สืบค้นงานวิจัย
ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการประสานงานวิจัย และส่งเสริมการเกษตร
กัลยาณี พรหมสุภา - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการประสานงานวิจัย และส่งเสริมการเกษตร
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัลยาณี พรหมสุภา
คำสำคัญ:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตรครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. ความคิดเห็นของนักวิจัย และนักส่งเสริมต่อการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตร 2. ปัญหาอุปสรรคในการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตร 3. แนวทางการแก้ไขปัญหาในการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตร โดยทำการศึกษาจากนักวิจัยและนักส่งเสริมที่มีส่วนร่วมในการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตรที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตร คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตรระดับภาค คณะทำงานส่วนกลาง คณะอนุกรรมการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตรระดับภาค คณะทำงานส่วนกลาง คณะทำงานพัฒนาพืช และคณะทำงานในระดับภาคทุกภาค จำนวน 143 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ( Simple Random Sampling ) ผลจากการศึกษา พบว่า นักวิจัยและนักส่งเสริมมีความรู้ในเรื่องระบบการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเป็นอย่างดีในเรื่องของนโยบายการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตร ขอบเขตการทำงาน แนวทางหรือวิธีการปฏิบัติงาน การจัดองค์กรการบริหารงาน ลักษณะงานที่จะประสาน/ทำร่วมกัน ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของเต่ละหน่วยงาน โดยทำการศึกษาจากเอกสาร/คู่มือแนวทางการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตรที่ทั้งสองกรมร่วมกันจัดทำขึ้น และเห็นว้าระบบงานที่กำหนดไว้มีความเหมาะสมดีแล้ว ในเรื่องของกิจกรรมหรืองานที่จะทำร่วมกันนั้น นักวิจัยและนักส่งเสริมเห็นว้าควรเป็นกิจกรรมหรืองานที่ทั้งสองกรมต้องดำเนินการอยู่แล้วในโครงการต่าง ๆ ที่แต่ละกรมมีอยู่ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการวางแผน ขั้นตอนการดำเนินการและขั้นตอนการติดตามงานผลงาน ใน 7 ลักษณะงาน ได้แก่ งานวิจัยงานขยายพันธุ์พืช งานทดสอบในหลายพื้นที่ งานทำแปลงส่งเสริม/สาธิต งานถ่ายทอดเทคโนโลยีและงานเผยแพร่ผลงานวิจัยส่งเสริมการเกษตรนั้น พบว่า ทั้งนักวิจัยและนักส่งเสริมมีส่วนร่ว มในการปฏิบัติงานน้อยในทุกขั้นตอนทุกงาน ทั้ง ๆ ที่ส่วนใหญ่ ( ร้อยละ 72.6 ) เห็นว่าการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของทั้งสองฝ่ายและควรมีการประสานงานกันต่อไป ส่วนปัญหาในการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตรนั้น นักวิจัยและนักส่งเสริมส่วนใหญ่ ( ร้อยละ 91.7 ) เห็นว่าเกิดจากลักษณะงาน/วิธีการทำงานของนักวิจัยกับลักษณะวิธีการทำงานของนักส่งเสริมแตกต่างกัน ทำให้การทำงานร่วมกันไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งยังมีปัญหาในเรื่องของนโยบายและแผนการทำงานร่วมกัน การประสานข้อมูลระหว่างกรม การประสานงานในระดับพื้นที่ สิ่งสนับสนุนการปฏิบัติงานไม่เพียงพอทั้งงบประมาณ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ เวลาในการทำงาน ตลอดจนทัศนคติของนักวิจัยและนักส่งเสริมที่มาร่วมงานกัน แนวทางในการแก้ไขปัญหาการประสานงานวิวจัยและส่งเสริมการเกษตร นักวิจัยและนักส่งเสริมส่วนใหญ่เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะแก้ไขปัญหาในการประสานงานวิจัยและนักส่งเสริมการเกษตร โดยดำเนินการดังต่อไปนี้ กำหนดนโยบายแผนงานและเป้าหมายการทำงานร่วมกันให้ชัดเจน และให้ทุกคณะทำงานได้มีโอกาสทราบแผนของกันและกันมากกว่าเดิม กำหนด กระบวนการ/วิธีการทำงานให้ชัดเจน จัดทำสิ่งสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานทั้งงบประมาณ อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ ตลอดจนเสริมสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ในเรื่องของการรับความรู้ และการมีส่วนร่วมในการประสานงาน พบว่า ทั้งนักวิจัยและนักส่งเสริมมีการรับรู้ในเรื่องระบบการประสานงานวิจัยและส่งเสริมการเกษตรไม่แตกต่างกัน และมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันในทางสถิติ
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการประสานงานวิจัย และส่งเสริมการเกษตร
กรมส่งเสริมการเกษตร
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
การวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรอย่างนักวิจัย กรณี แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน สภาพปัญหาและความต้องการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา การดำเนินงานโครงการคลินิกวิจัยส่งเสริมการเกษตร ปี 2548 บทบาทการบริการส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลกระทบจากปัญหาตลาดข้าวต่อชุมชนในจังหวัดฉะเชิงเทราและแนวทางแก้ไข : รายงานผลการวิจัย การศึกษาการประสานงานส่งเสริมการเกษตรระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและสถาบันอุดมศึกษา ความต้องการในการทำงานวิจัยของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร คุณภาพน้ำนมโคดิบ : ปัญหาและการแก้ไข : รายงานผลการวิจัย อะไรที่ทำให้นักวิจัยยินดีที่จะแบ่งปันข้อมูลวิจัย โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวในพื้นที่ดินมีปัญหา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก