สืบค้นงานวิจัย
โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเยาวชนบนพื้นที่สูง
ภฤศพงศ์ เพชรบุล - สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
ชื่อเรื่อง: โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเยาวชนบนพื้นที่สูง
ชื่อเรื่อง (EN): The Studyof Youth Leadership Development in Highlands
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ภฤศพงศ์ เพชรบุล
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาวะผู้นำในกลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยงและม้ง และเพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขการพัฒนาภาวะผู้นำในกลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยงและม้ง กลุ่มตัวอย่าง คือ เยาวชนกะเหรี่ยงและม้ง เพศชายและเพศหญิง อายุ 14-28 ปี จำนวน 3 ชุมชน ประกอบด้วย (1) บ้านวะโดโกร ตำบลแม่สอง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก (2) บ้านขุนตื่นน้อย-บ้านปิพอ ตำบลแม่ตื่น อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และ (3) บ้านห้วยฮ่อม ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นำในกลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยงและม้งใช้เทคนิคกระบวนการฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงาน (on the job training) ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย (1) ขั้นตอนคัดเลือกเยาวชน (2) ขั้นตอนคัดเลือกหัวข้อการเรียนรู้ (3) ขั้นตอนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ (4) ขั้นตอนกำหนดรายละเอียดเนื้อหาการเรียนรู้ (5) ขั้นตอนกำหนดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ (6) ขั้นตอนประเมินผลก่อนการเรียนรู้ (7) ขั้นตอนดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ และ (8) ขั้นตอนประเมินผลหลังการเรียนรู้ ส่วนปัจจัยและเงื่อนไขการพัฒนาภาวะผู้นำในกลุ่มเยาวชนกะเหรี่ยงและม้งที่ทำการศึกษา ประกอบด้วย (1) เงื่อนไขด้านความสมัครใจเข้ารับการพัฒนาของเยาวชน (2) เงื่อนไขที่เยาวชนจะต้องอาศัยอยู่ในชุมชนและมีเวลาว่างที่จะเข้ารับการพัฒนา (3) เงื่อนไขการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการคัดเลือกหัวข้อการเรียนรู้ (4) ปัจจัยด้านชนเผ่าและศักยภาพของชุมชน (5) ปัจจัยด้านการศึกษา และ (6) ปัจจัยด้านภาษา จากผลการจัดการเรียนรู้ พบว่า เยาวชนกะเหรี่ยง (บ้านขุนตื่นน้อย-บ้านปิพอ และบ้านวะโดโกร) สนใจพัฒนาความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้งานและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าพลังน้ำและพลังแสงอาทิตย์ การขยายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ และการซ่อมบำรุงรถจักรยานยนต์ ส่วนเยาวชนม้ง (บ้านห้วยฮ่อม) สนใจพัฒนาความรู้และทักษะเกี่ยวกับการปลูกมะม่วงและการเลี้ยงกบ เยาวชนทั้ง 3 ชุมชน ส่วนมากมีคะแนนพฤติกรรมอยู่ในระดับมาก โดยเยาวชนบ้านขุนตื่นน้อย-บ้านปิพอ มีคะแนนพฤติกรรมในระดับปานกลาง ระดับมาก และระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 30.8 ร้อยละ 53.8 และร้อยละ 15.4 ตามลำดับ เยาวชนบ้านวะโดโกร มีคะแนนพฤติกรรมในระดับปานกลาง ระดับมาก และระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 15.4 ร้อยละ 46.1 และร้อยละ 38.5 ตามลำดับ ส่วนเยาวชนบ้านห้วยฮ่อมมีคะแนนพฤติกรรมในระดับปานกลาง ระดับมาก และระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 23.1 ร้อยละ 61.5 และร้อยละ 15.4 ตามลำดับ และ ในภาพรวม พบว่า เยาวชนทั้ง 3 ชุมชน มีผลการประเมินหลังจากการจัดการเรียนรู้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับผลการประเมินก่อนการจัดการเรียนรู้
บทคัดย่อ (EN): The objective of this study was to test the participatory learning process to improve the leadership ability of Karen and Hmong’s youths, and to synthesize factors and conditions of the improvement. Samples are 14-28 years old, male and female youths of Karen and Hmong from 3 communities: (1) Wadokro village, tambon Mae Song, Ta Song Yang district, Tak (2) Khun Tuun noi - Baan Pi Por village, tambon Mae Tuun, Om Koi district, Chiang Mai (3) Huay Hom village, tambon Baan Vieng, Rong Kwang district, Prae. To conduct the participatory learning process, we use the technique of "On the job training". The process of the learning process in participatory forms as following. (1) Select of Youth (2) Select of learning topics (3) Specify objectives of Learning (4) Specify learning content (5) Specify format of learning activities (6) Evaluation of prior learning (7) Learning activities (8) evaluation of after learning. Factors and conditions of leadership development among young Karen and Hmong which is the following. (1) Youth must voluntarily developed (2) young people will have to live in the community and have some free time to be developed (3) young people must be involved in the selection of topics for learning (4) Tribes and potentiality of the community (5) Educational factor (6) Language factor. From the research, we find that Karen youths from Wadokro and Khun Tuun noi - Baan Pi Por villages are interested in using and maintenance hydroelectricity system, solar energy, mobile phone repeaters, and motorcycle maintenance. Hmong youths from Huay Hom village are interested in mango growers and frog farming. The youths from 3 communities have the behavior scores in high level. Khun Tuun noi - Baan Pi Por’s youths have scores in fair, high, and very high level are 30.8%, 53.8%, and 15.4% respectively. Wadokro’s youths have scores in fair, high, and very high level are 15.4%, 46.1%, and 38.5% respectively. Huay Hom’s scores in fair, high, and very high level are 23.1%, 61.5%, and 15.4% respectively. Overall, all communities have better evaluation results of learning management after attendance the programs.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2558-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2559-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเยาวชนบนพื้นที่สูง
สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
30 กันยายน 2559
โครงการ พัฒนาเยาวชนบนพื้นที่สูง โครงการศึกษาภาวะผู้นำในชุมชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาพื้นที่สูง โครงการพัฒนาเครือข่ายวิจัยด้านการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตสุกรบนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 2 การพัฒนาสายพันธุ์สุกรที่เหมาะสมภายใต้เงื่อนไขสภาพการเลี้ยงบนพื้นที่สูง ชุดโครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการย่อยที่ 1 โครงการวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการผลิตของพืชไร่บนพื้นที่สูง โครงการศึกษาภาวะผู้นำชุมชนและการยอมรับนวัตกรรมการเกษตรของชุมชนบนพื้นที่สูง ชุดโครงการศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาวะโลกร้อนต่อการปลูกพืชบนพื้นที่สูงกรณีศึกษาโครงการหลวง โครงการย่อยที่ 1 การศึกษาแนวทางการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตข้าวบนพื้นที่สูง โครงการปรับปรุงพันธุ์สุกรลูกผสม (พันธุ์พื้นเมือง) เพื่อให้เหมาะสมกับการเลี้ยงบนพื้นที่สูง ภาวะผู้นำของผู้นำเยาวชนชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โครงการศึกษาผลสำเร็จงานวิจัยต่อการพัฒนาพื้นที่สูง

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก