สืบค้นงานวิจัย
ชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยเพื่อการจัดการทรัพยากร ในพื้นที่ชุ่มน้ำกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยเพื่อการจัดการทรัพยากร ในพื้นที่ชุ่มน้ำกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่อง (EN): Some Biological Aspects of Lanchester’s Freshwater Prawn for Resources Management in Kwan Phayao Wetland, Phayao Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กัญญาณัฐ สุนทรประสิทธิ์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kanyanat Soontornprasit
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตและชีววิทยาการสืบพันธุ์ของกุ้งฝอยในพื้นที่กว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ทำการสำรวจโดยสุ่มกุ้งฝอยจำนวน 4,128 ตัว จากชาวประมง ทุกเดือนเป็นระยะเวลา 12 เดือนระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2560 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป FiSATII (FAO-ICLARM Stock Assessment Tools) พบว่าผลการศึกษาความยาวตัวและน้ำหนักตัว มีความสัมพันธ์ตามสมการ W = 0.0107 TL2.7073 (R2= 0.9284, n = 4,128) มีอัตราส่วนเพศผู้ต่อเพศเมียเท่ากับ 1:1.21 ขนาดเจริญพันธุ์พบว่าสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปีโดยช่วงที่มีจำนวนของแม่กุ้งที่มีไข่มากที่สุดในเดือน เมษายน-กันยายน ขนาดของแม่กุ้งมีไข่ที่เล็กที่สุดมีความยาวตัว 2.0 เซนติเมตร และน้ำหนักตัว 0.11 กรัมส่วนขนาดใหญ่ที่สุดมีความยาวตัว 6.2 เซนติเมตร และน้ำหนักตัว 1.62 กรัม อัตราการนำมาใช้ประโยชน์เท่ากับ 0.74 ขนาดความยาวที่สมบูรณ์เพศอย่างน้อย 50 เปอร์เซ็นต์ (Lm) เท่ากับ 3.33 เซนติเมตร โดยผลจับของกุ้งฝอยร้อยละ 43.0 มีขนาดเล็กกว่าขนาดแรกสืบพันธุ์ เครื่องมือทำการประมงกุ้งฝอย ได้แก่ ไซกุ้ง ช้อนกุ้ง และหลง มีผลจับกุ้งฝอยเฉลี่ย 2.4±0.7 กิโลกรัมวัน/ราย ซึ่งหลง (อีแอบ) เป็นเครื่องมือที่มีผลจับเฉลี่ยมากที่สุด 3.2±2.0 /วัน/ราย รองลงมา คือ ช้อนกุ้ง และไซกุ้ง มีผลจับเฉลี่ย 2.5±1.3 และ 1.5±0.6 กิโลกรัม/วัน/ราย ตามลำดับ ดังนั้นควรดำเนินการจัดการประมงกุ้งฝอยในกว๊านพะเยาอย่างเร่งด่วน โดยการควบคุมปริมาณการลงแรงทำการประมงให้สอดคล้องกับขนาดประชากรของกุ้งฝอย
บทคัดย่อ (EN): The purpose of this research was to study growth and reproductive biology of Macrobrachium lanchesteri de Man in Kwan Phayao Wetland, Phayao Province. The results were derived from catchment data and field information of 4,128 prawn samples collected monthly during January 2017 to December 2017. The samples were analyzed by FiSATII program (FAO-ICLARM Stock Assessment Tools). The relationship of body weight and total length was W = 0.0107TL2.7073 (R2 = 0.9284, n = 4,128). The sex ratio of males to females was 1:1.21. The maturity study indicated that this species spawned year round with a peak during April to September. The minimum size of gravid females was 2.0 cm in total length and 0.11 g in body weight. The maximum size of gravid females was 6.2 cm in total length and 1.62 g in body weight. The rate of exploitation was 0.74. The average length at 50% maturity (Lm) of M. lanchesteri in the Kwan Phayao was 3.33 cm. Forty percent of the catch composition measured less than the average length at 50% maturity. The fishing gears used were prawn traps (Sai Kung), scoop nets with old gillnets (Chon Kung), and tighter net traps (Lhong/E-abb), main fishing gears employed by the fishermen. The average daily prawn catch per fisherman was 2.4±0.7 kg. Lhong/E-abb had the highest catch efficiency followed by Chon Kung and Sai Kung with averages of 3.2±2.0, 2.5±1.3 and 1.5±0.6 kg per day per fisherman, respectively. In conclusion, the most urgent fishery management measure to be taken in this wetland should be controlling the amount of fishing effort based on the stock size of fishery resources.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2561
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2562
เอกสารแนบ: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/agkasetkaj/article/view/249768/170632
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยเพื่อการจัดการทรัพยากร ในพื้นที่ชุ่มน้ำกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2562
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การศึกษาชีววิทยาบางประการของกุ้งฝอยในกว๊านพะเยา การใช้ประโยชน์ทรัพยากรประมงในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา พลวัตประชากรปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงสร้างและการกระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลาในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา การกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา (ชื่อเดิม ชีววิทยาการกินอาหารของปลาชนิดเด่นในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา) การเพาะเลี้ยงกุ้งฝอยในระบบน้ำหมุนเวียนแบบปิด โครงสร้างประชาคมปลาและประสิทธิภาพผลจับจากเครื่องมือข่ายในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา แนวทางการจัดการทรัพยากรประมงด้วยการประเมินแบบจำลองลำดับชั้นอาหาร ในกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ชุ่มน้ำ จังหวัดชัยนาท

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก