สืบค้นงานวิจัย
การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
สังวาลย์ รัตนตระกูล - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สังวาลย์ รัตนตระกูล
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษา การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของสมาชิก ความพึงพอใจ และปัญหาอุปสรรค ของการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชนบ้านนาบ่อ โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสัมโนประชากร โดยใช้ประชากรทั้งหมด จำนวน 118 ราย และโดยวิธีเจาะจง คณะกรรมการกลุ่ม จำนวน 5 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ 2 แบบ คือ แบบมีแนวสัมภาษณ์ ใช้สัมภาษณ์คณะกรรมการ และแบบคำถามปลายปิด-ปลายเปิด ใช้สัมภาษณ์สมาชิก การวิเคราะห์ข้อมูล ในลักษณะพรรณนา ค่าเฉลี่ยและการจัดระดับ การศึกษาพบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านาบ่อ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2541 รวมเวลาจัดตั้งถึงปัจจุบันเป็นเวลา 9 ปี สมาชิกเริ่มแรกตั้ง จำนวน 15 คน สมาชิกปัจจุบันจำนวน 123 คน จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ชื่อ วิสาหกิจชุมชนข้าวหอมทองสกลทวาปี บ้านนาบ่อ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2549 ดำเนินกิจการ ผลิตข้าวฮาง ชื่อ การค้าข้าวหอมทองสกลทวาปี เงินทุนหมุนเวียน 797,500 บาท มีผลกำไร 3 ปี ย้อนหลัง (2547 – 2549) รวม 1,308,938 บาท ตลาดสินค้าส่วนใหญ่เป็นการขายส่ง โดยทั่วไป กระบวนการผลิตสินค้า เป็นไปในลักษณะพึ่งตนเองใช้วัตถุดิบหลักในชุมชน เทคโนโลยีที่ประหยัดและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า สมาชิกมีส่วนร่วมในการใช้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มในระดับมากที่สุด การขอจดทะเบียน เป็นวิสาหกิจชุมชน การประชุมการเก็บข้อมูลการผลิตสินค้า การจำหน่ายและบริการ ร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ การพิจารณาแบ่งปันผลประโยชน์การร่วมลงหุ้น การรับข่าวสารจากกลุ่ม การให้ข้อเสนอแนะแก่กลุ่ม การรับทราบข้อมูลกลุ่มการเสนอปัญหา และแนวทางแก้ไข มีส่วนร่วมระดับมาก การเลือกกิจกรรมกลุ่มและการเข้าอบรมศึกษาดูงาน มีส่วนร่วมระดับปานกลาง สำหรับการร่วมเป็นวิทยากร มีส่วนร่วมระดับปานกลาง สำหรับการร่วมเป็นวิทยากร มีส่วนร่วมระดับน้อย เรื่อง ความพึงพอใจของสมาชิกมีความพึงพอใจ สินค้ากลุ่มกลุ่มได้รับการรับรองคุณภาพ ระดับมากที่สุด การมีรายได้ประจำ การมีงานทำในท้องถิ่น สมาชิกมีรายได้เพียงพอกับรายจ่ายในครัวเรือน การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น และการร่วมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ มีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนการได้เป็นเจ้าของกิจการวิสาหกิจชุมชนบ้านนาบ่อและชุมชนมีความกลมเกลียวสามัคคี มีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ปัญหาอุปสรรค ด้านตัวสมาชิก การเยี่ยมเยียน จากเจ้าหน้าที่เป็นปัญหาอุปสรรคระดับมาก ส่วนเรื่อง การเข้าร่วมประชุม การรับข่าวสารการประชุม ข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิก และค่าแรงการผลิต มีปัญหาอุปสรรค ระดับปานกลาง ปัญหาอุปสรรคด้านการผลิต เกี่ยวกับวัตถุดิบหลัก วัสดุอุปกรณ์ และความรู้ในการผลิตสินค้า มีปัญหาระดับปานกลาง จากการศึกษา มีข้อเสนอแนะ เห็นควร เร่งระดม ปลุกจิตสำนึก ให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการวิสาหกิจชุมชน โดยประสานความร่วมมือองค์กรท้องถิ่น ดำเนินกิจการที่คงความเป็นเอกลักษณ์ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น อันนี้สืบต่อไปไว้ให้อนุชนต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2550
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2550
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: บ้านนาบ่อ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน : กรณีศึกษากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาบ่อ ตำบลปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
กรมส่งเสริมการเกษตร
2550
การดำเนินงานกิจกรรมวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร กรณีศึกษา : กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบางรักน้อย ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านหนองรีร่วมพัฒนา ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี การมีส่วนร่วมของสมาชิกในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน : กรณีโรงสีชุมชนครบวงจรตำบลไก่คำ อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร สภาพการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร การวิจัยกลยุทธ์การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง กรณี : วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจิกสูง ตำบลปากพลี อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ความคิดเห็นของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านหัวแรด ตำบลทมอ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสู่วิสาหกิจชุมชนในพื้นที่เขตที่ 1

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก