สืบค้นงานวิจัย
ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตข้าวบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1: การวิจัยเพิ่มผลผลิตผลิตข้าวสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง
จันทร์จิรา รุ่งเจริญ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตข้าวบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1: การวิจัยเพิ่มผลผลิตผลิตข้าวสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง
ชื่อเรื่อง (EN): Sub Project 1: Rice Research and Development in Highland Community
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: จันทร์จิรา รุ่งเจริญ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ข้าวเป็นพืชอาหารหลักและพืชทางวัฒนธรรมของชุมชนบนพื้นที่สูง แต่ยังประสบปัญหาเรื่องผลผลิตข้าวต่อพื้นที่ต่ำส่งผลทำให้ข้าวไม่เพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน โครงการวิจัยนี้ดำเนินในลักษณะวิจัยเชิงปฏิบัติการร่วมกับเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ทดสอบและคัดเลือกข้าวลูกผสมพันธุ์ท้องถิ่นที่ทนทานต่อแมลงบั่วและไม่ไวต่อช่วงแสง (2) ศึกษาวิจัยพันธุ์ข้าวท้องถิ่นที่มีคุณค่าทางโภชนาการ (3) ศึกษาวิธีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวท้องถิ่นให้บริสุทธิ์ (4) ทดสอบและสาธิตเทคโนโลยีการปลูกข้าวแบบนาน้ำน้อย (5) ทดสอบประสิทธิภาพชีวภัณฑ์เกษตรป้องกันกำจัดหนอนด้วงแก้วในข้าวไร่ และ (6) ศึกษาวิธีการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดินสำหรับข้าวไร่ ผลการดำเนินงานวิจัย พบว่า (1) ข้าวลูกผสมชั่วที่ F4 ของบือวาเจาะ บือแม้ว กินบ่เสี้ยง และบือคอ ออกดอกในฤดูนาปรังและนำข้าวลูกผสมชั่วที่ F5 ทดสอบการทนทานแมลงบั่วบนพื้นที่สูงในฤดูนาปี (2) ผลิตภัณฑ์ข้าวคั่วซึ่งผ่านกระบวนการคั่วในสภาพข้าวเปลือก พบว่า วิธีการคั่วไม่ทำให้โปรตีนในเมล็ดข้าวลดลง แต่กลับทำให้ไขมันรวมในข้าวสารเพิ่มขึ้นจาก 0.62% เป็น 1.53% และพบไขมันสูงถึง 4.71% ในข้าวกล้อง และข้าวสารที่ผ่านการคั่วมีธาตุ Fe สูงถึง 49.83 ppm ซึ่งสูงกว่าในข้าวกล้องและข้าวสารไม่คั่วตามลำดับ (3) วิธีการปลูกข้าวต้นเดียวพร้อมกำจัดต้นพันธุ์ปนในระยะต่างๆ ทำให้พันธุ์ปนลดลง 25% เมล็ดพันธุ์ข้าวผ่านมาตรฐานร้อยละ 90 เป็นที่ยอมรับของเกษตรกรและมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายภายในชุมชน (4) ระบบนาน้ำน้อยประหยัดน้ำถึง 35-58% โดยไม่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าว ซึ่งผลผลิตข้าวนาน้ำน้อยมากกว่านาน้ำขัง 8-10% (5) ผงชีวภัณฑ์สารสกัดหางไหล+หนอนตายหยาก อัตราการใช้ 4 กรัม/หลุม มีเปอร์เซ็นต์ของจำนวนกอข้าวที่แสดงอาการใบเหลืองลำต้นแคระแกรนน้อยอีกทั้งไม่พบหนอนด้วงแก้ว และ (6) ระบบการอนุรักษ์และพื้นฟูดิน 2 ระบบ ได้แก่ ปลูกถั่วเหลืองตามข้าวนา และระบบปลูกข้าวไร่โดยมีคันพืชตระกูลถั่วขวางแนวลาดชันร่วมกับการจัดการธาตุอาหารซึ่งต้องทำวิจัยต่อเนื่อง 2-3 ปี จากผลงานวิจัยยังคงต้องมีอาศัยการวิจัยแบบมีส่วนร่วมกับเกษตรกรเพื่อผลิตข้าวที่มีคุณภาพและสร้างความยั่งยืนสำหรับการทำนาบนพื้นที่สูงต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2557-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตข้าวบนพื้นที่สูง โครงการย่อย 1: การวิจัยเพิ่มผลผลิตผลิตข้าวสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2558
การปลูกข้าวต้นเดียวและใช้น้ำน้อยบนพื้นที่สูง การจัดการความรู้สำหรับโครงการวิจัยเชิงบูรณาการ การวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของเสาวรสหวาน บนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าวกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ระยะที่ 2 โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตและการตลาดของข้าวบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1: การวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก