สืบค้นงานวิจัย
การนำน้ำที่ผ่านการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามกลับมาใช้ใหม่
ณัฐพงค์ วรรณพัฒน์ - กรมประมง, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
ชื่อเรื่อง: การนำน้ำที่ผ่านการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามกลับมาใช้ใหม่
ชื่อเรื่อง (EN): Nursing of Giant Freshwater Prawn Larvae
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ณัฐพงค์ วรรณพัฒน์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: สุขุม ปะทักขินัง
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การนำน้ำที่ผ่านการอนุบาลลููกกุ้งก้ามกรามกลับมาใช้ใหม่ ดำเนินการทดลองที่สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดชัยภูมิ ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2550 ในบ่อซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตรระดับน้ำสูง 50 เชนติเมตร ใช้ลูกกุ้งฟักออกจากไข่อายุ 1 วัน อัตราปล่อย 110,200 ตัวต่อบ่อ (70 ตัวต่อลิตร) จำนวน 2 ชุดการทดลองๆ ละ 6 ซ้ำ ได้แก่ น้ำที่ไม่ผ่านการใช้ และน้ำที่ผ่านการอนุบาลมาแล้ว 1 ครั้ง มาตกตะกอนด้วยปูนขาว 10 ppm EDTA 10 ppm และคลอรีนผง 30 ppm ให้อาร์ทีเมียและไข่ตุ๋นเป็นอาหารตลอดการทดลอง พบว่าลูกกุ้งก้ามกรามในแต่ละชุคการทดลองเริ่มคว่ำในระยะเวลา 16.33±0.51 และ 16.50±0.54 วัน มีความยาวเฉลี่ย 8 93 ±0 25 และ 8.83 ±0.23 มิลลิเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 5.10±0.04 และ 5.100.06 มิลลิกรัม และอัตราการเจริญเดิบโตจำเพาะต้านน้ำหนัก เท่ากับ 11.97032 และ 11.96±0.4 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ จำนวนลูกกุ้งคว่ำเฉลีย 30,113±9,595 และ 32,647±16,194 ตัว และอัตราการรอดตายเฉลี่ย 27.33 ±8.70และ 29.62±14.69 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ความยาวสุดท้ายเฉลี่ย น้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะด้านน้ำหนัก ระยะเวลาเริ่มคว่ำเฉลี่ย จำนวนลูกกุ้งคว่ำเฉลี่ย และอัตราการรอดตายเฉลี่ย ไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) ในด้านต้นทุนการผลิต พบว่าต้นทุนอนุบาลลูกกุ้งต่อตัวโดยใช้น้ำที่ไม่ผ่านการใช้และน้ำที่ผ่านการอนุบาลมาแล้ว เท่ากับ 0.071 และ 0.056 บาท ตามลำดับ จากผลการทดลองสรุปได้ว่า สามารถใช้น้ำที่ผ่านการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม 1 ครั้งกลับมาใช้ใหม่ได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2551
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551
เอกสารแนบ: http://inlandfisheries.go.th/research/details.php?id=222
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การนำน้ำที่ผ่านการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามกลับมาใช้ใหม่
กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด, กรมประมง
2551
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
เอกสารแนบ 3
อัตราส่วนที่เหมาะสมในการนำน้ำทะเลสังเคราะห์ที่ผ่านการใช้อนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามกลับมาใช้ใหม่ โครงการการผลิตกุ้งก้ามกรามปลอดโรค การใช้น้ำหมักชีวภาพอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม การศึกษาการแพร่กระจายเชื้อไวรัส Macrobrachium rosenbergii Nodavirus (MrNV) ในฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลของการเสริมฮอร์โมน ซีโรโทนิน (5-hydroxytryptamine )ในอาหารไข่ตุ๋นต่อการเจริญเติบโต และการพัฒนาของกุ้งก้ามกรามวัยอ่อน คุณลักษณะของ Complementary DNAs (cDNAs) และการตอบสนองต่อการเกิดความเครียดของยีน Heat Shock Protein 40, 90 และ Glucose Regulated Protein 78 ในกุ้งก้ามกราม ผลของน้ำที่ผ่านระบบบำบัดต่อการอนุบาลกุ้งก้ามกรามวัยอ่อน ผลของสีของภาชนะและสีของน้ำในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม องค์ประกอบแร่ธาตุหลักในน้ำทะเลเปรียบเทียบกับน้ำเกลือสินเธาว์ เพื่อการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม การอนุบาลลูกกุ้งก้ามกรามในอัตราความหนาแน่น 3 อัตรา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก