สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
สุทธาสินี ภู่จันทึก - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุทธาสินี ภู่จันทึก
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมบางประการของเกษตรกร 2) การใช้เทคโนโลยีการผลิตและปัญหาอุปสรรคในการผลิต รวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างที่สุ่มอย่างมีระบบจำนวน 244 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ นำมาตรวจสอบ อย่างถูกต้องแล้ว จัดประเภทของข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 45 ปี ส่วนมากสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือน 4 คน เป็นแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3 คน มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 66 ไร่ การถือครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นของตนเองและเช่าบางส่วน มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 38 ไร่ มีรายได้เฉลี่ย 126,859 บาท/ครอบครัว มีการใช้เครื่องมือการเกษตรส่วนใหญ่รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ และศึกษาความรู้จากเอกสารคำแนะนำ เกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์โดยปลูกช่วงปลายฝนเดือนกรกฏาคม ใช้เมล็ดพันธุ์จากบริษัทเอกชน สภาพดินเป็นดินร่วนปนทราย มีการไถเตรียมดินเฉลี่ย 2 ครั้ง ระยะปลูก 75x20 เซนติเมตร ใช้เมล็ดพันธุ์ อัตรา 3 กิโลกรัม./ไร่ เกษตรกรไม่ใช้สารเคมีเพราะป้องกันกำจัดโดยวิธีกล ใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มผลผลิต เฉลี่ย 2 ครั้ง ครั้งแรกใช้สูตร 16-20-0 อัตรา 24 กิโลกรัม./ไร่ ครั้งที่ 2 ใช้สูตร 46-0-0 อัตรา 25 กิโลกรัม./ไร่ การเก็บเกี่ยวโดยสังเกตุสีของเปลือก ตากผลผลิต 1-2 แดด ผลผลิตเฉลี่ย 758 กิโลกรัม./ไร่ ตลาดจำหน่ายขายให้แก่พ่อค้าท้องถิ่น และพบว่า เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะสีนวดแล้วจำหน่ายทันที ราคาจำหน่าย เฉลี่ย 4.42 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรมีความรู้เรื่องสารอะฟลาทอกซิน ต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 1,902 บาท/ไร่ เกษตรกรพบปัญหาอุปสรรคมากได้แก่ เมล็ดพันธุ์มีราคาแพง ปุ๋ยเคมีราคาแพง ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูง ฝนทิ้งช่วง ราคาผลผลิตต่ำ และสารเคมีกำจัดวัชพืชราคาแพง ข้อเสนอแนะ ควรสนับสนุนวิชาการเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และสนับสนุนปัจจัยการผลิตราคาถูก จัดหาแหล่งเงินทุนหมุนเวียนราคาถูก ส่งเสริมให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่ม และประกันราคาผลผลิต ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการตลาด จัดหาแหล่งรวบรวมผลผลิตในท้องถิ่น เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมสู่ตลาดต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหนองบัวน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ตำบลหินดาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา สภาพการผลิตและการตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2543 ของเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา สภาพปัญหาและความต้องการในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดชุมชนจังหวัดพะเยา การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้ผลผลิตและคุณภาพlสูงในเขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปกป้องสายตาด้วยข้าวโพด สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลกุดน้อย อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก