สืบค้นงานวิจัย
วัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไฟฟ้าชีวมวล
อนุรักษ์ เกษวัฒนากุล - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ชื่อเรื่อง: วัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไฟฟ้าชีวมวล
ชื่อเรื่อง (EN): The residue left from sugar palm as raw material for the production of biomass power
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: อนุรักษ์ เกษวัฒนากุล
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยนี้จึงมีเป้าประสงค์เพื่อศึกษาการผลิตไฟฟ้าด้วยเตาผลิตแก๊สชีวมวล จากวัสดุเหลือใช้ของตาลโตนดที่มีจำนวนมากในพื้นที่ของจังหวัดเพชรบุรี โดยทำการทดลองดังต่อไปนี้ การทดลองการวิเคราะห์แบบประมาณ (Proximate Analysis) ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงแกลบ พบว่าวัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดให้ค่าความร้อนด้านสูงสูงกว่าเชื้อเพลิงแกลบ และมีปริมาณขี้เถ้าน้อยกว่าเชื้อเพลิงแกลบ การทดลองการวิเคราะห์แบบแยกธาตุ (Ultimate Analysis) ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงแกลบ พบว่าวัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดปริมาณคาร์บอนสูงกว่าเชื้อเพลิงแกลบ มีปริมาณไฮโดรเจนสูงกว่าเชื้อเพลิงแกลบ ส่งผลให้ได้ความร้อนจากการเผาไหม้ที่สูงกว่า แต่มีปริมาณซัลเฟอร์ น้อยกว่า การทดลองหาองค์ประกอบของแก๊สเชื้อเพลิงสังเคราะห์ การทดลองการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงชีวมวล และการทดลองผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเครื่องยนต์ ทางตาลโตนดได้ผลการทดสอบที่ดี โดยมีค่าใกล้เคียงกับเชื้อเพลิงอัดเม็ด ผลจาการทดลองพบว่า ทางตาลโตนดมีความเหมาะสมที่จะนำมาเป็นเชื้อเพลิงแก๊สชีวมวลสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้ามากที่สุด ในส่วนอื่นของวัสดุนั้นก็สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงแก๊สชีวมวลได้เช่นกัน แต่จะต้องมีการอัดขึ้นรูป หรือแปลงสภาพให้เหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน
บทคัดย่อ (EN): This research project aims at studying the production of electricity with biomass gasification furnace, with a lot of residues of Sugar Palm in agricultural areas of Phetchaburi Province. The experiment was conducted as follows. Experiments in the Proximate Analysis were compared to a fuel chaff. The results showed that the waste form Sugar palm was higher heating value than the amount of rice husk and ash content was lower heating value than rice husk. Experiments in the Ultimate Analysis were compared to a fuel chaff. The results showed that the waste from Sugar palm with the Carbon and Hydrogen was higher heating value than the amount of rice husk. As a result, the heat of combustion was higher. But sulfur content was low. Experiments to determine the composition of the synthesis gas, the combustion of biomass fuels and Production of electricity by the engine. Petioles test’ results were good which was closer to the wood pellets. The result showed that The Petioles of Sugar Palm is appropriate to adopt a biomass fuel gas for the production of electricity. It can be used as fuel gas and biomass as well. But it must be an extrusion or converted to fit the pattern of use.
วิธีการจ้างทำงานวิจัย: ได้รับทุนวิจัย
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2557-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
วัสดุเหลือใช้จากตาลโตนดมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตไฟฟ้าชีวมวล
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
30 กันยายน 2557
สารลดแรงตึงผิวชีวมวลจากน้ำมันรำข้าว การพัฒนาการผลิตวัตถุดิบและการแปรรูปผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยผงสาเร็จรูป ระบบสาธิตการเพิ่มอุณหภูมิของความร้อนเหลือทิ้งโดยใช้เทคนิคปั๊มความร้อน สำหรับผลิตไฟฟ้าด้วยวัฏจักรแรงคิน พฤติกรรมแรงเค้น ความเครียดและการรับกำลังของขยะชีวมวลประเภทเถ้าปาล์มน้ำมันปรับปรุงคุณภาพด้วยหินฝุ่นและปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ประเภท 1 เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุมวลเบา ศึกษาการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งประเภททอรี่ไฟล์ทดแทนถ่านหินจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรเพื่อลดปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ การเพิ่มค่าความร้อนของโปรดิวเซอร์แก๊สที่ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรผ่านกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันโดยใช้ไอน้ำ ศักยภาพชีวมวลของวัชพืช ในพื้นที่ลำน้ำเข็ก จังหวัดพิษณุโลกเพื่อใช้เป็นพืชพลังงานทางเลือกและการผลิตไบโอเอทานอล การวิจัยการผลิตไพลแบบบูรณาการ การเพิ่มคุณภาพชีวมวลเหลือใช้ทางการเกษตรโดยกระบวนการเพิ่มความหนาแน่นและทอร์รีแฟคชั่นสำหรับการผลิตไฟฟ้าเพื่อชุมชน พัฒนาการผลิตพรรณไม้น้ำปลอดไส้เดือนฝอยศัตรูพืชเพื่อการส่งออก

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก