สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลตาอ็อง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
นารี ประดุจชนม์ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลตาอ็อง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: นารี ประดุจชนม์
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การวิจัยสภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลตาอ็อง ปี 2545/2546 อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจและสังคม สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 และปัญหาข้อเสนอแนะของเกษตรกร ประชากรได้จาก 16 หมู่บ้าน 1,812 ครัวเรือน ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 182 ครัวเรือน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ให้ข้อมูลเป็นเพศชาย เพศหญิงในสัดส่วนเกือบเท่ากัน มีอายุเฉลี่ย 46 ปี ประมาณครึ่งหนึ่งจบชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2 คน มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 26 ไร่ ทำสวนเฉลี่ย 5 ไร่ ร้อยละ 48.35 เป็นสมาชิกกลุ่มด้านการเกษตร ร้อยละ 40.10 มีการครอบครองที่ดินเป็นของตนเอง มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัว32,000 บาท/ปี สำหรับสภาพการใช้เทคโนโลยีการผลิตมีการใช้พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในพื้นที่ เฉลี่ย 26 ไร่ พันธุ์ข้าว กข. 15 ในพื้นที่เฉลี่ย 32 ไร่ได้ผลผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 4,260 กิโลกรัมต่อครัวเรือน มีรายได้จากการจำหน่ายข้าวขาวดอกมะลิ 105 เฉลี่ย 28,400 บาทต่อครัวเรือน ร้อยละ 26.85 เกษตรกรใช้แหล่งเงินทุนจาก ธ.ก.ส.กับพ่อค้า ร้อยละ 57.10 มีลักษณะดินเป็นดินร่วนปนทราย แหล่งน้ำในการปลูกข้าวใช้น้ำฝนและมีสภาพพื้นที่เป็นที่ดอน มีวิธีการเตรียมดินไถ 1 ครั้ง คราด 1 ครั้ง ร้อยละ 53.80 มีการไถกลบตอซังโดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคม ร้อยละ 45.05 ปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีและอินทรีย์ ร้อยละ 63.70 ไม่มีการปลูกพืชตระกูลถั่วเพื่อปรับปรุงดิน ร้อยละ 53.90 เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง ร้อยละ 63.70 มีการเตรียมเมล็ดพันธุ์ข้าวก่อนปลูกและคัดทำความสะอาด ร้อยละ 54.45 ทำนาหว่าน ร้อยละ 30.80 ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16 - 16 - 8 ร้อยละ 41.80 ใช้ปุ๋ยพืชสด ร้อยละ 51.65ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 สูตร 16 - 16 - 8 อัตรา 20 - 25 กิโลกรัมต่อไร่หลังหว่านข้าว 15 - 20 วันหรือหลังปักดำ 7 - 10 วัน ร้อยละ 53.80 เก็บเกี่ยวข้าวระยะพลับพลึง ร้อยละ66 มีการระบายน้ำออกก่อนเก็บเกี่ยว 10 วัน วิธีการนวดใช้เครื่องนวด และลดความชื้นโดยการตากแดด ร้อยละ 62.64 จำหน่ายข้าวบางส่วนและเก็บไว้รอราคาบางส่วน ร้อยละ 70.88 จำหน่ายโรงสีและพ่อค้า ผลจากการวิจัยพบปัญหาและมีข้อเสนอแนะดังนี้ ปัญหาการขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ดี เกษตรกรเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ทำพันธุ์เอง สำหรับปัญหาดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก พืชปุ๋ยสดหรือการไถกลบตอซังข้าวเพื่อปรับปรุงดิน ปัญหาเมล็ดพันธุ์มีความงอกต่ำ แก้ไขโดยเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์มากขึ้น การขาดแคลนแรงงานแก้ไขโดยเปลี่ยนจากทำนาดำเป็นนาหว่าน ปัญหาด้านโรคแมลงศัตรูข้าวแก้ไขโดยการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน ปัญหาด้านการส่งเสริม เกษตรกรขาดความรู้การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าว ขาดบริการด้านสินเชื่อและขาดการแนะนำด้านตลาด ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่ต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ105 ให้กับเกษตรกรอย่างเน้นหนักมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกษตรกรเกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติในไร่นาตนเองได้อย่างถูกต้อง และส่งเสริมให้เกษตรกรทำแปลงขยายพันธุ์ครอบครัวละ 1 - 2 ไร่ หรือเปลี่ยนพันธุ์ข้าวทุกปีเพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ และจัดอบรมความรู้การป้องกันกำจัดโรค แมลง ศัตรูข้าวแบบผสมผสานให้เกษตรกรตำบลตาอ็อง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์อย่างทั่วถึง
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2545
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2547
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลตาอ็อง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
กรมส่งเสริมการเกษตร
2547
สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ตำบลสำโรง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลบัวค้ออำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ปี 2546/2547 ตำบลโพนครก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ สภาพการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ การใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรตำบลราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เทคโนโลยีในการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของ เกษตรกรตำบลซำ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกร ในอำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี สภาพการผลิตข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของเกษตรกรในอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก