สืบค้นงานวิจัย
ประสิทธิศักย์สารสกัดจากหนอนตายหยาก สาบเสือ และสะเดาช้างต่อยุงลายบ้าน โดยการพ่นสารเคมีแบบฝอยละเอียด
คณพศ ทองขาว - กรมควบคุมโรค
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิศักย์สารสกัดจากหนอนตายหยาก สาบเสือ และสะเดาช้างต่อยุงลายบ้าน โดยการพ่นสารเคมีแบบฝอยละเอียด
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: คณพศ ทองขาว
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: โรคติดต่อนำโดยแมลงเป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญเกือบทั่วโลก รวมทั้งประเทศ ไทย โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออก ในแต่ละปีมีรายงานพบผู้ป่วยโรคเป็นจำนวนมาก ซึ่งมียุงลายบ้านเป็นยุง พาหะนำโรคที่สำคัญ การป้องกันควบคุมโรคจึงมุ่งเน้นไปที่การควบคุมยุงพาหะ โดยการใช้สารเคมีกำจัด แมลงเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามมีรายงานการสร้างความต้านทานของลูกน้ำและ ยุงลายบ้านตัวเต็มวัยต่อสารเคมีกำจัดแมลงทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการลดการใช้สารเคมีดังกล่าว การ วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงฤทธิ์ของสารสกัดจากหนอนตายหยาก สาบเสือ และสะเดาช้าง และ หาระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมในการฆ่ายุงลายบ้านโดยวิธีนสารเคมีแบบฝอยละเอียด โดยใช้ยุงลาย บ้านตัวเต็มวัยสายพันธุ์ห้องปฏิบัติการ เพศเมีย อายุ 2 - 5 วัน ที่ระดับความเข้มข้น 0 (ชุดควบคุมผลลบ) , 1, 5, 10, 20, 50 เปอร์เซ็นต์ และชุดควบคุมผลบวก ใช้สารเคมีกำจัดแมลงเดลต้าเมทรินสูตรผสม 0.5 เปอร์เซ็นต์ อัตราส่วนผสม 1 ส่วนต่อน้ำสะอาด 9 ส่วน และบันทึกผลจำนวนตายของยุงลายบ้านหลังทำ การทดสอบ 24 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดจากหนอนตายหยาก และสาบเสือในทุกระดับความ เข้มข้น และสารสกัดจากสะเดาช้างที่ระดับความเข้มข้น 1 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถฆ่ายุงลายบ้านได้ ในขณะ ที่สารสกัดจากสะเดาช้างที่ระดับความเข้มข้น 5, 10, 20 และ 50 เปอร์เซ็นต์ มีอัตราการตายเท่ากับ 2, 11, 78 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอัตราการตายของยุงลายบ้าน ของสารสกัดจากสะเดาช้าง หนอนตายหยาก และสาบเสือ พบว่า มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ ยิ่ง (P < 0.01) ทั้งนี้สารสกัดจากสะเดาช้างที่ระดับความเข้มข้น 50 เปอร์เซ็นต์ สามารถฆ่ายุงลายบ้านได้ดี ที่สุด และไม่แตกต่างจากชุดควบคุมผลบวก (P > 0.0 1) การใช้สะเดาช้างซึ่งมีสารเคมีตามธรรมชาติในการ ควบคุมยุงลายบ้าน ย่อมมีความปลอดภัยมากกว่าการใช้สารเคมีสังเคราะห์ ดังนั้น ควรมีการพัฒนารูปแบบ และสูตรผสมของสารสกัดจากสะเดาช้างที่เหมาะสมในการนำไปใช้ ซึ่งคาดว่าแนวโน้มการนำสมุนไพรมาใช้ ในการป้องกันกำจัดยุงที่สำคัญทางการแพทย์ของประเทศไทยจะมีประโยชน์มากขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ ตามการพิจารณาเลือกใช้สมุนไพรชนิดใด ต้องพิจารณาข้อมูลทางวิชาการ หรือผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนการใช้ รวมถึงควรระมัดระวังให้มีความถูกต้องและเหมาะสมในการใช้ตามภูมิ ปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ ได้
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2538
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2538
เอกสารแนบ: http://klb.ddc.moph.go.th/dataentry/research/download/textfull/117
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ประสิทธิศักย์สารสกัดจากหนอนตายหยาก สาบเสือ และสะเดาช้างต่อยุงลายบ้าน โดยการพ่นสารเคมีแบบฝอยละเอียด
คณพศ ทองขาว
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่
2538
เอกสารแนบ 1
วิธีดูแลตนเองจากเพลิงไหม้สารเคมี การใช้เทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดลำแสงส่องกราด ศึกษาสัณฐานวิทยาของยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) การตรวจสอบฤทธิ์กลายพันธุ์และต้านการกลายพันธุ์ของสารสกัดยาแผนโบราณไทย ผลของสารสกัดจากใบติ้วขาวต่อการยับยั้งการตายของเซลล์ประสาทเมื่อถูกกระตุ้นด้วยเบต้าอะไมลอยด์เปปไทด์ (โมเดลของโรคอัลไซเมอร์) การติดตามตรวจสอบสารกลุ่มโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอนในอากาศริมถนนโดยใช้ใบไม้ในเขตจังหวัดนนทบุรี ระบบพ่นสารเคมีแก่วัสดุทรงกลม การทดสอบฤทธิ์ไล่ยุงของน้ำส้มควันไม้ต่อยุงลายบ้าน และยุงรำคาญ สาร 3-MCPD กับซอสถั่วเหลือง การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันและสารสกัดจากเมล็ดสะเดาช้างเพื่อควบคุมลูกน้ำและดักแด้ยุงลาย การผลิต Inulin และ Oligofructose จากกล้วยเพื่อใช้เป็นสารเสริมอาหาร

แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-NC-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก