สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
ไกรสิงห์ ชูดี - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development of Production Technology for Asparagus
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ไกรสิงห์ ชูดี
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2554-2558 ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรีและแปลงเกษตรกรในจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการควบคุมหนอนกระทู้หอมในหน่อไม้ฝรั่ง และคัดเลือกสายต้นหน่อไม้ฝรั่งที่ให้ผลผลิตสูงและคุณภาพผลผลิตดี ประกอบด้วย 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 เป็นการใช้มวนเพชฌฆาต (Sycanus versicolor Dohrn.) ควบคุมหนอนกระทู้หอมในหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งปรากฏว่า การปล่อยตัวอ่อนมวนเพชฌฆาตวัย 4 อัตรา 3 ตัว/กอ ร่วมกับการพ่น Bt อัตรา 80 กรัม/น้ำ 20 ลิตร สามารถลดจำนวนหนอนกระทู้หอมลงได้มากที่สุดถึง 94.37% และมีประสิทธิภาพในการควบคุมหนอนกระทู้หอมสูงที่สุด คือ 80.54% เมื่อเปรียบเทียบกับการพ่นสาร chlorfluazuron อัตรา 30 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร ซึ่งลดจำนวนหนอนกระทู้หอมได้เพียง 70.39% การทดลองที่ 2 เป็นการรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์หน่อไม้ฝรั่ง โดยรวบรวมเมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งพันธุ์ดีจากแหล่งปลูกสำคัญในจังหวัดกาญจนบุรี นำมาปลูกและคัดเลือกด้วยวิธีคัดเลือกรวมและวิธีคัดเลือกแบบต้นต่อแถว สามารถคัดเลือกสายต้นหน่อไม้ฝรั่งที่มีลักษณะตามต้องการจำนวน 9 สายต้นได้แก่ KC207xB2, KC208-24, KC210-6, KC417-4, KC419-22, KC420xB4, KC521-8, KC522-21 และ KC525xB5 โดยทุกสายต้นมีการเกิดโรคลำต้นไหม้ต่ำกว่า 5% หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตเป็นเวลา 9 เดือนพบว่า ทุกสายต้นให้ผลผลิตรวมอยู่ในช่วง 265.60-401.28 กก./ไร่ โดยสายต้นที่ให้ผลผลิตเกรด A ตูมสูงที่สุด 4 อันดับแรกคือ KC417-4, KC521-8, KC208-24 และ KC522-21 ซึ่งให้ผลผลิต 80.32, 64.32, 60.16 และ 52.48 กก./ไร่ ตามลำดับ
บทคัดย่อ (EN): Research and development project of asparagus production technology was conducted during 2011-2015 at Kanchanaburi Agricultural Research and Development Center and at Kanchanaburi’s asparagus farm. The objective of this project was to find out how to control beet armyworm amount with assassin bug use and to select asparagus clones that gave high yield and good quality. The project consisted of 2 experiments. Experiment 1 was utilization of assassin bug (Sycanus versicolor Dohrn.) for beet armyworm (Spodoptera exigua Hubner.) control in asparagus. It was occurred that releasing assassin bug in the rate of 3 nymphs/clump+ spraying Bt in the rate of 80 g/20 l water was able to reduce beet armyworm amount 94.37% and had the highest efficiency control 80.54%, while compared with spraying chlorfluazuron in the rate of 30 ml/20 l water that was able to reduce beet armyworm amount just 70.39%. Experiment 2 was collection and selection of asparagus. The good asparagus seeds were collected from important sources in Kanchanaburi to plant and select by mass selection and plant-to-row selection methods. The 9 required characteristic clones include KC207xB2, KC208-24, KC210-6, KC417-4, KC419-22, KC420xB4, KC521-8, KC522-21 and KC525xB5 were found and all had less than 5% stem blight disease occurrence. After harvesting for 9 months, it was revealed that all clones gave total yield amount in the range of 265.60-401.28 kg/rai. The 4 promising clones consisted KC417-4, KC521-8, KC208-24 and KC522-21 those gave the best class yield amount as 80.32, 64.32, 60.16 and 52.48 kg/rai, respectively.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย การใช้เทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งอินทรีย์เพื่อการส่งออก การผลิตและการตลาดหน่อไม้ฝรั่งของสมาชิกโครงการเร่งรัดการผลิตหน่อไม้ฝรั่งในอำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ปี พ.ศ.2531 สภาพการผลิตหน่อไม้ฝรั่งของเกษตรกร ในจังหวัดร้อยเอ็ด โครงการวิจัยและพัฒนาส้มเกลี้ยงจังหวัดลำปาง โครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตฝรั่ง การผลิตและการตลาดหน่อไม้ฝรั่งของสมาชิกโครงการเร่งรัดการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง ใน อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ปี พ.ศ.2531 โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง ชุดโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตหน่อไม้ฝรั่งและกระเจี๊ยบเขียว เทคโนโลยีการผลิตพืชแห่งศตวรรษที่ 21

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก