สืบค้นงานวิจัย
ความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลในความรับผิดชอบของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่
สุขชัย เจรียงประเสริฐ - กรมส่งเสริมการเกษตร
ชื่อเรื่อง: ความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลในความรับผิดชอบของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่
ผู้แต่ง / หัวหน้าโครงการ: สุขชัย เจรียงประเสริฐ
คำสำคัญ:
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาถึงความต้องการในการอบรมด้านประเด็นหัวข้อและหัวข้อวิชาฝึกอบรม วิธีการ ช่วงเวลา ระยะเวลาฝึกอบรม และปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลของจังหวัดในความรับผิดชอบของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่6 จำนวนทั้งหมด 187 ราย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่าเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลเป็นเพศชาย ร้อยละ 74.9 มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี ร้อยละ 87.7 สมรสแล้ว ร้อยละ 89.3 จบการศึกษาชั้นปริญญาตรี ร้อยละ 29.8 จบสาขาวิชาเอกส่งเสริมการเกษตร ร้อยละ 55.1 ดำรงตำแหน่งเป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร6 ร้อยละ 56.7 รับผิดชอบ 1 ตำบล ร้อยละ 68.5 และภายใน 3 ปีเข้ารับการอบรม 1 - 2 ครั้ง ร้อยละ 63.7 มีสมาชิกครัวเรือน 3 - 4 คน ร้อยละ 79.1 มีอายุราชการอยู่ระหว่าง 21 - 30 ปี ร้อยละ 85.1 มีจำนวนครัวเรือนรับผิดชอบระหว่าง 1,000 - 1,500 ครัวเรือน ร้อยละ 35.8 เฉลี่ย 1,742.48 ครัวเรือน มีอัตราเงินเดือนอยู่ระหว่าง 20,001 - 25,000 บาท ร้อยละ 60.4 เฉลี่ย 20,503.56 บาท และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีความต้องการในการฝึกอบรมประเด็นหัวข้อ ด้านนโยบายการส่งเสริมและวางแผน/โครงการส่งเสริมการเกษตรในระดับมาก ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.87 โดยมีหัวข้อวิชาที่มีความต้องการฝึกอบรมมากที่สุด หัวข้อวิชาการวางแผนพัฒนาตำบล/หมู่บ้าน มีค่าคะแนนเฉลี่ย 4.05 ประเด็นหัวข้อด้านความรู้และกิจกรรมเฉพาะด้านในงานส่งเสริมการเกษตรในระดับมาก ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.63 จะประกอบด้วย 1) กลุ่มหัวข้อวิชาย่อย เทคนิคการถ่ายทอดความรู้และการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.92 2) กลุ่มหัวข้อวิชาย่อยงานส่งเสริมสถาบันเกษตรกร มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.80 3) กลุ่มหัวข้อวิชาย่อยงานส่งเสริมการผลิตพืช มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.48 และ 4) กลุ่มหัวข้อวิชาย่อย ความรู้ในการจัดการเฉพาะด้าน และการวิเคราะห์ด้านการตลาด มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.72 ส่วนประเด็นหัวข้อด้านระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและวินัยข้าราชการ และความรู้อื่นๆ มีความต้องการอยู่ในระดับมาก ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.80 สำหรับด้านวิธีการที่เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลต้องการมากที่สุด คือการทัศนศึกษา/ดูงาน ร้อยละ 87.7 ช่วงเวลาที่ต้องการมากที่สุด ช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม ร้อยละ 34.8 ระยะเวลาฝึกอบรม 15 - 30 วัน หัวข้อวิชาที่ต้องการฝึกอบรมอันดับหนึ่ง นโยบายการส่งเสริมการเกษตรและการวางแผน ต้องการอันดับสอง หัวข้อวิชาการใช้คอมพิวเตอร์เพื่องานส่งเสริมการเกษตร อันดับสามหัวข้อวิชาระเบียบบริหารราช-การแผ่นดินและวินัยข้าราชการและความรู้อื่นๆ ปัญหาอุปสรรคพบว่า ขาดการประสานงานการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขาดการสนับสนุนงบประมาณและเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำงาน ขาดการประชาสัมพันธ์งานส่งเสริมการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ข้อเสนอแนะควรมีการบูรณาการในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ควรสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ให้มากขึ้น ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลมีความสัมพันธ์กับอายุ และประสบการณ์ในการเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ0.05 ตามลำดับ สำหรับตัวแปรอื่นๆนั้น ไม่มีความสัมพันธ์กับความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล
ปีเริ่มต้นงานวิจัย: 2547
ปีสิ้นสุดงานวิจัย: 2548
ลิขสิทธิ์: แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
เผยแพร่โดย: กรมส่งเสริมการเกษตร
บทคัดย่อ: ไม่พบข้อมูลจากหน่วยงานต้นทาง
ภาษา (EN): th
หากไม่พบเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) โปรดติดต่อหน่วยงานเจ้าของข้อมูล

การอ้างอิง


TARR Wordcloud:
ความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลในความรับผิดชอบของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่
กรมส่งเสริมการเกษตร
2548
ความต้องการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ในจังหวัดสกลนคร การศึกษาสำรวจความจำเป็นในการฝึกอบรมด้านบริหารของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล ปัญหาและความต้องการฝึกอบรมในงานส่งเสริมการเกษตร ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดนครพนม การศึกษาความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่การส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอในภาคตะวันออก เทคนิควิธีการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 2 จังหวัดราชบุรี บทบาทการบริการส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรประจำตำบลในจังหวัดฉะเชิงเทรา การติดตามประสิทธิผลการใช้งานคอมพิวเตอร์ภายหลังการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานเกษตรจังหวัด การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรตามระบบส่งเสริมการเกษตรในเขตจังหวัดชลบุรี ความต้องการสนเทศเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ระดับตำบลในจังหวัดนครราชสีมา

แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 ประเทศไทย (CC BY-SA 3.0 TH)
คัดลอก URL
กระทู้ของฉัน
ผลการสืบค้นทั้งหมด โพสต์     เรียงลำดับจาก