สืบค้นงานวิจัย
การเพาะเลี้ยงปลากดหลวงในระบบน้ำหมุนเวียนเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่า
สุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย - มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อเรื่อง: การเพาะเลี้ยงปลากดหลวงในระบบน้ำหมุนเวียนเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่า
ชื่อเรื่อง (EN): Channel catfish (Ictaluruapunctatus) commercial culture in a re-circulation system to increase its production and value
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุฤทธิ์ สมบูรณ์ชัย
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ (EN): Surit Somboonchai
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย: ประจวบ ฉายบุ
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย (EN): Prachaub Chaibu
คำสำคัญ:
คำสำคัญ (EN):
บทคัดย่อ: การเลี้ยงปลากดหลวงในระบบน้ำหมุนเวียนเชิงพาณิช เพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่า โดยทดลองเลี้ยงปลากดหลวงด้วยสูตรอาหารระดับโปรตีนต่างกัน 4 ระดับ เลี้ยงในระบบน้ำหมุนเวียน วางเผนการทดลองแบบ CRD โดยแบ่งออกเป็น 4 ชุดการทดลอง ๆ ละ 3 ซ้ำ คือ ชุดการทดลองที่ 1 อาหารทดลองที่ระดับโปรตีน 25 เปอร์เซ็นต์ ชุดการทดลองที่ 2 อาหารทดลองที่ระดับโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ ชุดการทดลองที่ 3 อาหารทดลองที่ระดับโปรตีน 35 เปอร์เซ็นต์ และชุดการทดลองที่ 4 อาหารทดลองที่ระดับโปรตีน 40 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ทำการเลี้ยงปลากดหลวงในบ่อพลาสติก ขนาด 200 ลิตร ปล่อยลูกปลาน้ำหนักเฉลี่ย 5.00±0.06 กรัมต่อตัว ในอัตรา 100 ตัวต่อบ่อ ในระยะเวล1 90 วัน เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่า น้ำหนักเมื่อสิ้นสุดการทดลอง น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโต และผลผลิตรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) คุณภาพน้ำในบ่อทดลองพบว่า อุณหภูมิของน้ำไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ ปริมาณแอมโมเนีย-ไนโตรเจน ปริมาณไนไตรท์-ไนโตรเจน ปริมาณไนเตรต-ไนโตรเจน และปริมาณฟอสฟอรัส มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) จากผลการทดลองสรุปได้ว่า ปลากดหลวงที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารทดลองที่ระดับโปรตีน 40 เปอร์เซ็นต์ มีความเหมาะสมต่อการเลี้ยงปลากดหลวงในระบบหมุนเวียนน้ำมากที่สุด เปรียบเทียบได้จากข้อมูลการวิเคราะห์การเจริญเติบโตของปลากดหลวง
บทคัดย่อ (EN): Channel catfish (Ictaluruspunctatus) commercial culture in a re-circulation system to increase its production and value was investigated. Four diets were formulated to contain different protein levels (25, 30, 35 and 40 % crude protein). There were 3 replicates in each treatment. The initial body weight of catfish was 15.51±0.02g/catfish. Catfish were raised in plastic tanks and fed at 3 - 5% weight of body. The stocking density was 100fish/tank. This experiment was conducted for 90 days. The results showed that Final body weight, Average Daily weight gain (ADG), Feed conversion ratio (FCR), Survival Rate (SR) and Total production of channel catfish at the end of experiment were significant differences (p<0.05). There was no significant differences in water temperature (p>0.05) while pH, Dissolved oxygen, Ammonia-nitrogen, Nitrite-nitrogen, Nitrate-nitrogen and Phosphorus were significant differences (p<0.05). Referring to these results, a diet containing 40% protein is recommended for efficient growth of Channel cattish in recirculating system.
แผนยุทธศาสตร์งานวิจัย – ระดับกระทรวง: คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
เลขทะเบียนวิจัยกรม: มจ.1-57-054.4
ชื่อแหล่งทุน: งบประมาณแผ่นดินมหาวิทยาลัยแม่โจ้
จำนวนเงินตามสัญญารับงานวิจัย: 171,600
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2556
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2558
เอกสารแนบ: http://mdc.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/research/2560/Surit_Somboonchai_2558/fulltext.pdf
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
ปีที่ได้รับงบประมาณ (ระบุได้มากกว่า 1 ปี): 2556
เผยแพร่โดย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
การเพาะเลี้ยงปลากดหลวงในระบบน้ำหมุนเวียนเชิงพาณิชย์เพื่อเพิ่มผลผลิตและมูลค่า
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2558
เอกสารแนบ 1
เอกสารแนบ 2
ศึกษาผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของพริก 35 พันธุ์ ผลผลิตปลากะรังจุดฟ้าในระบบน้ำหมุนเวียน การใช้เทคนิคชีวะวิถีในระบบกรองน้ำของบ่อเลี้ยงปลานิลระบบปิดเพื่อผลผลิตปลานิลในเชิงพาณิชย์ (24 เดือน) แนวทางการผลิตปลาบู่ขนาด 300-600 กรัมเชิงพาณิชย์ในระบบน้ำหมุนเวียนเพื่อเป็นอาหารปลอดภัยในการส่งออก เปรียบเทียบการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ 6 สายพันธุ์ ในช่วงอายุปีที่ 5 – 6 ปี ในสภาพดินทรายชายฝั่งทะเลและในสภาพดินร่วนปนเหนียว การเลี้ยงปลากดหลวงระบบหมุนเวียนน้ำร่วมกับระบบการปลูกพืชไฮโดรโพนิคส์ เพื่อสร้างอาหารปลอดภัย และลด ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ผลของระดับความหนาแน่นต่อประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพน้ำในการเลี้ยงปลาหมอด้วยชุดถังเลี้ยงปลาระบบน้ำหมุนเวียน ศักยภาพการให้ผลผลิต องค์ประกอบผลผลิต และสหสัมพันธ์ของ องค์ประกอบผลผลิตกับผลผลิตของมันเทศ 5 พันธุ์ อิทธิพลของระยะปลูกต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าว 3 พันธุ์ภายใต้ระบบการปลูกแบบประณีต รูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำท้องถิ่นหลายชนิดร่วมกันในบ่อเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์ แบบยั่งยืน ในระบบน้ำหมุนเวียนแบบอะควาโปนิคส์ เพื่อรองรับการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสัตว์น้ำอินทรีย์

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก