สืบค้นงานวิจัย
ศึกษาความเจริญของเชื้อ Corticium salmonicolor บนท่อนยางพาราในสภาพอุณหภูมิและความชื้นระดับต่าง ๆ กัน
นริสา จันทร์เรือง - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: ศึกษาความเจริญของเชื้อ Corticium salmonicolor บนท่อนยางพาราในสภาพอุณหภูมิและความชื้นระดับต่าง ๆ กัน
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Artificial Inoculation for Corticium salmonicolor in Hevea
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นริสา จันทร์เรือง
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาการปลูกเชื้อรา Corticium salmonicolor กับยางพาราให้เป็นโรคสีชมพูเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการคัดพันธุ์ต้านทานโรคและศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมี โดยศึกษาอุณหภูมิและความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา และวิธีการปลูกเชื้อ โดยใช้ 2 วิธีการ คือ ปลูกเชื้อบนท่อนยาง และปลูกเชื้อบนต้นยางพารา พันธุ์ อาร์อาร์ไอเอ็ม 600 ซึ่งผลปรากฏว่า อุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ C. salmonicolor คือที่อุณหภูมิ 20 – 25 องศาเซลเซียส และความชื้นที่เหมาะสมอยู่ระหว่างช่วง 80 – 100% ส่วนวิธีการปลูกเชื้อนั้น โดยเฉพาะวิธีการปลูกบนท่อนยางพาราใช้ไม่ได้ผล เนื่องจากอายุการใช้งานของท่อนยางและก้อนเชื้อไม่นานเพียงพอ สำหรับการเข้าทำลายของเชื้อรา ท่อนยางมีเชื้อราอื่นขึ้นปะปนทำให้เน่าเสียหายและวิธีการปลูกเชื้อบนต้นยาง ยังไม่ประสบความสำเร็จในขณะนี้ เพราะไม่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้ ปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ ซึ่งจะทำการทดลองต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ศึกษาความเจริญของเชื้อ Corticium salmonicolor บนท่อนยางพาราในสภาพอุณหภูมิและความชื้นระดับต่าง ๆ กัน
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
กลุ่มวิจัยยางพารา การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ศึกษาการใช้อัตราที่เหมาะสมของน้ำหมักชีวภาพเพื่อการเพิ่มผลผลิตของยางพาราบนชุดดินระนองในจังหวัดชุมพร พยากรณ์ราคายางพารา โครงการฝึกอบรมการผลิตกล้ายางพาราและการปลูกยางพาราแบบมืออาชีพ การเก็บรักษาคัพภะยางพาราในสภาพอุณหภูมิต่ำในหลอดทดลอง การวิจัยเครื่องถอนต้นกล้ายางพารา ศึกษาสภาพสวนยางที่พ้นการสงเคราะห์ปลูกแทน การศึกษาสภาพทั่วไปของการปลูกยางพาราในจังหวัดพิษณุโลก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก