สืบค้นงานวิจัย
ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดเพชรบูรณ์
นภาลัย บุญทิม - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง: ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่อง (EN): Cost and Return of Rubber Production in Phetchabun Province
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: นภาลัย บุญทิม
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้นำเสนอการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาวิธีกระบวนการปลูกยางพารา 2) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพารา 3) เปรียบเทียบต้นทุนการปลูกยางพารา การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรปลูกและเปิดกรีดยางแล้วในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 268 ราย ในอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ อำเภอเขาค้อ อำเภอวังโป่ง อำเภอหล่มสัก อำเภอชนแดน อำเภอหล่มเก่า อำเภอหนองไผ่ และอำเภอน้ำหนาว โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าร้อยละ คำนวณต้นทุน กำไร(ขาดทุน) และวิเคราะห์ทางการเงิน ผลการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM 600 มีพื้นที่ปลูกโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 20 ไร่ กำหนดระยะห่างระหว่างต้น 3x7 เมตร เฉลี่ยอยู่ที่ 76 ต้นต่อไร่ ระยะเวลาในการปลูก 10 ปี กรีดยางได้ในปีที่ 7 เกษตรกรปลูกยางพาราเป็นอาชีพเสริม จำหน่ายยางก้อนถ้วยเป็นหลัก และรวมกลุ่มเพื่อจำหน่ายยาง ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการยางพารา พบว่า ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 10,623 บาท ต้นทุนรวมเฉลี่ยต่อกิโลกรัม เท่ากับ 19 บาท สำหรับต้นทุนรวมนั้น ประกอบด้วย ต้นทุนก่อนกรีดยางเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 6,585 บาท ส่วนใหญ่ คือ ค่าปุ๋ยบำรุง จำนวน 2,184 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 58.7 และค่าพันธุ์ยาง 1,903 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 17.9 ของต้นทุนก่อนกรีดยางทั้งหมด เมื่อทำการเปรียบเทียบต้นทุนก่อนกรีดยางของแต่ละอำเภอ พบว่า อำเภอวังโป่ง มีค่าใช้จ่ายในการลงทุนสูงที่สุด เท่ากับ 13,395 บาท/ไร่ ส่วนต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 4,038 บาท ส่วนใหญ่ คือ ค่าจ้างกรีดยาง จำนวน 2,238 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 47.0 และค่าปุ๋ยบำรุง จำนวน 25,814 บาท/ไร่ คิดเป็นร้อยละ 43.7 เนื่องจากเกษตรกรขาดความชำนาญจึงจ้างคนงานกรีดโดยคิดค่าจ้างจากรายได้จากการจำหน่ายยาง และเกษตรกรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นในปริมาณมากเมื่อเปิดกรีด เพื่อให้ต้นยางสมบูรณ์และได้น้ำยางในปริมาณที่มากขึ้น จึงส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตสูง สำหรับผลตอบแทนจากจำหน่ายยางก้อนถ้วยมีกำไรเฉลี่ยต่อไร่ เท่ากับ 5,733 บาท เมื่อจำแนกตามอำเภอ พบว่า อำเภอหล่มสัก มีกำไรมากที่สุด เท่ากับ 8,734 บาท/ไร่ รองลงมาคือ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ เท่ากับ 7,550 บาท/ไร่ เนื่องจากทั้ง 2 อำเภอกรีดยางเอง จึงช่วยลดต้นทุนค่ากรีดยาง ส่งผลให้กำไรสูงขึ้น ผลการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน พบว่า อัตราส่วนกำไรขั้นต้นที่น่าพึงพอใจคือ 60% มีระยะเวลาคืนทุน 8 ปี และอัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C ratio) มีค่ามากกว่า 1 แสดงให้เห็นว่า การปลูกยางพาราของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์คุ้มค่ากับการลงทุน
บทคัดย่อ (EN): This research presents an analysis of cost and return of rubber farmer in Phetchabun. The following objectives : 1) Studied how to plant rubber 2) Studied cost and rubber 3) Compared the cost of rubber. This study was conducted to collect information from farmers and then rubber in Phetchabun. The sampling of 268 cases in Muang Phetchabun District, Khao Kho District, Wang Pong district, Lom Sak District , Chon Daen District, Lom Kao district, Nong Phai District and Nam Nao District. The questionnaire was used to collect data and analyzed data by calculating the cost of profits (losses) and financial analysis. Result of study found most farmers were planting timber species RRIM 600 , had grown by an average of less than 20 acres. Determine the distance between the 3x7 meters, an average of 76 trees per hectare, the duration of the 10-years-old, rubber plantation in seven years. Farmers rubber occupation, rubber cup lump essentially and collective rubber dealer. The analysis of cost and return of rubber found that the total cost was 10,623 baht per rai, the average total cost of 19 baht per kilogram. The total cost for that contain cost before rubber was equal to 6,585 baht per rai, most fertilizers were the maintenance of 2,184 baht per rai , 58.7 percent and the rubbers were 1,903 baht per rai, representing 17.9 percent of the total cost before rubber. When you compare cost before rubber in each district was found Wang Pong district has the highest cost of the investment is 13,395 baht per rai. The cost of the average production 4,038 baht per rai, most wage rubber of 2,238 baht per rai , 47.0 percent and The amount of fertilizer to nourish 25,814 baht / rai , 43.7 percent. Because farmers lack the expertise to hire workers by tapping charge, revenue from sales of rubbers and farmers fertilizer nourish in large quantities when tapped to complete the rubber and latex in greater quantities as a result, the production cost was high. For the return rubber cup lump profit equal to 5,733 baht per rai. When classified by district found Lom Sak most profitable of 8,734 baht per rai. Followed by Muang Phetchabun equal to 7,550 baht per rai. Since these two districts rubber itself. There by reducing the cost of rubber and result in higher profits. The ratio analysis found Gross profit margin was 60% satisfaction. Payback period of 8 years. And benefit per cost was greater than one showed that the rubber farmers in Phetchabun worth the investment.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกยางพาราในจังหวัดเพชรบูรณ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
30 กันยายน 2559
สมการการผลิต ต้นทุน และผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราของเกษตรกร จังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของอุตสาหกรรมไม้ยางพารา ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกยางพาราในจังหวัดเชียงราย การศึกษาต้นทุนผลตอบแทนของธุรกิจแปรรูปยางพารา จ.สุราษฎร์ธานี การศึกษาสมการการผลิตและต้นทุนผลตอบแทนจาก การปลูกยางพาราในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกสตรอว์เบอร์รี ในเขตอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจัยที่มีผลต่อ ต้นทุนการผลิต ผลผลิต และผลตอบแทน จากการปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตส้มเขียวหวานในจังหวัดน่าน ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก