สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการน้ำและค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3
กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ - มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ชื่อเรื่อง: ความต้องการน้ำและค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3
ชื่อเรื่อง (EN): Water requirement and Kc values of Khon Kaen 3 sugarcane variety
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กอบเกียรติ ไพศาลเจริญ
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Kobkiet Paisancharoen
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN):
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: ศึกษาหาค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำ (Kc) ของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่ปลูกบนดินร่วนปนทรายชุดดินวาริน (Fine-loamy, siliceous Typic Kandiustults) ณ แปลงทดลองของศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2552 ถึง ธันวาคม 2554 วางแผนทดลองแบบ Randomized Complete Block จำนวน 3 ซ้ำ ประกอบด้วยวิธีการ 1) ปลูกอ้อยโดยอาศัยน้ำฝน 2) ปลูกอ้อยโดยให้น้ำเสริม (ระบบน้ำหยด) 12.5% ของความจุความชื้น ที่เป็นประโยชน์สูงสุดของดินภายในระดับความลึก 1 เมตร (Available water capacity; AWC) เมื่ออ้อยอายุ 30-240 วัน 3) ปลูกอ้อยโดยให้น้ำเสริม 25.0% ของ AWC 4) ปลูกอ้อยโดยให้น้ำเสริม 37.5% ของ AWC 5) ปลูกอ้อยโดยให้น้ำเสริม 50.0% ของ AWC และ 6) ไม่ปลูกอ้อย โดยวิธีการที่ 1-5 ใส่ปุ๋ยเคมี 24-9-18 กก. N-P2 O5 -K2 O /ไร่ ให้น้ำทุก 7 วันตาม กรรมวิธีโดยตรวจวัดปริมาณความชื้นดินก่อนให้น้ำทุกครั้ง ผลการทดลอง พบว่า อ้อยปลูกตอบสนองต่อการให้น้ำโดย ให้ผลผลิตเฉลี่ย 28.8-35.0 ตัน/ไร่ แตกต่างจากวิธีการไม่ให้น้ำ (20 ตัน/ไร่) อย่างมีนัสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยวิธีการให้น้ำเสริมประมาณ 37.5% ของ AWC หรือมีปริมาณการใช้น้ำ 1,620 มม./ฤดูปลูก มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงสุด 35.0 ตัน/ไร่ ดังนั้นอ้อยปลูกมีประสิทธิภาพการใช้น้ำสูงสุดเท่ากับ 74.1 ลบ.ม./ตันอ้อย ให้ค่า Kc ของอ้อยปลูกพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่ระยะ ตั้งต้น (0-75 วันหลังปลูก) ระยะแตกกอ (76-195วัน) ระยะสร้างน้ำตาล (196-285วัน) และระยะสุกแก่ (286-375วัน) เฉลี่ย 0.34, 0.74, 1.52 และ 0.83 ตามลำดับ และพบว่า อ้อยตอ1 ตอบสนองต่อการให้น้ำ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 20.1-21.1 ตัน/ไร่ แตกต่างจากวิธีการไม่ให้น้ำ (14.5 ตัน/ไร่) อย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ โดยวิธีการให้น้ำเสริมประมาณ 25.0% ของ AWC หรือมีปริมาณการใช้น้ำ 1,703 มม./ฤดูปลูก มีแนวโน้มให้ผลผลิตสูงสุด 21.1 ตัน/ไร่ ดังนั้นอ้อยตอ1 มีประสิทธิภาพการใช้น้ำสูงสุดเท่ากับ 129.3 ลบ.ม./ตันอ้อย ให้ค่า Kc ของอ้อยตอ1 พันธุ์ขอนแก่น 3 ที่ระยะตั้งต้น (0-45วัน) ระยะพักตัว (46-120 วัน) ระยะแตกกอ (121-225วัน) ระยะสร้างน้ำตาล (226-330วัน) และระยะสุกแก่ (331-360วัน) เฉลี่ย 0.69, 0.39, 0.84, 2.28 และ 0.75 ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): The water requirement for plant cane and ratoon cane of Khon Kaen 3 sugarcane variety was studied on Fine-loamy, siliceous Typic Kandiustults namely Warin soil series at Khon Kaen Field Crops Research Center (KKFCRC) since November, 2009 to December, 2011. Plot experimental design was RCB with 3 replications and 6 treatments, consisted of 1) No water (rain-fed condition as control) 2) Supplemental water by drip irrigation as 12.5% of available water capacity (AWC) level from 30-240 DAP 3) Supplemental water as 25.0% of AWC 4) Supplemental water as 37.5% of AWC 5) Supplemental water as 50.0% of AWC and 6) Bare soil. Weekly crop water uptakes for sugarcane and soil evaporation were recorded from the plots of 9x9 m and the crop coefficient (Kc) was re-derived. Reference crop evapotranspiration (ETo) was also determined using Blaney-Criddle (FAO) method from daily weather data gathered from the KKFCRC agro-meteorological station with 0.3 km nearby the experiment. The total plant cane water consumption was 1,620 mm/crop and the average of maximum yield was obtained 35.0 t/rai at the 37.5% AWC treatment. Water use efficiency (WUE) was 74.1 cu.m/t. The locally determined Kc values were 0.34, 0.74, 1.52, and 0.83 for initial, tillering or development, grand or mid and mature (late) sugarcane growth stages, respectively. For the total ratoon cane consumption, was 1,703 mm/crop and the average of maximum yield was obtained 131.9 t/ha at the 25.0% AWC treatment. Water use efficiency (WUE) was 129.3 cu m/t. The locally determined Kc values were 0.69, 0.39, 0.84, 2.28, and 0.75 for initial, seedling adaptation, tillering or development, grand or mid and mature (late) sugarcane growth stages, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2554
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2555
เอกสารแนบ: https://ag2.kku.ac.th/kaj/PDF.cfm?filename=152.pdf&id=642&keeptrack=12
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการน้ำและค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3
ไม่ระบุผู้เผยแพร่
2555
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ความหลากหลายและสัมพันธ์ทางพันธุกรรมระหว่างอ้อยพันธุ์การค้า ในประเทศไทย ผลของพันธุ์อ้อยต่อประสิทธิภาพการควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอ ศึกษาผลผลิต น้ำคั้น และชานอ้อยในอ้อยพันธุ์ขอนแก่น 3 และอ้อยลูกผสมอ้อยป่า (Saccharum spontaneum) ถั่วลิสงพันธุ์ ขอนแก่น 84-7 ศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การเจริญพันธุ์ของปลาดุกลำพัน การวิจัยและพัฒนาเครื่องผ่ากออ้อยและการใช้สารควบคุมการเจริญเติบโตของอ้อยตออย่างแม่นยำ สมบัติของชั้นดานไถพรวนในดินปลูกมันสำปะหลังและอ้อยจังหวัดขอนแก่น ลักษณะการดูดซับโพแทสเซียมของดินที่ใช้ปลูกอ้อยในจังหวัดสระแก้ว ผลของการปลูกอ้อยแบบร่วมพันธุ์ต่อการให้ผลผลิตในอ้อยตอ1 ผลของการเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอ้อยต่อคุณสมบัติเคมีบางประการของดิน กรณีศึกษา : อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก