สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลโครงการหลวง
ดนัย บุณยเกียรติ - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลโครงการหลวง
ชื่อเรื่อง (EN): Study on Efficiency Improvement of Postharvest Management the Royal Project Product
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ดนัย บุณยเกียรติ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: เพชรดา อยู่สุข
คำสำคัญ: การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การศึกษาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลโครงการหลวงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวพืชผักของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง 3 แห่ง ได้แก่ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง แม่แฮ และแกน้อย โดยสำรวจการสูญเสียของผลิตผลในระหว่างการจัดการในโรงคัดบรรจุของศูนย์ฯ วิเคราะห์หาสาเหตุ และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการผลิตผลของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง จากผลการวิจัยพบว่า ปวยเล้งของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวงมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเกิดขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ โดยสาเหตุเกิดจากการสูญเสียน้ำทำให้ผักแสดงอาการเหี่ยว 90.45 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากความเสียหายทางกล 4.34 เปอร์เซ็นต์ และเกิดจากใบนอกและต้นเล็ก 4.84 เปอร์เซ็นต์ ส่วนปวยเล้งตัดแต่งบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเกิดขึ้น 91.74 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกิดจากการสูญเสียน้ำทำให้ผักเหี่ยว 81.75 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากสาเหตุทางกล 4.78 เปอร์เซ็นต์ และเกิดจากเกิดจากใบนอกและต้นเล็ก 4.84 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งหลังจากเสนอแนะแนวทางแก้ไขการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อลดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวทำให้ปวยเล้งและปวยเล้งตัดแต่งบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายมีการสูญเสียลดลงเหลือเพียงประมาณ 20 และ 30 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วนบรอคโคลี่ของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวงมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเกิดขึ้น 38.91 เปอร์เซ็นต์ โดยเกิดจากการตัดแต่งเอาส่วนที่เป็นก้านดอก ก้านใบ และใบที่เป็นส่วนเกินออก 16.59 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากหน้าดอกขนาดเล็กหรือตกเกรด 14.18 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากความเสียหายจากสาเหตุทางกล 6.29 เปอร์เซ็นต์ และเกิดจากการเน่าเสียของดอกย่อย 1.85 เปอร์เซ็นต์ และหลังจากทดสอบวิธีขนบรอคโคลี่ออกจากแปลงปลูกและเสนอแนะแนวทางแก้ไขการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว พบว่า การบรรจุบรอคโคลี่ในเข่งพลาสติกมีการสูญเสีย 42.42 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่การบรรจุในตะกร้าพลาสติกที่ใช้สำหรับในแปลงปลูก (ตะกร้าพลาสติกสีดำ) ซึ่งเรียงหน้าในแนวนอนและในแนวตั้ง มีการสูญเสีย 22.84 และ 19.16 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ สำหรับผักกาดหอมห่อและผักกาดหวานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ พบว่า ผักกาดหอมห่อมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเกิดขึ้น 55.75 เปอร์เซ็นต์ โดยเกิดจากใบนอก 45.55 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากความเสียหายทางกล 4.28 เปอร์เซ็นต์ เกิดความเสียหายจากโรคพืช 1.16 เปอร์เซ็นต์ และเกิดความเสียหายจากแมลงหรือทาก 1.12 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ผักกาดหอมห่อตัดแต่งบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 67.12 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกิดจากใบนอก 56.79 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากความเสียหายทางกล 6.17 เปอร์เซ็นต์ เกิดความเสียหายจากโรคพืช 1.39 เปอร์เซ็นต์ และเกิดความเสียหายจากแมลงหรือทาก 1.12 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผักกาดหวานมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเกิดขึ้น 30.27 เปอร์เซ็นต์ โดยเกิดจากใบนอกและต้นเล็ก 11.97 เปอร์เซ็นต์ จากโรคใบจุดตากบ (แอนแทรคโนส) 7.70 เปอร์เซ็นต์ จากสาเหตุทางกล 5.05 เปอร์เซ็นต์ จากการสูญเสียน้ำทำให้ผักเหี่ยว 3.43 เปอร์เซ็นต์ และจากแมลงหรือทากกัดกิน 2.12 เปอร์เซ็นต์ ผักกาดหวานตัดแต่งบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเกิดขึ้น 25.05 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกิดจากใบนอกและต้นเล็ก 12.51 เปอร์เซ็นต์ จากโรคใบจุดตากบ 7.00 เปอร์เซ็นต์ จากสาเหตุทางกล 3.85 เปอร์เซ็นต์ และจากแมลงหรือทากกัดกิน 1.69 เปอร์เซ็นต์ และหลังจากการเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวทำให้ผักกาดหอมห่อมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวลดลงเหลือเพียง 28.10 เปอร์เซ็นต์ และผักกาดหอมห่อตัดแต่งบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยว 48.84 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผักกาดหวานมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวลดลงเหลือเพียง 25.00 เปอร์เซ็นต์ และผักกาดหวานตัดแต่งบรรจุถุงพร้อมจำหน่ายมีการสูญเสียเกิดขึ้น 23.89 เปอร์เซ็นต์ ผักกาดหอมห่อและผักกาดหวานของศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อยมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเกิดขึ้น 82.08 และ 89.82 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยสาเหตุที่ทำให้ผักกาดหอมห่อเกิดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเกิดจากใบนอก หัวเล็ก และไม่ห่อหัว 52.38 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากสาเหตุทางกล 17 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากผักแสดงอาการเหี่ยว 10.41 เปอร์เซ็นต์ และเกิดจากแมลงหรือทากกัดกิน 2.29 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสาเหตุที่ทำให้ผักกาดหวานเกิดการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวเกิดจากใบนอก 43.82 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากสาเหตุทางกล 37.63 เปอร์เซ็นต์ เกิดจากผักแสดงอาการเหี่ยว 4.49 เปอร์เซ็นต์ และเกิดจากโรคใบจุดตากบ 3.88 เปอร์เซ็นต์ โดยหลังจากเสนอแนะแนวทางการแก้ไขการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ผักกาดหอมห่อมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวลดลงเหลือเพียง 42.94 เปอร์เซ็นต์ และผักกาดหวานมีการสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวลดลงเหลือเพียง 57.04 เปอร์เซ็นต์
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลโครงการหลวง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2557
โครงการวิจัยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาดผักอินทรีย์โครงการหลวง โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวสินค้าสำคัญของโครงการหลวง โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการและการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผลิตผลพืชเมืองหนาว โครงการวิจัยและพัฒนาการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวเสาวรสหวาน โครงการวิจัยและพัฒนากระบวนการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลโครงการหลวง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพผลิตผลพืชผักในพื้นที่โครงการหลวงและพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 2 การทดสอบและสาธิตเทคโนโลยี/องค์ความรู้โครงการหลวงในการพัฒนาประสิทธิภาพการปลูก โครงการศึกษาเพื่อปรับปรุงเครื่อง THC test kit โครงการวิจัยพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าหัตถกรรมโดยการจัดการห่วงโซ่การผลิตและการตลาดในพื้นที่โครงการหลวงและโครงการขยายผลโครงการหลวง การยอมรับวิธีการปลูกพืชภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (GAP) ของเกษตรกร ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โครงการศึกษาดัชนีเก็บเกี่ยวผลอาโวกาโด

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก