สืบค้นงานวิจัย
การเพาะไรแดงโดยใช้กากน้ำตาล
ศิพร หล้าสุวงษ์ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: การเพาะไรแดงโดยใช้กากน้ำตาล
ชื่อเรื่อง (EN): USE OF MOLASSES FOR WATER FLEA (Moina macrocop4 Straus) CULTURE
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ศิพร หล้าสุวงษ์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: บานเย็น นวลศรี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN): Water flea, Moina macrocopa (Straus), culfure, molasses
บทคัดย่อ: การศึกษาอัตราการใช้กากน้ำตาลที่เหมาะสมในการเพาะไรแดงในบ่อซีเมนต์ขนาด 3 ตารางเมตรใช้เวลา 7 วันตั้งแต่เตรียมการจนถึงเก็บเกี่ยวไรแดง แบ่งการทดลองออกเป็น 3 การทดลอง การทดลองที่ 1 แบ่งเป็น 5 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองที่ 1 (ชุดควบคุม)ใช้กากผงชูรส 1,200 มิลลิลิตร/ปริมาตรน้ำ 720 ลิตร ชุดการทดลองที่ 2-5 ใช้กากน้ำดาลในปริมาณ 200, 400, 800 และ 1,200 มิลลิลิตร/ปริมาตรน้ำ 720 ลิตร การทดลองที่ 2 แบ่งเป็น 6 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองที่ 1 (ชุคควบคุม) ใช้กากผงชูรส 1.200 มิลลิลิตร/ปริมาตรน้ำ 720 ลิตร ชุดการทดลอง 2 - 6 ใช้กากน้ำตาลในปริมาณ 600, 700, 800, 900 และ 1,000 มิลลิลิตร/ปริมาตรน้ำ 720 ถิตร การทดลองที่ 3 แบ่งเป็น 5 ชุดการทดลอง ชุดการทดลองที่ 1 (ชุดควบคุม) ใช้กากผงชูรส 1,200 มิลลิลิตร/ปริมาตรน้ำ 720 ลิตร ชุดการทดลองที่ 2 -5 ใช้ปริมาณกากน้ำตาล 600 มิลลิลิตร เจือจางในน้ำสะอาดจำนวน 6 ลิตร ไว้ล่วงหน้า 0, 1 2 และ 3 วัน จากการทดลองสรุปได้ว่า อัตราการใช้กากน้ำตาลในปริมาณ 600 มิลลิลิตร สามารถใช้แทนกากผงชูรส 1,200 มิลลิลิตรได้ โดยผลผลิตเฉลี่ยของไรแดง มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p >0.05) ส่วนการผสมกากน้ำตาลด้วยน้ำสะอาดแล้วพักทิ้งไว้ก่อนนำไปใช้เพาะไรแดงนั้น ไม่มีความจำเป็นเนื่องจากไม่มีผลต่อผลผลิตไรแดง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2548
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
เอกสารแนบ: http://www.inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=179
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพาะไรแดงโดยใช้กากน้ำตาล
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2548
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
การเพาะไรแดงโดยใช้กากมันเส้นบด การศึกษาคุณลักษณะของน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบไร้อากาศของโรงงานผลิตเอทานอลจากกากน้ำตาลและการใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกอ้อย พัฒนาการผลิตขยายไรตัวห้ำ Amblyseius longispinosus เพื่อใช้ควบคุมไรแดงศัตรูพืช การใช้มูลสุกรแห้งและกากน้ำตาลเป็นอาหารเลี้ยงโคนมรุ่น การใช้ยูเรียร่วมกับกากน้ำตาลหมักกากมันสำปะหลังต่อปริมาณการกินได้ ความสามารถในการย่อยได้ และค่าชีวเคมีในเลือดของโคเนื้อ การนำใช้กากมันสำปะหลังผสมยีสต์ Saccharomycescerevisiae และสารมาเลทหมักในกากน้ำตาลเพื่อเพิ่มคุณภาพอาหารในโคเนื้อ ผลการใช้ยูเรีย-กากน้ำตาล-แร่ธาตุอัดก้อนเป็นอาหารเสริมโคเนื้อ การผลิตน้ำตาลดี-ฟีโคส จากกากน้ำตาลโดยเชื้อ Saccharomyces cerevisiae และ Agrobacterium tumefaciens การประยุกต์ใช้ถ่านกัมมันต์จากกากน้ำตาลอ้อยในการกำจัดสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) การประยุกต์ใช้วัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ดเป็นสารเสริมในอาหารไก่เนื้อ

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก