สืบค้นงานวิจัย
การพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน
อรอุมา แก้วกล้่า - สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน
ชื่อเรื่อง (EN): Development of rice production for sustainability
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อรอุมา แก้วกล้่า
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: รณชัย ช่างศรี
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: จุดมุ่งหมายของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาความหลากหลายของเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรีย จากข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 จำนวน 20 ตัวอย่าง ที่ปลูกในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และความสามารถในการยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคข้าว โดยใช้ส่วนของราก ลำต้น ใบ และกาบใบ มาทำการฟอกฆ่าเชื้อที่ผิวนอกก่อนทำการคัดแยกบนอาหาร 4 ชนิด ที่อุณหภูมิ 27 และ 37oC คัดแยกได้ 423 ไอโซเลท ใช้การจำแนกด้วยลักษณะสัณฐานวิทยา และข้อมูลของยีน 16S rRNA พบว่าสกุลหลักที่คัดแยกได้คือ Streptomyces (283 ไอโซเลท; 67%) สกุลอื่นๆ คือ Microbispora (120 ไอโซเลท; 28.4 เปอร์เซ็นต์) Micromonospora (11 ไอโซเลท; 2.6%) Pseudonocardia (7 ไอโซเลท; 1.7%) และ Actinoallomurus (2 ไอโซเลท; 0.5%) และเมื่อนำเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียที่คัดแยกได้ทั้งหมด มาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคข้าว คือ Xanthomonas oryzae KHWK 4.1_UBN_06, Curvularia lunata BCC15558, Pyricularia grisea 61119 และ Helminthosporium oryzae DOAC1570 ด้วยวิธีการเลี้ยงเชื้อร่วมกัน พบว่าเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรียจำนวน 15, 6, 3 และ 2 ไอโซเลท (3.5, 1.4, 0.7 และ 0.5%) มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคได้ในระดับดีมากตามลำดับ โดยทุกไอโซเลทที่มีความสามารถยับยั้งจุลินทรีย์ทดสอบในระดับดีมากจำแนกได้ในสกุล Streptomyces และสกุล Microbispora และคัดเลือกแอคติโนแบคทีเรียจำนวน 77 ไอโซเลท ที่ให้ผลการยับยั้ง X. oryzae pv. oryzae และ P. grisea มาทดสอบการผลิตฮอร์โมนออกซิน ในรูป IAA พบว่ามีจำนวน 13 ไอโซเลท (16.9%) ที่มีปริมาณการผลิตตั้งแต่ 101 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร และไอโซเลท CER1 ผลิตได้มากที่สุดที่ 194.97 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร และจากผลการทดสอบการผลิต IAA คัดเลือกแอคติโนแบคทีเรียที่ปริมาณการผลิตสูงมาทำการทดสอบการผลิตไซโตไคนิน พบว่ามีปริมาณการผลิตอยู่ระหว่าง 0.086 - 0.978 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยไอโซเลท WELS2 ผลิตไซโตไคนินได้สูงที่สุด แอคติโนแบคทีเรียจำนวน 3 ไอโซเลทผลิตไซเดอร์โรฟอร์ชนิดไฮดรอกซาเมต (hydroxamate) ผลการทดสอบการส่งเสริมการเจริญของข้าวของแอคติโนแบคทีเรีย 14 ไอโซเลท พบว่าทุกไอโซเลทมีความยาวของข้าวน้อยกว่าการทดลองควบคุม และมีเพียงไอโซเลท W18L9 ที่มีความยาวไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ กับการทดลองควบคุม และไอโซเลท SBTT43 และ W18L9 ให้น้ำหนักแห้งของข้าวสูงกว่าการทดลองควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการควบคุม X. oryzae pv. oryzae ในพืชทดสอบพบว่าไอโซเลท SBTS01 มีประสิทธิภาพในการควบคุมได้ดีที่สุดโดยข้าวค่อนข้างต้านทาน ส่วนไอโซเลทอื่นๆ ข้าวค่อนข้างอ่อนแอต่อเชื้อทดสอบ และแอคติโนแบคทีเรียส่วนใหญ่ต้านทานต่อ P. grisea ในพืชทดสอบ โดยสรุปข้าวเป็นแหล่งของความหลากหลายของเอนโดไฟติกแอคติโนแบคทีเรีย ซึ่งมีความสามารถในการส่งเสริมการเจริญ และควบคุมโรคพืชทั้งในห้องปฏิบัติการ และในพืชทดสอบ สามารถนำไอโซเลทที่คัดเลือกได้ไปประยุกต์ใช้ในการควบคุมทางชีวภาพ เพื่อพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2555-04-28
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555-04-27
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
27 เมษายน 2555
แป้งข้าวก่ำดัดแปรและผลิตภัณฑ์จากข้าวก่ำเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ เชิงป้องกัน ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร การพัฒนากระบวนการต้นแบบในการทดสอบพันธุ์ข้าวลูกผสม แผนงานวิจัยการพัฒนาการผลิตข้าวอย่างยั่งยืน รูปพรรณข้าวขึ้นน้ำผลผลิตสูง การส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตข้าว เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลของระยะปักดำต่อผลผลิตและการเป็นโรคจู๋ของข้าว บทบรรณาธิการ : การผลิตข้าวในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก อิทธิพลของกระแสลมต่อการเจริญเติบโตและการสูญเสียผลผลิตข้าว การใช้สารออกฤทธิ์จากเชื้อราเอนโดไฟท์ในการควบคุมศัตรูข้าวโดยชีววิธี เพื่อการผลิตข้าวอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก