สืบค้นงานวิจัย
โครงการวิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุลอื่นๆที่มีศักยภาพ
กรมวิชาการเกษตร - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: โครงการวิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุลอื่นๆที่มีศักยภาพ
ชื่อเรื่อง (EN): Research and Development Project for Potential Orchid Species
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: กรมวิชาการเกษตร
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุลอื่นๆที่มีศักยภาพประกอบด้วย 2 กิจกรรม ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้และการเพิ่มประสิทธิภาพการขยายพันธุ์และการผลิตกล้วยไม้ ดำเนินการระหว่างปี 2554-2558 ในกล้วยไม้ต่างๆ ดังนี้ สกุลช้าง สกุลซิมบีเดียม สกุลสแปโทกลอททิส สกุลลิ้นมังกร สกุลเอื้องพร้าว และสกุลคาเเลนเธ มีผลการดำเนินการดังนี้ สกุลช้างมีการกรวบรวมและคัดเลือกพันธุ์กล้วยช้างไว้จำนวน 4 ต้น เขาแกะ 4 ต้น ไอยเรศ จำนวน 6 ต้น สกุลซิมบีเดียมมีการรวบรวมพันธุ์ทั้งพันธุ์แท้และลูกผสม จากนั้นสร้างลูกผสมระหว่างซิมบิเดียมที่รวบรวมได้ลูกผสมจำนวนหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่มีประสบปัญหาการผสมข้ามค่อนข้างมากในการผสมกับลูกผสมต่างประเทศ สกุลสแปโทกลอททิส คัดเลือกลูกผสมชุดที่ 3 สำหรับใช้เป็นไม้กระถางและไม้ประดับแปลงได้ 25 ต้นจาก 13 คู่ผสม และได้ต้นลูกผสมที่มีศักยภาพนำมาพัฒนาต่อโดยการผสมพันธุ์เพิ่มเติมจำนวน 11 ต้นจาก 5 คู่ผสม และได้พันธุ์ใหม่ที่เหมาะสมเป็นไม้กระถาง 5 พันธุ์ ส่วนการปรับปรุงพันธุ์กล้วยไม้สกุลลิ้นมังกรได้คัดเลือกต้น ผสมข้ามและผสมตัวเองจนได้ฝักจำนวนมากและเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อ ลูกผสมจำนวนหนึ่งได้นำออกปลูกและสามารถประเมินได้ในเบื้องต้น สกุลคาแลนเธ ผสมข้ามชนิดได้ 4 คู่ผสม ประกอบด้วย Phaiustankervilleae tankervilleae x P. tankervilleaevar. alba, P. tankervilleae var. alba x P. tankervilleae, P. mishmensis x P. tankervilleaevar. alba และ P. tankervilleae var. alba x P. mishmensis และมีต้นรอดชีวิตจากการฉายรังสีจำนวนหนึ่งหลังย้ายปลูก สกุลคาเเลนเธมีการผสมข้ามชนิดได้หลายคู่ผสม เช่น C. rubens x C. rosea, C. rosea x C. rubens, C. vestita x C. cardioglossa, C. cardioglossa x C. vestita และ C. sylvatica x C. vestita และนำลูกผสมออกปลูกแล้วบางส่วน ขณะที่การขยายพันธุ์และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พบว่า สูตรอาหารที่เหมาะสมในการเพาะลิ้นมังกร คือ สูตร VW ดัดแปลง ที่มีการเติมน้ำมะพร้าวปริมาณ 150 มิลลิลิตร/ลิตร ร่วมกับการเติม peptone 1 กรัม/ลิตร แต่การเพาะเมล็ดกล้วยไม้สกุลลิ้นมังกรหลายชนิดในสภาพธรรมชาติ พบว่า ไม่สามารถทำให้งอกเป็นต้นได้ การเก็บหัวพันธุ์ควรเก็บไว้ในเครื่องปลูกเดิมและรดน้ำเล็กน้อยเป็นระยะๆระหว่างการพักตัว ส่วนการทำลายการพักตัวของหัวพันธุ์ ลิ้นมังกรใช้ GA อัตรา 40 ppm แช่หัวพันธุ์นาน 10 นาทีก่อนนำไปเพาะในที่มืด ขณะที่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใช้ชิ้นส่วนตาที่ข้อก้านช่อดอกที่สมบูรณ์ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตรVW + BA 2.0 mg/L + NAA 0.5 mg/L สามารถชักนำให้เกิดต้นอ่อนได้ 20% ส่วนการใช้ GA และ BA กับซิมบิเดียมไม่สามารถกระตุ้นให้ออกดอกได้ และการควบคุมโรคเน่าดำของกล้วยไม้ดินสกุลสแปโทกลอททิส พบว่า สารเมทาแลคซิล 25 % WP อัตรา 40 กรัม /น้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 15 วัน ควบคุมโรคได้ดีที่สุด นอกจากนี้การใช้สารชีวภัณฑ์
บทคัดย่อ (EN): No information found from agency.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2553-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558-09-30
เอกสารแนบ: http://dric.nrct.go.th//Search/SearchDetail/292765
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
โครงการวิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุลอื่นๆที่มีศักยภาพ
กรมวิชาการเกษตร
30 กันยายน 2558
เอกสารแนบ 1
โครงการการเพาะเมล็ดกล้วยไม้รองเท้านารีในสภาพปลอดเชื้อ โครงการวิจัยและพัฒนาวัสดุปลูกสำหรับกล้วยไม้ การวิจัยและพัฒนาเครื่องลดความชื้นช่อดอกกล้วยไม้แบบอุโมงค์ลม ชุดโครงการวิจัยและพัฒนากล้วยไม้ การวิจัยและพัฒนากั้งตั๊กแตนเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ การวิเคราะห์ชนิดของเม็ดสีแอนโทไซยานิน ในกล้วยไม้ป่า และกล้วยไม้ตัดดอกของไทย เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์และเทคโนโลยีขยายพันธุ์กล้วยไม้เอื้องแซะ โครงการวิจัยและพัฒนากล้วยไม้สกุลแวนด้าเพื่อการค้า การเพิ่มศักยภาพพื้นที่สวนปาล์นำมันเพื่อปลูกกล้วยไม้เชิงพานิชย์ โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำร้อนถ้ำเขาพลู

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก