที่ตกเป็นตัวอย่างให้จำนวนเกษตรกรตัวอย่างในหมู่บ้านตามสัดส่วนประชากรหมู่บ้านกับจำนวนเกษตรกรตัวอย่าง ในจังหวัด ใช้วิธีสุ่มแบบระบบ (Systematic random Sampling ได้ตัวอย่าง 2,170 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล ในพื้นที่ เดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมิถุนายน เป็นเวลา 53 วัน งบประมาณ 251,952 บาท เครื่องมือที่ใช้ ในการติดตามประเมินผล คือ แบบสัมภาษณ์ ในประเด็น การใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื้อที่ที่ใช้ประโยชน์ สภาพผลผลิต ทางการเกษตรของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน การนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของในการติดตามประเมินผล คือ แบบสัมภาษณ์ ในประเด็น การใช้ประโยชน์ที่ดิน เนื้อที่ที่ใช้ประโยชน์ สภาพผลผลิต ทางการเกษตรของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน การนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของ เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน และความพึงพอใจของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินที่ได้รับการจัดที่ดิน ผลการศึกษา 1.1 ข้อมูลทั่วไป พบว่า เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 2,17(ราย เป็นเพศชายและหญิง ร้อยละ 50.37 และร้อยละ 49.63 ตามลำดับ เกษตรกรร้อยละ 55 มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป อายุเฉลี่ยของเกษตรกร ในเขตปฏิรูปที่ดินคือ 52 ปี การศึกษาของเกษตรกรอยู่ในระดับประถมศึกษาร้อยละ 81 เกษตรกรร้อยละ 48 มีสมาชิก 3 คน ถึง 4 คน 1.2 การใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พบว่า กลุ่มเกษตรกรที่ศึกษา จำนวน 70 ราย มีการใช้ประโยชน์ในที่ดิน จำนวน 2,053 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.61 ของเกษตรกรทั้งหมด เมื่อ มติฐานด้วยความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ยอมรับสมมติฐานหลักว่าสัดส่วนของเกษตรกรใช้ประโยชน์ 0.95 เป็นร้อยละ 94.61 เมื่อพิจารณาเกษตรกรที่ไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งแปลง 117 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.39 ของทั้งหมด พบว่า ยังคงมีการทำประโยชน์ที่ดินโดยผู้อื่นที่ไม่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 5.02 โดย ในจำนวนนี้มีการขายที่ดินทั้งแปลงให้บุคคลอื่นเนื่องจากอายุมาก ขาดแรงงาน เปลี่ยนอาชีพ การชำระหนี้ คิดเป็น ร้อยละ 0.32 ของทั้งหมด สำหรับสาเหตุโดยรวมการไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินบางส่วน 111 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.12 ของทั้งหมด ในจำนวนนี้ พบว่า เกษตรกร 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.84 ของทั้งหมด มีสาเหตุจากสภาพพื้นที่ ไม่เหมาะสม และต้องการสลับกันทำประโยชน์ที่ดินกับพี่น้องที่ไม่ได้อยู่ครอบครัวเดียวกัน ส่วนการไม่ใช้ประโยชน์ ที่ดินทั้งแปลงของเกษตรกร 117 ราย พบว่า ร้อยละ 3.18 ของทั้งหมด มีสาเหตุจากอายุมาก/ขาดแรงงาน/ เสียชีวิต และรองลงมาคือ ต้องการเปลี่ยนอาชีพ/ชำระหนี้ คิดเป็นร้อยละ 2.12 ของทั้งหมด เมื่อศึกษาจำนวนเนื้อที่ที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน 2,170 ราย พบว่า เนื้อที่ ที่ได้รับเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก.4-01 จำนวน 34,711 ไร่ เป็นเนื้อที่ที่ใช้ประโยชน์จำนวน 31,539 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 90.86 เมื่อพิจารณาสัดส่วนเนื้อที่ใช้ประโยชน์ของเกษตรกรเฉลี่ยได้เท่ากับ 0.9086 และพบว่า เกษตรกรในเขต ปฏิรูปที่ดิน มีเนื้อที่ถือครองเฉลี่ย ครัวเรือนละ 16 ไร่ มีเนื้อที่ใช้ปฐะโยชน์เฉลี่ย ครัวเรือนละ 15.36 ไร่ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินด้วยตนเอง จำนวน 2,053 ราย พบว่า เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินมีการปลูกข้าวนาปี คิดเป็นร้อยละ 39.57 มีการปลูก มันสำปะหลังร้อยละ 12.18 มีการปลูกอ้อยรวมทั้งอ้อยปี 1 และอ้อยตอ ร้อยละ 1 1.06 และมีการปลูกยางพารา ทั้งที่ยังไม่ให้ผลผลิตและให้ผลผลิตแล้ว ร้อยละ 32.05 เมื่อพิจารณาเนื้อที่ที่ใช้ประโยชน์ พบว่า จากเนื้อที่ใช้ประโยชน์ 31,539 ไร่ เป็นเนื้อที่ปลูกข้าว 8,842 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 28.03 ของเนื้อที่ใช้ประโยชน์ เป็นเนื้อที่ปลูกยางพารา คิดเป็นร้อยละ 22.52 และ เป็นเนื้อที่ปลูกอ้อย ร้อยละ 10.34 สำหรับผลผลิตทางการเกษตร พบว่า เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน มีผลผลิต จากข้าวนาปีเฉลี่ยไร่ละ 414 กิโลกรัมต่อครัวเรือนที่ปลูก โดยภาคกลางมีผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าภาคอื่น คิดเป็น ไร่ละ 695 กิโลกรัมต่อครัวเรือนที่ปลูก และภาคเหนือ มีผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 648 กิโลกรัมต่อครัวเรือนที่ปลูก 1.3 การนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน พบว่า ประเด็นความพอประมาณ พิจารณากิจกรรมที่สอดคล้องตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการลงทุน เกษตร การเตรียมดิน และรูปแบบการผลิต โดย เกษตรกรมีการลงทุนด้านการเกษตรมีปัจจัยการผลิตลดการพึ่งพา จากภายนอก คิดเป็นร้อยละ 87.1 4 เกษตรกรมีกิจกรรมการเตรียมดินที่สอดคล้องตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง คิดเป็นร้อยละ 67.36 เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินมีรูปแบบการผตที่สอดคล้องตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง คิดเป็นร้อยละ 94.40 ประเด็นความมีเหตุผล พิจารณาการมีกิจกรรมลดการพึ่งพาด้านเทคโนโลยีโดยการมีกิจกรรม ทางธรรมชาติ การลดการใช้สารเคมีเพิ่มการใช้ปุ๋ยหมัก/ปุ้ยคอก/ปุ๊ยชีวภาพ โดยเกษตรกรมีกิจกรรมลดการพึ่งพา ด้านเทคโนโลยีโดยการมีกิจกรรมทางธรรมชาติ ร้อยละ 49.05 เกษตรกรมีการใช้สารเคมีลดลง ร้อยละ 18.85 และมีการใช้ปุ๋ยหมัก/ปุ้ยคอก/ปุ้ยชีวภาพ เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 32.05 ประเด็นการมีภูมิคุ้มกัน พิจารณาการมี รายได้สุทธิ์ในครัวเรือน ไม่ต่ำกว่า 23,000 บาทต่อคนต่อปี การมีเงินออม การเป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชน และการ มีส่วนเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยครัวเรือนเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิในครัวเรือนเฉลี่ยต่อคน ตั้งแต่ 23,000 บาทขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 42.04 มีการออม ร้อยละ 47.74 มีการเป็นสมาชิกกลุ่มและมีส่วนร่วมของ เกษตรกร ร้อยละ 40.77 เกษตรกรมีการเข้าร่วมประชุมชุมชน 2 ครั้งขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 38.24 ประเด็นการมี เงื่อนไขความรู้ พิจารณาการได้รับการอบรมด้านเกษตร หรือเกี่ยวเนื่อง และมีการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์โดยเกษตรกรเคยได้รับองค์ความรู้ คิดเป็นร้อยละ 46.91 และมีการนำไปใช้ประโยชน์เพียงร้อยละ 1.66 ซึ่งต่ำมาก คาดว่าเนื่องจากกลุ่มเกษตรกรเป้าหมายเป็นเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างเพื่อการติดตามการใช้ประโยชน์ที่ดิน มิใช่กลุ่มเป้าหมายเกษตรกรเข้ารับการอบรมองค์ความรู้ ประเด็นการมีเงื่อนไขคุณธรรม พิจารณาการไม่ผิดนัด ชำระหนี้ ให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเป็นแบบอย่างด้านเกษตร โดยเกษตรกรมีความสามารถชำระหนี้ตรงเวลาทุกครั้ง คิดเป็นร้อยละ 68.19 มีกิจกรรมช่วยเหลือและมีกิจกรรมส่วนร่วม คิดเป็นร้อยละ 91.38 เมื่อพิจารณาระดับการนำ แนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ เป็น 2 ระดับ พบว่า มีการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจ พอเพียงไปใช้ประโยชน์ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 15. 98 ระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 84.02 เมื่อทดสอบสมมติฐาน ด้วยความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ปฏิเสธสมมติฐานหลักและยอมรับสมมติฐานรองว่าสัดส่วนของเกษตรกรที่มีการนำ แนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์มากกว่า 0.10 เป็นสัดส่วน 0.1598 หรือร้อยละ 15.98 1.4 ความพึงพอใจของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดินที่ได้รับการจัดที่ดิน เกษตรกรมีความพึงพอใจระดับปานกลาง ได้แก่ ดินมีความเหมาะสมในการเกษตร ระดับคะแนนเฉลีย 3.38 การได้รับการสนับสนุนแหล่งน้ำ เฉลี่ย 3.00 ได้รับการสนับสนุนเส้นทางคมนาคม เฉลี่ย 3.24 การได้รับการสนับสนุนพัฒนาองค์ความรู้ เฉลี่ย 3.05 ได้รับที่ดินที่ทำประโยชน์ในการเกษตรเลี้ยงชีพได้ เฉลี่ย 2.96 พื้นที่ต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มจึงใช้ ประโยชน์ได้ เฉลี่ย 2.97 สำหรับความพึงพอใจของเกษตรกรเมื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจทุกกิจกรรม หากน้อยกว่าค่าเฉลี่ยสรุปเป็นความพึงพอใจน้อยแล้ว พบว่าเกษตรกรมีความพึ่งพอใจ ร้อยละ 53.43 และมีความพึงพอใจมาก คิดเป็นร้อยละ 46.57 ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาเพื่อพิจารณา 1) ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งแปลง 117 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 5.39 ของทั้งหมด ในจำนวนนี้ สาเหตุการไม่ใช้ประโยชน์พี่ดินทั้งแปลงเกือบทั้งหมด 1 15 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 5, 30 ของทั้งหมด เป็นกลุ่มเกษตรกรที่มีอายุมาก ขาดแรงงาน เสียชีวิต และกลุ่มเกษตรกรที่เปลี่ยนอาชีพ ชำระหนี้ เป็นประเด็นควรมีการศึกษาปัจจัยสำคัญการไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งแปลงเชิงคุณภาพเพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไข ปัญหาปัจจัยที่มีผลต่อไป อาจเป็นแนวทางสืบทอดอาชีพหรือแนวทางกำหนดแผนพัฒนาอาชีพให้มีรายได้ เพียงพอต่อการชำระหนี้ได้ 2) ผลการศึกษา พบว่า จากกษตรกรไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินบางส่วน 111 ราย คิดเป็นร้อยละ 5.12 ของทั้งหมด ในจำนวนนี้ สาเหตุการไม่ใช้ประโยชน์ที่ดินบางส่วน 40 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.84 ของทั้งหมด มีสาเหตุจากสภาพพื้นที่ไม่เหมาะสม และต้องการสลับกันทำกับพี่น้องที่ไม่ได้อยู่ครอบครัวเดียวกัน เป็นประเด็น ควรมีนโยบายสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเต็มแปลงเพื่อเพิ่มศักยภาพที่ดินที่ได้รับโดยการสนับสนุน ((:):GLD6688O8888NG8888cgtdnbntd cbhiutl I dbido Ubl'g ld ทุนหรือปัจจัยที่เหมาะสมต่อเกษตรกรต่อไป ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป 1) การศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดิน ควรต้องมีการศึกษาระยะเวลาและสภาพสาเหตุการเปลี่ยน การถือครองจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งพร้อมปัญหาอุปสรรค การกำหนดขนาดที่ดินที่เหมาะสมในการใช้ประโยชน์ ที่ดิน หากเกษตรกรมีการแบ่งแปลงโอนสิทธิตกทอดมรดกสิทธิ 2) การศึกษาการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในเขต ปฏิรูปที่ดิน ควรศึกษาพัฒนาต่อไป ในส่วนของการมีภูมิคุ้มกัน เช่น กิจกรรมความหลากหลายทางอาชีพ การมีต้นทุนจากแหล่งน้ำเสริมอาชีพปลูกผักขายได้ หรือ รูปแบบการผลิตของเกษตรกรที่มีระบบผลผลิตการเกษตรได้ตลอดปี
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557
เอกสารแนบ: http://www.alro.go.th/research_plan/ewt_dl_link.php?nid=386
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการนำแนวคิดตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2555
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2557
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของ เกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ. 2553 การติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดินและการพึ่งตนเองได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปีการเพาะปลูก พ.ศ.2553 การติดตามประเมินผลวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2554 รายงานผลการติดตามประเมินผลการใช้ประโยชน์ที่ดิน การปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตและการถือครองของเกษตรกรนิคมเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดิน การติดตาม ประเมินผล และการใช้ประโยชน์โครงการวิจัยด้านยางพารา การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จังหวัดขอนแก่น การใช้ประโยชน์จากบ่อก๊าซชีวภาพของเกษตรกรในจังหวัดเชียงราย ศึกษาการดำเนินงานพัฒนาชุมชนของปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อขับเคลื่อนชุมชน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง สภาพการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน : กรณีศึกษาเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก