สืบค้นงานวิจัย
สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2546
ชนิดา ศรีฮาตร - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2546
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: ชนิดา ศรีฮาตร
คำสำคัญ:
หมวดหมู่:
หมวดหมู่ AGRIS:
บทคัดย่อ: การศึกษาสภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานบางประการของเกษตรกรที่ผลิตข้าว (2) การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวของเกษตรกร (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะการผลิตข้าวของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 321 ราย โดยสถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพอสรุปได้ดังนี้ สภาพพื้นฐานบางประการของเกษตรกร เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย อายุเฉลี่ย 49.26 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.71 คน แรงงานทำการเกษตรในครัวเรือน เฉลี่ย 2.64 คน แรงงานจ้าง เฉลี่ย 5.07 คน เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นสมาชิก ธกส. และเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้เงินทุนในการทำนาของตนเองทั้งหมด สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกร มีพื้นที่ทำนา เฉลี่ย 15.75 ไร่ พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกส่วนใหญ่ใช้พันธุ์ข้าว กข 6 สภาพพื้นที่ทำนาส่วนใหญ่ เป็นที่ดอน แหล่งน้ำที่ใช้ในการทำนาใช้น้ำฝนทั้งหมด เครื่องจักรกลการเกษตรส่วนใหญ่ใช้รถไถเดินตาม การปรับปรุงบำรุงดินเกษตรกรส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก วิธีการทำนาส่วนใหญ่ทำนาดำ ช่วงเดือนที่ทำนาส่วนใหญ่ คือระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เมล็ดพันธุ์ที่ใช้ต่อไร่ นาดำ เฉลี่ย 5.72 กิโลกรัม นาหยอดเฉลี่ย 16.43 กิโลกรัม เวลาในการแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว เฉลี่ย 42.99 ชั่วโมง ระยะเวลาในการหุ้ม เฉลี่ย 34.23 ชั่วโมง วิธีการตกกล้าส่วนใหญ่ ตกกล้าแบบแปลงย่อย อายุของต้นกล้าที่ใช้ในการปักดำส่วนใหญ่ เฉลี่ย 29.59 วัน ในการทำนาดำใช้ต้นกล้าต่อจับ เฉลี่ย 5.66 ต้น เกษตรกรส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยเคมี 1 ครั้ง เกษตรกรส่วนใหญ่มีการตากข้าวในนา เฉลี่ย 3.23 วัน เกษตรกรส่วนใหญ่เปลี่ยนพันธุ์ข้าวโดยเฉลี่ยทุก 2.59 ปี ปัญหาในการผลิตข้าวของเกษตรกร จากผลการศึกษาพอสรุปได้ว่า เกษตรกรมีปัญหามากในเรื่องของน้ำที่ใช้ในการทำนา เนื่องจากเป็นเขตที่ต้องอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว เกษตรกรมีปัญหาน้อยในเรื่อง การปลูก เนื่องจากขาดแรงงานเป็นบางฤดู ในเรื่องของโรค และ แมลง เกษตรกรไม่มีปัญหาในเรื่อง เมล็ดพันธุ์ และการเก็บเกี่ยว ข้อเสนอแนะของผู้ศึกษา จากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรผู้ผลิตข้าวตำบลหนองแวง มีการผลิตข้าวที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเป็นบางกลุ่ม เช่น กลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิกศูนย์ข้าวชุมชน บุคคลนอกจากนี้ มีบางขั้นตอนที่ปฏิบัติตามหลักวิชาการ การที่เกษตรกรจะสามารถดำเนินการผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้ ควรมีการขยายเครือข่ายศูนย์ข้าวชุมชนให้กว้างขวางทั่วถึงทั้งตำบล มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตตามกระบวนการโรงเรียนเกษตรกรเพิ่มขึ้นทุกหมู่บ้าน มีการรณรงค์การปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ของที่นาทุกปี และส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ เพื่อเป็นทางเลือกแก่เกษตรกร
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2546
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรตำบลหนองแวง อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ปี 2546
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลลำคลอง อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ปีการเพาะปลูก 2546 สภาพการผลิตมะขามหวานของเกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ปี 2546/2547 ตำบลมหาไชย อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลเจ้าท่า อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวนาปีของเกษตรกรในตำบลสหัสขันธ์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรในตำบลห้วยยาง อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ปี 2546 สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกรตำบลนามน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ ข้าวให้พลังงานผสานคุณค่าอาหาร สภาพการผลิตข้าวของเกษตรกร ตำบลธัญญา อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2546

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก