สืบค้นงานวิจัย
โรครากเน่าโคนเน่าของยางพาราและการควบคุม
พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์ - การยางแห่งประเทศไทย
ชื่อเรื่อง: โรครากเน่าโคนเน่าของยางพาราและการควบคุม
ชื่อเรื่อง (EN): Collar and Root Rot Disease of Hevea brasiliensis and Its Control
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: พเยาว์ ร่มรื่นสุขารมย์
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: อาการรากเน่าโคนเน่าของยางพาราที่ตรวจพบในสวนยางภาคตะวันออก มีเชื้อราที่เป็นสาเหตุ 2 ชนิด คือ Phytophthora sp. และ Phellinus noxius เชื้อราสองชนิดนี้ทำลายโคนต้นและระบบรากจนกระทั่งทำให้ต้นยางตายได้เช่นเดียวกัน แต่มีลักษณะการเข้าทำลายแตกต่างกัน โดยเชื้อรา Phytophthora sp. จะเข้าทำลายต้นยางเมื่อมีบาดแผล จึงพบรอยแตกของเปลือก มีน้ำยางไหล และมีน้ำยางจับตัวเป็นแผ่นอยู่ใต้เปลือก มีกลิ่นเหม็น เนื้อไม้ที่อยู่ใต้เปลือกมีสีน้ำตาลเข้ม โดยทั่วไปพบการเกิดโรคในแปลงเพียง 1-2 ต้นเท่านั้น และไม่ปรากฏว่ามีการแพร่ขยายไปยังต้นข้างเคียง ส่วนอาการโรคที่เกิดจากเชื้อรา P. noxius นั้น อาจพบต้นเดียว หรือมีการขยายลุกลามติดต่อกันหลายต้น ซึ่งส่วนใหญ่มักพบการแพร่ขยายในแถวเดียวกัน โดยเปลือกบริเวณโคนต้นยุบตัวลง เป็นรอยช้ำสีน้ำตาลมีลักษณะเปื่อยยุ่ยขยายลึกเข้าไปถึงเนื้อไม้ ผิวด้านในของเปลือก พบเส้นสีน้ำตาลเข้มสานเป็นร่างแห เนื้อไม้มีลักษณะยุ่ย มีลายเส้นสีน้ำตาลแทรกอยู่ในเนื้อไม้ อาจพบอาการลุกลามขึ้นบนส่วนลำต้นได้จนถึงระดับความสูงจากพื้นดิน 1 เมตร จึงทำให้ต้นยางหักล้มได้ง่าย ต้นที่เป็นโรคบางต้นแสดงอาการใบเหลืองให้เห็นเช่นเดียวกับโรครากชนิดอื่นๆ แต่ส่วนใหญ่เมื่อเชื้อเข้าทำลายไม่รุนแรงมักไม่แสดงอาการที่ใบ เชื้อสาเหตุโรคสามารถเจริญได้ในช่วง pH กว้าง การทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อราที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ P. noxius ในห้องปฏิบัติการ พบว่าสาร cyproconazole ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อได้ดีที่สุด รองลงมาได้แก่ difenoconazole, prochloraz, triflumizole การนำสาร cyproconazole ไปใช้ควบคุมโรคในแปลงเกษตรกรตามคำแนะนำ พบว่าสามารถควบคุมการขยายตัวของโรคได้ดี โดยต้องใช้สารเคมีอย่างน้อย 2-3 ครั้ง การแยกเชื้อรา Trichoderma sp. จากดินในสวนยาง และนำมาทดสอบการเป็นปฏิปักษ์กับเชื้อรา P. noxius ในห้องปฏิบัติการ พบว่า มีเชื้อรา Trichoderma sp. 5 สายพันธุ์ ที่ยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดี และสามารถเจริญปกคลุมเชื้อสาเหตุโรคได้เมื่ออายุ 7 วัน เมื่อนำมาเลี้ยงขยายบนข้าวเจ้า และข้าวฟ่างนึ่งสุกสามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่เมื่อนำมาผสมปุ๋ยคอกในสัดส่วน 1:10 โดยน้ำหนัก แล้วนำมาคลุกลงดินในสัดส่วน 1:4 ใส่ในกระถางที่ควบคุมให้ดินมีความชื้นพอเหมาะ พบว่าในช่วงสัปดาห์แรกเชื้อมีการขยายตัวในดินได้ดี แต่ต่อมาประชากรของเชื้อ Trichoderma sp. ลดลงอย่างรวดเร็ว จึงยังไม่สามารถนำไปใช้ทดลองควบคุมโรคในเรือนทดลองและในแปลงปลูกได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: ม.ป.ป.
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: ม.ป.ป.
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: การยางแห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โรครากเน่าโคนเน่าของยางพาราและการควบคุม
การยางแห่งประเทศไทย
ไม่ระบุวันที่เผยแพร่
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546 การศึกษาเบื้องต้นในการส่งถ่ายยีนเข้าสู่ยางพาราด้วยเทคนิค Agrobacterium transformation การยับยั้งอย่างจำเพาะเจาะจงต่อการแสดงออกของยีน Rubber Elongation Factor (REF) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนก่อภูมิแพ้ในยางพาราด้วยเทคโนโลยีแอนติเซน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาควบคุมโรครากเน่า-โคนเน่าในส้มโอของเกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม ปี 2546 การคัดเลือก และการขยายพันธุ์ต้นตอยางพาราที่ต้านทานโรครากขาว และการควบคุมโรคโดยชีววิธี การแสดงออกของยีนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมความต้านทานต่อเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรครากขาวในยางพารา ศึกษารูปแบบการระบาดและปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่ระบาดของโรครากขาวในยางพาราที่เกิดจากเชื้อ Rigidoporus lignosus และผลของสารเคมีและเชื้อปฏิปักาที่มีผลต่อการควบคุมโรค ผลของการใช้เชื้อจุลินทรีย์ร่วมกับไคโตซานในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรครากเน่าโคนเน่าของยางพารา ประสิทธิภาพของไคโตซานต่อการควบคุมโรคใบร่วงของต้นกล้ายางพารา การพัฒนาแนวทางในการควบคุมโรคลำต้นเน่าของปาล์มน้ำมันที่เกิดจากเชื้อสาเหตุ Ganoderma spp.

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก