สืบค้นงานวิจัย
ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาผิวน้ำในน่านน้ำไทย
เพิ่มศักดิ์ เพิงมาก, เพิ่มศักดิ์ เพิงมาก - กรมประมง
ชื่อเรื่อง: ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาผิวน้ำในน่านน้ำไทย
ชื่อเรื่อง (EN): Stock Assessment of Pelagic Fish in Thai waters
ผู้ร่วมงาน / ผู้ร่วมวิจัย:
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: ประเทศไทยนับได้ว่าเป็นผู้นำในภาคการประมง ผลผลิตรวมของสัตว์น้ำในช่วงพ.ศ. 2538-2547 อยู่ในระดับ 3.6-4.1 ล้านเมตริกตัน และในพ.ศ. 2557 ผลิตภัณฑ์มวลรวมของภาคประมง (GDP) มีมูลค่าประมาณ 105,400 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 1.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งประเทศ หรือประมาณร้อยละ 16.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการเกษตร ปริมาณผลผลิตสัตว์น้ำรวมของประเทศได้มาจากการทำประมงทะเลเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะประเทศไทยประเทศไทยมีขีดความสามารถ และสภาพภูมิประเทศเอื้ออำนวยให้ประเทศไทยมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ด้วย ประเทศไทยตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีนตอนล่างซึ่งมีฝั่งทะเลทั้งสองด้าน ด้านอ่าวไทยมีความยาวประมาณ 1,785 กิโลเมตร ส่วนทางทะเลอันดามันมีความยาวประมาณ 740 กิโลเมตร รวมความยาวชายฝั่งทะเลทั้งสิ้นประมาณ 2,615 กิโลเมตร จากสถิติการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2548 รายงานว่าปริมาณการจับสัตว์น้ำทะเลของประเทศไทยเท่ากับ 2,615,565 ตันเป็นการจับจากอ่าวไทย 1,784,590 ตัน และฝั่งอันดามัน 830,975 ตัน โดยเป็นปลาผิวน้ำ 916,531 ตัน คิดเป็นร้อยละ 35.04 ของปริมาณการจับสัตว์น้ำทะเลทั้งหมด จากการเพิ่มขึ้นของประชากรทำให้มีความต้องการอาหารเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการพัฒนาและปรับปรุงการทำการประมงอย่างต่อเนื่องมาตลอด ทำให้การใช้ทรัพยากรปลาผิวน้ำมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมุ่งเน้นปริมาณการจับปลาผิวน้ำให้ได้ปริมาณมากที่สุด เพื่อจะได้ผลตอบแทนมากที่สุด เมื่อมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรปลาผิวน้ำบนพื้นฐานของข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลด้านการประมง และทรัพยากรปลาผิวน้ำ จึงต้องดำเนินการประเมินสภาวะทรัพยากรปลาผิวน้ำในน่านน้ำไทย แผนการศึกษานี้ได้เลือกชนิดปลาผิวน้ำที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สำหรับการประเมินสภาวะทรัพยากรและการประมง ได้แก่ ปลาหลังเขียว ปลาข้างเหลือง ปลาทูแขกครีบยาว ปลาสีกุนตาโต ปลาแข้งไก่ และ ปลาลัง โดยดำเนินการศึกษาทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการทรัพยากรปลาผิวน้ำให้มีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2549-10-01
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2551-12-31
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมประมง
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาผิวน้ำในน่านน้ำไทย
กรมประมง
31 ธันวาคม 2551
กรมประมง
ทรัพยากรปลาโอในน่านน้ำไทย ชีววิทยาบางประการของปลาผิวน้ำขนาดใหญ่ที่จับได้จากเบ็ดราวปลาผิวน้ำบริเวณแพล่อปลาประจำที่ในทะเลอันดามัน ทรัพยากรปลาผิวน้ำจากการทำประมงด้วยเครื่องมือเบ็ดราวปลาผิวน้ำ บริเวณแพล่อปลาประจำที่ในทะเลอันดามัน ปี 2551-2553 แนวทางการกำหนดเขตพื้นที่ทำการประมงในน่านน้ำไทย ประเมินสภาวะทรัพยากรปลาหน้าดินในน่านน้ำไทย การประยุกต์ใช้ระบบ Vessel Monitoring System (VMS) เพื่อวิเคราะห์สภาวะทรัพยากรและกิจกรรมทำประมงปลาผิวน้ำทางฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ชีวประมงของปลากะตักในน่านน้ำไทย สภาวะการทำประมงลอบหมึกในน่านน้ำไทย การประเมินสภาวะทรัพยากรหมึกกระดอง ชนิด Sepia aculeta และ Sepia recurvirosta ในอ่าวไทย การประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม VIIRS เพื่อศึกษาการทำประมงประกอบแสงไฟในน่านน้ำไทย

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-ND 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก