สืบค้นงานวิจัย
ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนของชุมชน ในเขตปฏิรูปที่ดิน กรณีศึกษา: ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
ผกาวดี หนูมาก - สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนของชุมชน ในเขตปฏิรูปที่ดิน กรณีศึกษา: ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่อง (EN): Factors Affecting Participation Levels of Community Forest A Case Study of Ploughthong Sub-district, Bothong District, Chonburi Province
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ผกาวดี หนูมาก
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนของชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วม ในการจัดการป่าชุมชนของชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี ข้อมูลที่ใช้ในการ ศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลทุติยภูมิที่รวบรวมจากเอกสาร บทความ รายงานการวิจัยจาก แหล่งข้อมูลต่างๆ และข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบรายบุคคลด้วยแบบสอบถาม เชิงโครงสร้าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 140 ตัวอย่าง ผู้ศึกษาได้ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยใช้สถิติอย่างง่าย และการวิเคราะห์เชิงปริมาณโดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุน้อยกว่า 30 ปี จบการศึกษาระดับชั้น ประถมศึกษา ประกอบอาชีพหลัก คือ รับจ้างทั่วไป จำนวนสมาชิกในครั่วเรือนเฉลี่ย 3.62 คน มีการย้ายถิ่นฐาน มาจากที่อื่น โดยย้ายมาจากภาคตะวันออกมากที่สุด ระยะเวลาการอาศัยอยู่ในชุมชนโดยเฉลี่ย 24.79 ปี สาเหตุของการย้ายถิ่นฐาน คือ มีญาติคนรู้จักอาศัยอยู่ที่ตำบลพลวงทอง การดำรงตำแหน่งและหน้าที่รับผิดชอบ ในชุมชน คือ กรรมการป่าชุมชน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 9,392.83 บาท มีหนี้สิน ไม่มีพื้นที่ถือครองเป็นที่ดิน ส.ป.ก. ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีพื้นที่ถือครองเป็นที่ดิน ส.ป.ก. มีพื้นที่น้อยกว่า 15 ไร่ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าใช้ ประโยชน์ในป่าชุมชน ส่วนผู้ที่เข้าใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนก็เพื่อหาพืชมาเป็นอาหาร และทราบว่าหากต้องการ จะเข้าไปใช้ประโยชน์จากป้าชุมชนจะต้องขออนุญาตจากกรรมการปาชุมชนเสมอ สำหรับความอุดมสมบูรณ์ ของป่าบริเวณหมู่บ้านเมื่อเปรียบเทียบกับ 5 ปีที่แล้วพบว่ามีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น และความเข้มงวดของ กฎระเบียบอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าป่าชุมชน ควรได้รับการดูแลจากสมาชิกของชุมชนและเคยเข้ารับการอบรม จากเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ ประมาณจำนวน 1-2 ครั้งต่อคน และเห็นว่าป่าชุมชนที่มีสภาพเสื่อมโทรมเกิดจากไฟป่า การป้องกันรักษาป่าซุมชนโดยการทำ แนวกันไฟป้องกันไฟไหม้ป่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ผลกระทบของการทำลายป่าคือเกิดความแห้งแล้ง สำหรับวิธีการให้ชุมชนฟื้นฟูสภาพป่าของเจ้าหน้าที่หรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง คือ การจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ในวันสำคัญต่างๆ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรมการทำแนวกันไฟ และแหล่งความรู้เกี่ยวกับป่าชุมชน คือ กำนัน/ ผู้ใหญ่บ้าน สำหรับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนพบว่า กิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยมีส่วนร่วม คือ การร่วมกำหนดแนวเขตพื้นที่ป่าชุมชน การออกกฎระเบียบ/แผนการจัดการ การเข้าร่วมประชุม อบรม สัมมนา การแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม อบรม สัมมนา การรายงานคณะกรรมการเมื่อพบผู้ทำผิดกฎระเบียบ ส่วนกิจกรรมที่กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมอย่างสม่ำเสมอ คือ การแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการ การชักชวน เพื่อนบ้านเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับการดูแลรักษาป่าชุมชน การทำแนวกันไฟ การดับไฟป่า การปลูกต้นไม้และ ปลูกป่า การร่วมเสนอแนวทางในการจัดการป่าชุมชน มีส่วนร่วมของประชาชนพบว่า ปัจจัยด้านอาชีพหลัก รายได้ การดำรงตำแหน่งในชุมชน ก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคมและปัจจัยด้านอื่นๆ กับระดับ ของบำาชุมชน และการเข้ามาอยู่ในชุมชน มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนที่ระดับ ความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ส่วนปัจจัยด้านการศึกษาและการเข้ารับการฝึกอบรม มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วม ในการจัดการป่าชุมชนที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ส่วนปัจจัยที่เหลือได้แก่ เพศ อายุ จำนวนสมาชิก ในครัวเรือน ระยะเวลาที่อยู่ในชุมชน และขนาดการถือครองที่ดิน ไม่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชน ณ ระดับความเชื้อมั่นร้อยละ 95
บทคัดย่อ (EN): This research work aimed to study the factors affecting participation levels of community forest management in Ploungthong Sub-district, Bothong district, Chonburi Provincial land reform area. The secondary data extracted from documents, articles, and research reports, together with the primary data collected through personal interview using structured questionnaires were applied. Purposive sampling technique was employed to select 140 respondents in the study. Data analysis was based on descriptive statistics and Chi-Square techniques. The findings of the survey method show that most of the respondents are male, under 30 years old in average, and primary educated. All the respondents mainly work as employees. The average household members are 3.62 people. Most of the respondents emigrated from other areas, especially from the eastern region, due to the fact that their relatives live there. The respondents have mostly settled there for 24.79 years in the average. They have also taken part in the community by being community forest committees with an average income of approximately 9,392.83 baht per month and most of them are indebted. 43.6% of the respondents have occupied the agricultural land reform area less than 15 rai in the average. There are a few numbers of respondents utilizing community forest, which must be allowed by the Community Forrest Committee only. The forest richness is higher than five years ago whereas the rule strictness is moderate. Regarding the understanding of community forest management, the respondents mostly agreed that the community forest should be preserved by community members which had successfully beentrained from Royal Forest Department. Deteriorationof theforest is caused by wildfires and it eventually leads to a drought. Firebreaks, hence, are firmly constructed to prevent the deteriorated forest. There are many activities the respondents have never attended such as identifying community forest areas, drawing a regulation/management plan, as well as joining and giving comments in the conference, training, and seminar. However, there are several activities that they are often cooperated such as giving comments to board, convincing neighborhood to join conservation community forest activities, constructing firebreaks, controlling wildfires, reforestation, and guiding plan to manage the community forest. The results of related factors between economic factor, social factor, and other factors with the participation levels of community show that 1) occupational factor, income, responsibility and being members of community forest factor and 2) educational factor and training have an influence over the community forest management at confidence level of 99% and 95%, respectively. In contrast, 3) sex, age, the number of household members, living period in the community, and the amount of land holding have not related to the participation levels at confidence level of 95%.
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2556
เอกสารแนบ: http://www.alro.go.th/research_plan/ewt_dl_link.php?nid=378
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
พื้นที่ดำเนินการ: ชลบุรี
เผยแพร่โดย: สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ปัจจัยที่มีผลต่อระดับการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนของชุมชน ในเขตปฏิรูปที่ดิน กรณีศึกษา: ตำบลพลวงทอง อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
2556
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
การผลิตอาหารสัตว์จากขยะอินทรีย์ของชุมชน โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน โครงการศึกษาการบริหารจัดการศัตรูพืชของชุมชน แนวทางพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดนนทบุรี การวิจัยและพัฒนารูปแบบการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ป่าสงวนแห่งชาติ“ป่าห้วยทินและป่าคลองตีบ”  จังหวัดเพชรบูรณ์ การศึกษาปัจจัยในการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อโครงการจัดการทรัพยากรประมง บริเวณอ่างเก็บน้ำทับทิมสยาม 01 จังหวัดตราด การประเมินสภาวะชนบทแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในแม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำปราจีนบุรี แนวทางการบริหารจัดการโรงเรือนกางมุ้งในเขตปฏิรูปที่ดิน กรณีศึกษาเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน อ.หนองมะโมง จ.ชัยนาท และ อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี การติดตามประเมินผลวิสาหกิจชุมชนในเขตปฏิรูปที่ดิน ปี พ.ศ. 2554 การศึกษาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปไม้ไผ่ ในเขตปฏิรูปที่ดินตำบลถ้ำฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก