สืบค้นงานวิจัย
ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน
ไพศาล ศุภางคเสน - กรมวิชาการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน
ชื่อเรื่อง (EN): Relationship between Insect Pests of Maize and Aflatoxin Production-A.Review
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ไพศาล ศุภางคเสน
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Phaisal Supharngkasen
คำสำคัญ: ข้าวโพด
บทคัดย่อ: แมลงศัตรูข้าวโพดที่สำคัญ 4 ชนิด จากรายงานการค้นคว้านั้น สามารถแพร่เชื้อรา Aspergillus spp. ซึ่งเป็นเชื้อราที่สร้างสารพิษแอลฟลาท็อกซินบนเมล็ดข้าวโพด นอกจากการแพร่เชื้อราและทำความเสียหายโดยตรงแล้ว การทำลายของแมลงช่วยเพิ่มปริมาณสารพิษแอฟลาท็อกซินมากขึ้นกว่าการเข้าทำลายของเชื้อราโดยสาเหตุอื่น ๆ ความเสียหายของเมล็ดข้าวโพดที่เกิดจากเชื้อราโดยแมลงพาหะดังกล่าว จะรุนแรงเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิดและแหล่งของเชื้อรา ชนิดและปริมาณของแมลงพาหะ ตำแหน่งที่เชื้อราเข้าทำลาย ส่วนวันปลูกและลักษณะทางกรรมพันธุ์ของข้าวโพดนั้นมีความสัมพันธ์น้อยมากกับการเกิดสาร แอฟลาท็อกซิน การป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อราโดยพ่นสารฆ่าแมลงเพื่อลดปริมาณแมลงศัตรูข้าวโพดนั้น แม้จะลดความเสียหายของเมล็ดข้าวโพดจากสารพิษแอฟลาท็อกซินลงได้ร้อยละ 70 ก็ตาม แต่เป็นวิธีที่ไม่คุ้มทุนที่จะนำมาใช้ปฏิบัติ ส่วนการพ่นเชื้อราที่ไม่ผลิตสารพิษ และพ่นสารกำจัดเชื้อราเพื่อป้องกันการเจริญของเชื้อราโดยหวังจะไม่ให้เชื้อราผลิตสารพิษแอลฟาท็อกซินนั้นปรากฎว่าไม่สามารถป้องกันได้ แมลงศัตรูข้าวโพดที่พบในประเทศไทยที่สมควรจะศึกษาถึงความสัมพันธ์ของเชื้อรา Aspergillus spp. และการเกิดสารพิษ แอฟลาท็อกซินบนเมล็ดข้าวโพดทั้งระยะก่อนและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ ด้วงงวง 2 ชนิด (Sitophilus zeamais Motsch. และ S. oryzae L.) หนอนเจาะฝักข้าวโพด (Heliothis armigera Hubner) และหนอนเจาะลำต้นข้าวโพด (Ostrinia furnacalis Guenee)
บทคัดย่อ (EN): The objective of the review was to summarise the known information on insect pests of maize tha t have an association with aflatoxin contamination of the grain, thereby providing background information for the possible development of alternative control neasures for aflatoxin contamination of corn. The review confirms that four insect species, Heliothis zea (Boddie), Spodoptera frugiperda (J.E. Smith), Ostrinia nubilalis (Hubner) and Sitophilus zeamais Motschuldky, significantly influence aflatoxin contamination of maize through pre-harvest damage to the maize kernels. Apart from causing direct damage to the kernels and thereby facilitating infection, it has been demonstrated that these insects act as vectors for the spores of both A spergillus flavus and A. parasiticus. Infection by A. flavus appears to be associated more with foliage feeding insects, whereas A. parasiticus infection appears to be associated with soil insects. Maize weevils (S. zeamais) appear to be the most important of these insects in relation to increasing both kernel infection and level of aflatoxin. contamination. The level of infection by A. fluvus and level of aflatoxin production in maize kernels during preharvest is strongly influenced by lacation and climatic conditions. Relative resistance and susceptibility of different maize genotypes do not appear to have an influence on the amount of aflatoxin produced. Insecticide application to the silks of developing ears can have a significant effect in reducing aflatoxin contamination through reduced insect damage. However, fungicide application to the silks does not produce any degree of control over either A. flavus infection or aflatoxin formation.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2529
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2529
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมวิชาการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความสัมพันธุ์ของแมลงศัตรูข้าวโพดและแอฟลาท็อกซิน
กรมวิชาการเกษตร
2529
เอกสารแนบ 1
การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดไร่สีม่วงเพื่อผลิตพันธุ์การค้า วันเก็บเกี่ยวข้าวโพดเทียนพันธุ์บ้านเกาะที่ให้คุณภาพฝักและเมล็ดพันธุ์สูงสุด การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดเพื่อเพิ่มคุณภาพโปรตีน การพัฒนาข้าวโพดพันธุ์สังเคราะห์ให้ต้านทานโรคใบไหม้แผลใหญ่ ผลของ Gas–Flush packaging ต่อการควบคุมเชื้อราโรงเก็บและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสม 2 สายพันธุ์ (ระยะที่ 1) ผลของ Gas–Flush packaging ต่อการควบคุมเชื้อราโรงเก็บและคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสม 2 สายพันธุ์ (ระยะที่ 2) ความสามารถในการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานลูกผสมที่สัมพันธ์ กับคุณภาพของเมล็ดพันธุ์ การเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าวโพดหวาน การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวคุณภาพโปรตีนสูง การทดสอบศักยภาพสายพันธุ์แท้ของข้าวโพดคั่ว (Zeamays L.evorata) เพื่อใช้ผลิตเป็นพันธุ์ลูกผสมการค้า ประสิทธิภาพพันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อนที่ปลูกในพื้นที่นาจังหวัดสระแก้ว

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก